ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ชีวิตที่พอเพียงกับการพัฒนาที่ไม่เพียงพอ

ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปแลกเปลี่ยนกับชาวบ้านแกนนำเกษตรอินทรีย์ที่กาฬสินธุ์ เห็นความตื่นตัวของชาวบ้านในการอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรม โดยการเชื่อมโยงวัฒนธรรมความเชื่อท้องถิ่น  ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ ที่ยึดถิืืืืือปฏิบัติมาแต่ครั้งปู่ย่า ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้ามาร่วมงานบญผะเหวด แห่ข้าวพันก้อนที่ชาวบ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่ได้จัดกันขึ้น ตั้งแต่การเชิญพระอุปครุฑ ที่แม่นำ้ของหมู่บ้าน ไปจนถึงการแห่ผ้าพระเหวดเข้าวัด ตอนดึกก็มีการแห่ข้าวพันก้อน พร้อมฟังเทศมหาชาติ 13 กัณฑ์ งานประเพณีดังกล่าวเป็นงานใหญ่ของชุมชน เพราะต้องอาศัยความสามัคคีของคนในหมู่บ้านและต่างหมู่บ้านมาช่วยงานกัน  ซึ่งการเตรียมงานต้องเตรียมกันล่วงหน้าหลายอาทิตย์ ทั้งทำเครื่องประดับตกแต่งธรรมมาศน์ การพับปลา สานนก ทำใยแมงมุม ทำข้าวพันก่้อน การวาดภาพชาดกทั้ง 13 กัณฑ์ การทำข้าวเกรียบ เพื่อเป็นของฝากให้กับญาติพี่น้องที่มาร่วมงาน
หลังเสร็จงานผมมีโอกาสได้คุยกับชาวบ้านแกนนำ เราคุยกันถึงเรื่องนิวเคลียร์ กัมมันตภาพรังสี ที่เกิดการรั่วไหลของญี่ปุ่น เนื่องจากเหตุการณ์สึนามี และมาเชื่อมโยงกับการประชาพิจารณ์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการสร้างโรงไฟฟ้าปรมาณูที่นี่ พร้อมความวิตกกังวลของชาวบ้านว่า ถ้าหากโครงการนี้พัฒนาจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาหรือไม่ และพวกเขาจะทำอย่างไร เพราะตอนนี้พวกเขาเดินมาไกลถึงเรื่องของเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นเกษตรที่สะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่โครงนี้เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับสิ่งที่พวกเขากระทำอยู่ในปัจจุบัน
การพัฒนาต่างๆที่ถาโถมเข้ามา และไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักของความเหมาะสมกับพื้นที่และความต้องการของชาวบ้านในพื้นที่ย่อมก่อให้เกิดปัญหา และสุดท้ายอาจนำไปสู่การทำลายวิถีชีวิตที่ไม่มีวันเรียกกลับคืนมาได้อีกตลอดไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...