ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หลังเรียนมหาวิทยาลัย(6)


หลังจากตั้งกลุ่มได้ไม่นาน ก็ได้อบรมเรื่องกฎหมาย สิทธิตามรัฐธรรมนูญ และการใช้ประโยชน์จากองค์กรอิสระ มาหลายรุ่น ซึ่งโครงการนี้ ได้รับการอนุเคราะห์จากโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฎิรูป(คสร.) โดยพี่บรรจงศิริและคุณจุ๋ม เข้ามาจัดและเชิญวิทยากรที่มีความรู้มาให้ข้อมูลกับชาวบ้าน ซึ่งวิทยากรหลายคนได้เข้ามาช่วยชาวบ้าน เช่น คุณ ไพโรจน์ พลเพชร ที่เป็นนักกฎหมาย หรืออ.ศุภโชค โชติช่วงที่ลำปาง ที่ได้ช่วยทำสติ๊กเกอร์ เสื้อและกระเป๋า เพื่อหาเงินเข้ากองทุนกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีในการต่อต้านโครงการเหมืองแร่โปแตช ผู้เขียนจำได้ว่า ในการประชุมครั้งหนึ่ง ได้มีการระดมทุนจากสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม ถือว่าเป็นเงินก้อนแรกในการจัดตั้งกลุ่ม และเก็บรวบรวมและเปิดบัญชีเพื่อเป็นกองทุนในการต่อสู้จนมาถึงปัจจุบัน
โดยการเปิดบัญชีของกลุ่มอนุรักษ์ถือว่าเป็นขั้นตอนแรกของการพัฒนาบริหารจัดการ การเงินของกลุ่ม ที่จะต้องมีผู้เบิกสามคนที่เป็นเหรัญญิกที่ชาวบ้านในกลุ่มฯเลือก และต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้งสามท่านจึงจะสามารถเบิกเงินมาใช้ได้ ซึ่งประกอบด้วย แม่มณี บุญรอด พ่อบุญมา บาริศรี และ.... ทำให้ขั้นตอนของการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่นบุญกุ้มข้าวใหญ่ จะต้องขึ้นชาร์ดแสดงและชี้แจงรายรับรายจ่ายต่างๆ ให้สมาชิกในกลุ่มได้เข้าใจและรับรู้ร่วมกัน เพราะในช่วงเวลานั้นก็มีสถานการณ์ปล่อยข่าวจากฝ่ายตรงกันข้ามว่าพวกแกนนำนำเงินไปใช้ กิจกรรมต่างๆที่ชาวบ้านบริจาคเงินข้าว ผลประโยชน์อยู่ที่กลุ่มแกนนำ เป็นต้น
ผู้เขียนจำได้ว่า ตอนที่จัดบุญกุ้มข้าวครั้งแรกในปี2545 ผู้เขียนเข้าไปทำตรายางและออกแบบซองผ้าป่า งานครั้งนั้นได้เงินสด20,000กว่าบาท ได้ข้าวเกือบ 10 ตันรวมเป็นเงินกว่าแสนบาท แต่หลังจากการไปชุมนุมใหญ่ที่กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ต้องจ้างรถบัสถึงสิบคัน ทำให้เงินในกองทุนแทบจะไม่เหลือ ซึ่งผลที่ได้รับจากการชุมนุมก็น่าพอใจ เพราะ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ก็ได้เลื่อนพิจารณาการออกประทานบัตรให้บริษัท มีการตั้งคณะทำงานติดตามโครงการเหมืองแร่โปแตช แลที่สำคัญก็ได้ทำให้ปัญหาของโครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานีเป็นที่รับรู้ต่อสาธารณชน ทั้งในประเด็นเรื่องกฎหมายแร่ที่ละเมิดสิทธิชุมชน เรื่องของกระบวนการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมของบริษัทที่ไม่ครอบคลุมได้มาตรฐาน และปัญหาเรื่องของสัญญาที่กระทรวงอุตสาหกรรม รัฐบาลไทย ทำกับบริษัทที่ค่อนข้างเสียเปรียบ  รวมถึงการถูกกระทำของคนในพื้นที่ในเรื่องของข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการ นับตั้งแต่ระยะเวลาที่ทำการสำรวจ รายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่ผ่านความเห็นชอบจากสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม จนถึงการที่บริษัทกำลังจะขอประทานบัตรเพื่อก่อสร้างโรงงาน ตลอดระยะเวลากว่า20 ปีชาวบ้านไม่รู้เรื่อง และเพิ่งจะทราบเรื่องโครงการเมื่อองค์กรพัฒนาเอกชนเข้ามาให้ข้อมูลเมื่อปี2545 ซึ่งแสดงให้เห็นความคลุมเครือและความไม่โปรงใสของโครงการเมกกะโปรเจคข้ามชาติดังกล่าว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...