ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หลังเรียนมหาวิทยาลัย(4)


บางคำนินทาที่ชาวบ้านบางคนพูด เช่นบักผมยาวเอาเงินซื้อนมให้ลูกเจ้ากินอยู่บ่ ไปเชื่อมันหยัง” “พวกรับเงินต่างชาติมาปลุกปั่นสร้างความแตกแยกหรือคำพูดอื่นๆ ที่เรามักได้ยินอยู่เสมอ หรือชาวบ้านบางคนที่ได้ยิน ก็มักจะถามพวกเราเสมอ ว่า เอ็นจีโอคือหยัง มีเงินเดือนบ่ สิ่งเหล่านี้คือสัญชาตญาณพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน โดยเฉพาะความอยากรู้ เรื่องของคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนแปลกหน้าที่พวกเขาไม่รู้จักมักคุ้นมาก่อน  สิ่งที่ผม และพี่สุวิทย์ รวมถึงคนทำงานคนอื่นๆทำก็คือ การบอกความจริงอย่างไม่ปิดปังว่า พวกผมก็มีเงินเดือนถึงจะไม่มากก็พออยู่ได้ ขาดเหลือก็ช่วยกันไป พวกผมไม่มีนาเหมือนพ่อแม่ไม่ทำงาน ไม่มีเงินเดือนแล้วจะกินอะไรซึ่งคำตอบเหล่านี้ชาวบ้านก็จะใช้อธิบายบอกต่อคนอื่นๆต่อไป
ดังนั้นเวลาผมไปประชุมกับแม่มณี ก่อนที่จะพูดต้องให้แม่มณีเป็นคนเปิดประเด็นและแนะนำตัวให้ ซึ่งท่านก็น่ารักมาก อธิบายให้หมดว่าเอ็นจีโอคืออะไร ผู้เขียนเรียนจบที่ไหน บ้านอยู่ไหน ได้เงินเดือนเท่าไหร่ ทำให้คนที่มาฟังประชุมคลายปัญหาที่สงสัยในตัวผู้พูดลงไปมาก ซึ่งเวลาผมไปประชุมคนเดียวก่อนพูดผมก็จะแนะนำตัวคร่าวๆ ส่วนเรื่องเงินเดือนถ้ามีคนถามผมถึงจะตอบตามความเป็นจริงแบบไม่ปิดบัง
ผมว่านี่คือเสน่ห์อย่างหนึ่งของการทำงานแบบอยู่ร่วมกับคนในพื้นที่ ร่วมคิดร่วมทำงานและร่วมแบ่งปันความรู้สึก ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ผูกพันเสมือนเป็นญาติพี่น้องกัน มีสุขมีทุกข์ร่วมกัน ช่วยเหลือปลอบใจกัน ซึ่งไม่ใช่ความเป็นหัวหน้าหรือคนทำงาน สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้เขียนรู้สึกมีความสุข และไม่เหน็ดเหนื่อยที่จะตระเวนขับรถไปคุยกับแกนนำ ชาวบ้านในบ้านต่างๆ อย่างน้อยนอกจากเป็นการสอบถามข่าวคราวส่วนตัวแล้ว ยังเป็นการทำให้ทราบข่าวคราวความเคลื่อนไหวในพื้นที่ เช่นคนของบริษัทเข้ามาพบใคร หรือบริษัทจะเข้ามาในหมู่บ้านเพื่อแจกเงิน มอบอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งสะท้อนว่าชาวบ้านติดตามความเคลื่อนไหวในพื้นที่และตรวจสอบคนในหมู่บ้านอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะผู้นำหมู่บ้าน อย่างเช่นในบางช่วงมีข่าวบริษัทพากำนันผู้ใหญ่บ้านไปเลี้ยง ปรากฎว่าชาวบ้านในหมู่บ้านต่างๆ ต่างพากันกดดันยกกันไปถามผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน จนผู้ใหญ่บ้านบางคนนำเสื้อที่บริษัทแจกมาให้กลุ่มอนุรักษ์เผาหรือทำลายก็มี เพราะไม่กล้าใส่ และเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจและสำนึกผิดกับการกระทำของตัวเองต่อลูกบ้าน ซึ่งทำให้ชาวบ้านได้เข้าใจถึงสิทธิของตัวเองในการตรวจสอบความถูกต้อง การบริหารงานของผู้นำในชุมชน ไม่ถูกครอบงำเหมือนดังอดีต

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...