ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ตำนานผาแดงนางไอ่(3)


ฝ่ายบริวารของพังคีก็นำความไปบอกแก่สุทโธนาค สร้างความโกรธแค้นให้สุทโธนาค และยกทัพจากเมืองบาดาลตั้งไพร่พลอยู่ที่ห้วยหมากแข้งปัจจุบันคือห้วยหมากแข้ง และแปลงมาเป็นขอนไม้อยู่บริเวณหนองขอนกว้างปัจจุบันคือบ้านหนองของกว้าง  บ้างก็แปลงเป็นหินกลิ้งลงมา ปัจจุบันคือบ้านคำกลิ้ง จุดนี้เองที่เป็นที่มาของการเกิดแม่น้ำสายต่างๆ รวมถึงหนองหานกุมภวาปี จากการโจมตีของไพร่พลนาค ต่อมนุษย์ โดยบ้านแรกที่ถล่มล่มจมคือบ้านเมืองหล่มในปัจจุบัน เมื่อบ้านเมืองเกิดความสั่นสะเทือนจากนาคที่ดั้นพื้นดิน บรรดาข้าวของถ้วยชามในบ้านเรือนก็หล่นลงมาแตก กลายเป็นห้วยไพจานและบ้านไพจาน  พญานาคโกรธก็พ่นไฟออกมา กลายเป็นห้วยโพนไฟ  ข้างฝ่ายผาแดง เมื่อได้ยินข่าวก็ควบม้าชื่อบักสามมาหานางไอ่เพื่อพานางหลบหนี นางไอ่รีบหยิบฉวยสิ่งของติดตัวมาด้วยสามอย่าง คือฆ้อง แหวน และกลอง  แต่ระหว่างทางเนื่องจากของมีมากเกินไปทำให้การหนีเป็นไปด้วยความยากลำบาก  ผาแดงจึงบอกให้นางไอ่ทิ้งฆ้องลงไป เกิดเป็นห้วยน้ำฆ้องในเขตตำบลพันดอน อำเภอกุมภวาปีปัจจุบัน และต่อมาก็ทิ้งกลองลง ปัจจุบันคือห้วยกองสี ในในเขตเดียวกับห้วยน้ำฆ้อง ระหว่างที่หนีม้าบักสามก็พาดตกลงไปทำให้อวัยวะของมันขูดดินเกิดเป็นห้วย ในปัจจุบันคือห้วยสามพาด ที่เป็นชื่อหมู่บ้านและตำบลในกิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานีด้วย จนเมื่อมาถึงบริเวณที่พังคีเข้ามาชิงเอานางไอ่ลงไปใต้พื้นดิน ก็คือบริเวณห้วยลักนาง ในเขตอำเภอกุมภวาปี ในปัจจุบัน ทำให้ท้าวผาแดงเสียใจอย่างยิ่งและขี่ม้ากลับไปที่เมืองผาโพง แต่พญานาคพังคีก็มาแย่งชิงแหวนของนางไอ่จ่ากผาแดงไป เกิดเป็นหนองแหวน ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเพ็ญ บ้านเมืองต่างๆก็ล่มสลายกลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ และมีดอนที่ไม่ถูกนำท่วมเหลือเพียงดอนเดียว ที่เรียกว่า ดอนแม่ม่ายหรือดอนแก้วในปัจจุบัน  เพราะแม่หม้ายไม่ได้กินเนื้อกระรอก ปัจจุบันก็คือหมู่บ้านดอนแก้ว ที่ตั้งวัดพระธาตุดอนแก้วสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างหนึ่งของเมืองหนองหาน
ดังนั้นเรื่องเล่าดังกล่าวจึงสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ของชุมชน การตั้งบ้านเมือง การเกิดเป็นหนองน้ำ ลำห้วยต่างๆ ที่ชาวบ้านบริเวณลุ่มน้ำหนองหานอธิบายถึงความเป็นมาของชุมชน และข้อปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับหนองหาน ในฐานะแหล่งน้ำที่มีความสำคัญในตำนาน และการดำรงชีวิต ผ่านการเพาะปลูก การทำการประมง เก็บบัวและเลี้ยงสัตว์ บริเวณหนองหาน รวมถึงความเชื่อ ประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ที่สัมพันธ์กับลุ่มน้ำหนองหาน เช่นการไม่ร้องเพลงตำนานผาแดงนางไอ่ในหนองหาน เวลาลงเรือหาปลา การไม่ทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลลงหนองหาน การจัดประเพณีแข่งเรือ การทำบุญให้คนตายในหนองหาน หรือการใช้น้ำจากหนองหานพิธีกรรมสำคัญ เช่นสรงน้ำพระ ผู้อาวุโส ในบุญผะเวส การจุดบั้งไฟ บริเวณลานกว้างใกล้หนองหานหรือขบวนแห่บั้งไฟที่จะต้องมีหนุ่มสาว ชายหญิงคู่หนึ่งเพื่อแทนผาแดงนางไอ่ และการทำกระรอกเผือกเป็นสัญลักษณ์ของพังคี เป็นต้น ตำนานผาแดงนางไอ่จึงมีความสัมพันธ์กับชุมชนต่างๆรอบหนองหาน ผ่านสัญลักษณ์สิ่งศักดิ์ของพื้นที่ เช่น มหาธาตุเจดีย์ พระธาตุบ้านเดียม หลวงปู่ก่ำ พระธาตุดอนแก้ว ที่มีพิธีกรรมที่เกี่ยวพันกับน้ำเพื่อความอุดมสมบูรณ์ในการทำการเกษตรและหนองหาน โดยเฉพาะการจัดบุญบั้งไฟ 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...