ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เริ่มจากห้องแถว(17)

หากบหาหอย
ในฤดูแล้ง อาหารหากินยาก เพราะน้ำเริ่มแห้งคอด บางแห่งพื้นดินแห้งแยกแตกระแหงอย่างเห็นได้ชัด แต่ใครจะรู้ว่าใต้พื้นดินแห้งแตกเหล่านี้มีสัตว์อาศัยอยู่ ถ้าเราใช้เสียมถากกอหญ้าแห้งอาจจะเจอรูซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งรูปู รูเขียด รูกบหรือรูงู รูหนูก็ตาม แต่พวกเราก็จะเน้นสัตว์ที่พวกราต้องการจะหามากินเป็นอาหาร โดยเฉพาะในหน้าแล้งหรือหน้าหนาวสัตว์จะมันมากเพราะมันสะสมไขมันไว้ตามร่างกาย ฤดูกาลนี้เราจึงมาที่หนองน้ำแห้งเพื่อขุดปูและขุดกบ รวมทั้งการขัวหอย
ในฤดูฝนที่มีน้ำมาก ผมจำได้ว่าที่บ่หลังห้องแถวทหารที่เคยเป็นบ่อน้ำทิ้ง พ่อมักจะไปหาปลา โดยวิธีการที่เรียกว่าเต๊ะปลา ท่านจะใช้เท้าเต๊ะไปที่น้ำ แล้วคลำลงไปในบริเวณที่มีปลาบ่อนหรือหายใจอยู่ท่านก็จะใช้มือคลำลงไปจับ ปลาที่ได้ส่วนใหญ่คือปลาหมอ บางครั้งผมเคยไปกับพ่อก็จะใช้แหจับปลายคนละข้าง แล้วใช้เท้ากวาดตามขอบบ่อที่มีหญ้าเพื่อให้ปลาวิ่งออกมาเข้าแห และลากไปลากมาจนทั่วบ่อก็จะนำขึ้นมา บ่อยครั้งเราได้ปลาช่อนตัวใหญ่หรือปลานิล ในบางครั้งพ่อผมจะถือจบไปถ่ากกอผักบุ้งหรือกอหญ้าหนาบริเวณนั้นซึ่งจะพบรูกบตื้นๆที่มีกบนอนหลบอยู่บางครั้งหาได้ถึง 10-20 ตัวต่อวันก็มี
สำหรับฤดูแล้งกบจะหายากมาก รูลึก ซึ่งจะต้องขุดไปเรื่อยๆและใช้ไม้แหย่รูจะสัมผัสเมือกเหนียวและโคลนที่มีน้ำอยู่ ที่แสดงว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ภายใต้พื้นดินที่แห้งร้อน บ่อยครั้งเราได้กบ ที่สามารถจะนำไปทำป่นกินได้อย่างอร่อยหรือเอาไปสับให้ละเอียดแล้วผัดเผ็ดกินกัน บางครั้งได้ปูก็เอาไปทำก้อยปูหรือแกงคั่วใส่กับหอยที่ขุดหา หอยจะไม่อยู่ลึกมากจะอยู่ตื้นๆตามขอบบ่อหรือหนองที่มีหญ้าแห้งคลุมอยู่ หอยเวลาครัวจะได้หอยนาและหอยขม ซึ่งอยู่กับเป็นกลุ่มบางตัวไข่ บางตัวไม่ไข่ เมื่อได้มาก็จะนำมาล้างทำความสะอาดหลายรอบ เพื่อล้างดิน คราบตะไคร่น้ำสีเขียวที่เกาะยึดเปลือกหอย จากนั้นจะสับบริเวณก้นหอย พอให้สามารถดูดห้อยออกจากก้นได้เวลากินแกงคั่ว สำหรับคนที่ดูดหอยไม่เป็นก็สามารถกินจากปากได้เพราะเวลาแกงเปลือกหอยตรงปากจะเปิดอ้าให้ใช้ไม้แหลมจิ้มเอาเนื้อมากินได้ แม่ของผมแกงอร่อยมาก เครื่องกงก็มีพริก ตะไค้ ต้นหอม ผักชีลาว และมีขาวเบือที่ได้จากการนำข้าวสารเหนียวมาตำให้ละเอียดให้เป็นน้ำ แล้วนำไปแกงให้น้ำข้นมีกลิ่นหอม อาจใส่ปูลงไปด้วยเพื่อเพิ่มความมัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...