มารู้จักแนวคิดของเลวี่
สเตร๊าท์เบื้องต้น
การแพร่ขยายของกระแสแนวคิดทฤษฎีภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างของเฟอดิน็องต์
เดอ โซซูร์ (Ferdinand
de Suassure)
ที่มองว่าระบบของโครงสร้าง ครอบคลุมอยู่เหนือกระบวนการทางวัฒนธรรมทั้งหมด เช่น
ระบบเครือญาติ นิยายปรัมปรา ตำนาน นิทาน
การแต่งกาย การทำอาหาร
ซึ่งนำไปสู่การขยายตัวของคำจัดกัดความทางสัญญะ ดังนั้นวัฒนธรรมก็เช่นเดียวกับภาษา
สเตร๊าท์ ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองดั้งเดิมพบว่า
การปฏิบัติในชีวิตประจำวันของมนุษย์อยู่ภายใต้สิ่งที่เรียกว่าโครงสร้าง
ดังนั้นการศึกษาแบบแผนทางวัฒนธรรมของเขา เป็นสิ่งที่คล้ายกับการศึกษาภาษาศาสตร์
ดังเช่นที่วลาดิเมียร์ พ็อพ (Vladimir Propp) ได้พบรากฐานของระบบและหน้าที่
31 อย่าง (ในเหตุการณ์หรือการกระทำ)จากการศึกษานิทานพื้นบ้านรัสเซีย
ที่แสดงให้เห็นถึงไวยากรณ์(Grammar)ของนิทานพื้นบ้าน(Morphology of the Russian folk tale,1928) สิ่งดังกล่าวสะท้อนรูปแบบของโครสร้างในความคิดของมนุษย์(Human Mind) ที่แสดงให้เห็นโครงสร้างทางความคิดพื้นฐานที่สุดของมนุษย์ที่เรียกว่า
คู่ตรงกันข้าม (Binary Opposition)
งานเขียนสำคัญของเลวี่
สเตร๊าท์
— The Elementary
structures of kinship
— Structural
Anthropology
— “Introduction History and Anthropology” P.1-27
“Effective of Symbol”P.187-205and “Structural Analysis in Linguistics and in
Anthropology” P.31-79 In Structural Anthropology Volume 2
— Anthropology and
Myth
— Totemism ที่แสดงให้เห็นโครงสร้างและความคิดของมนุษย์
— Savage Mind สิ่งที่น่าสนใจคือแนวคิดเรื่อองศาสตร์ที่เป็นรูปธรรม (Science of the
concrete) ที่มองว่าไม่ว่าจะเป็นคนป่า คนศิวิไลต์ แนวคิดแบบวิทยาศาสตร์ แนวคิดแบบชาวบ้าน
การคิดแบบวัตถุวิสัย การคิดแบบอัตตวิสัย
ต่างก็เป็นความรู้เหมือนกันเพียงแต่เป็นความรู้คนละชุด คนละบริบท คนพื้นเมือง คนป่ามักคิดในเชิงรูปธรรมที่สัมพันธ์กับการใช้ชีวิตและประสบการณ์มากกว่าคนสมัยใหม่
นักวิชาการ ที่คิดแบบนามธรรม
— Introduction to
a Science of Mythology ภาคแรกคือ Raw and Cooked สะท้อนให้เห็นคู่ตรงกันข้ามระหว่างธรรมชาติ(Nature)และ วัฒนธรรม(Culture)
สิ่งที่น่าสนใจคือการพูดถึงตัวเชื่อม (Medium/Mediation)
อาจกล่าวได้ว่าภาษาเป็นระบบที่เอื้ออำนวยให้เกิดการคิด
เราคิดผ่านภาษา การคิดถือเป็นผลผลิตจากระบบ
ซึ่งเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
(ซึ่งอยู่ในวัฒนธรรม)กับสภาพแวดล้อม(ธรรมชาติ)ที่เป็นวัตถุแห่งความคิด
ซึ่งนำไปสู่แม่แบบคู่แย้งสำคัญ ระหว่าง ธรรมชาติ (ไม่ใช่มนุษย์)--------วัฒนธรรม
(มนุษย์) ดังนั้นความคิดจึงเกิดขึ้นได้เพราะภาษาช่วยให้เรา
สามารถสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม และจัดประเภทสภาพแวดล้อมรอบตัวเรา
โดยใช้สัญลักษณ์เป็นตัวแทน (ดูตัวอย่างวิธีคิดผ่านภาษาและคู่ตรงข้ามของเลวี่
สเตร๊าท์ ตามแผนผังข้างล่าง)
ดังนั้นถือเป็นประเพณีของบรรดาชนพื้นเมืองแต่ละเผ่าหรือตระกูลที่ต้องนำของจากธรรมชาติมาเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวหรือเครื่องหมายประจำเผ่า
(Totem)เครื่องหมายนี้อาจจะเป็นสัตว์หรือพืช ไม้แกะสลักหรือหินก็ได้
โดยเชื่อว่าจะช่วยปกป้องเผ่าที่มันเป็นตัวแทน ชนเผ่าที่มีสัญลักษณ์เป็นสัตว์ชนิดใดจะไม่ฆ่าสัตว์นั้น
ขณะที่เผ่าที่ใช้พืชเป็นสัญลักษณ์ก็เช่นเดียวกัน
เสาที่แกะสลักรูปประหลาดตั้งอยู่ใกล้กลุ่มกระโจมของอินเดียนแดงในอเมริกาเหนือในฐานะสัญลักษณ์ประจำเผ่า
ขณะที่ชาวอะบอริจิ้นในออสเตรเลียมักมีสัญลักษณ์ประจำเผ่าเป็นสากล อาจกล่าวได้ว่า “การนำพืชสัตว์สิ่งของมาเป็นสัญลักษณ์ประจำเผ่า ไม่ใช่ความเชื่อ งมงาย
ประหลาด ในเรื่องเหนือธรรมชาติ แต่เป็นตัวอย่างพื้นฐานของตรรกะในการคิด”
สัญลักษณ์ประจำเผ่าก็คือรูปแบบการจัดแบ่งประเภทของธรรมชาติ
และใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับการคิด พูดง่ายๆคือ การจัดแบ่งประเภทเป็นคู่ตรงกันข้าม
ระหว่างอะไรที่กินได้ กับกินไม่ได้ (ทำไม)ใครที่แต่งงานด้วยได้หรือแต่งไม่ได้
(และทำไม)
ความคิดเหล่านี้ถือเป็นการจำลองแบบแผนทางสังคม
ดังที่ปรากฏผ่านสัญลักษณ์ประจำเผ่า (Totemism) ที่มีคู่แย้งระหว่างมนุษย์กับไม่ใช่มนุษย์
ดังเช่นมุมมองของมนุษย์ในวัฒนธรรม ที่มองเรื่องของสูง ของต่ำ เชื่อมโยงจากสูงลงต่ำ
จากเทพเจ้า สัตว์ พืช ที่ปรากฏในนิทานปรัมปรา และสัญลักษณ์ประจำเผ่า
จิตของมนุษย์ทำงานโดยอิงกับแม่แบบคู่แย้ง
ดัง/เงียบ ดิบ/สุก เปลือย/สวมเสื้อผ้า สว่าง/มืด ศักดิ์สิทธิ์/สามัญ และอื่นๆ ซึ่งจิตของมนุษย์ทำงานอย่างเป็นตรรกะ
(ซึ่งเกี่ยวโยงกับวัฒนธรรม) ได้ลอกเลียนธรรมชาติโดยไม่รู้ตัว
ตัวอย่างเช่นทำไมเราเลือกสีเขียว เหลืองและแดง มาใช้ในระบบสัญญาญจราจร โดยอิงกับข้อเท็จจริงของธรรมชาติ
ที่ว่ารหัสสีสัญญาณสำหรับ ไป-ระวัง-หยุดนั้น เลียนแบบโครงสร้างของสีสเปรคตรัม ที่จัดระดับของสีตามความยาวและสั้นของคลื่น สีแดงมีความยาวของคลื่นยาว
สีเขียวมีความยาวของคลื่นสั้น ส่วนสีเหลืองอยู่ตรงกลาง เป็นต้น
แนวคิดแบบ
Structuralism
เสนอว่า
การเดินทางจากธรรมชาติเข้าสู่วัฒนธรรมนั้นมนุษย์อยู่ภายใต้กฏเกณฑ์ที่เขาไม่ได้สร้างขึ้นเอง
กฏเกณฑ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติของมนุษย์
ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ที่ไหนก็เหมือนกันเพราะมันเป็นกลไกลของสมองมนุษย์
ดังที่เขากล่าวว่า The Human mind is everywhere one and the same and that
it has the same capacities. (Levi-Strauss : 1978 หน้า 19)
การศึกษาเกี่ยวกับวิถีคิดของชนเผ่าดั้งเดิมผ่านแนวคิดเรื่องศาสตร์ที่เป็นรูปธรรม
มองว่าวิธีการขบคิดปัญหาของชนดั้งเดิม ความปรารถนาที่จะเข้าใจจักรวาล ธรรมชาติ
โลกและสังคม เป็นสิ่งที่มนุษย์ทั้งในสังคมดั้งเดิมและปัจจุบันมีร่วมกัน
ชนดั้งเดิมพยายามจะเข้าใจว่า มนุษย์มาจากไหน ธรรมชาติกับมนุษย์แยกกันตรงไหน เช่น
เดียวกับที่พวกเราพยายามจะเข้าใจ
ไม่แตกต่างจากการใช้สติปัญญาของนักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญาสิ่งที่แตกต่างกนก็คือ
กระบวนการในการหาคำตอบ
ชนชั้นดั้งเดิมต้องการเข้าใจจักรวาลอย่างเป็นสากลด้วยวิธีลัดที่สุดดังที่เลวี่
สเตร๊าท์บอกว่า “.... It aim is to reach by the shortest possible means a general
understanding of the universe…” (Levi-Strauss :1978,17)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น