ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เรียนมหาวิทยาลัย(1)


เรียนมหาวิทยาลัย หล่อมหลอมจิตสำนึกเรื่องหมู่บ้าน คนชนบท
ผมเข้าเรียนมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์สาขาการพัฒนาชุมชน ผมไม่รู้หรอกว่าเรียนจบจะทำงานอะไร แต่ผมอยากทำงานพัฒนา เพื่อทำให้ชุมชนและชนบทดีขึ้น ผมชอบธรรมชาติ ชอบเรียนรู้วิถีชีวิตของคนอื่น ในภาคทฤษฎีผมไม่รู้สึกตื่นเต้นมากเพราะมันเป็นหลักการท่องได้ จำได้แม่น แต่การปฏิบัติที่ต้องลงพื้นที่ชุมชนคือสิ่งที่ผมตื่นเต้นมากที่สุด เรามักจะลงชุมชนเป็นประจำ โดยรถขนหมูหรือรถหกล้อ ที่มีเฮียชวดเป็นคนขับ แกขับมาตั้งแต่รุ่นแรกจนถึงรุ่นของผม รุ่นที่13 ทั้งออกภาคสนามในวิชาเรียน และออกค่ายพัฒนาชนบท ในชุมนุมอาสาสมัครเพื่อการพัฒนา
ถ้าจะว่าไปแล้วผมเป็นเด็กชนบท ผมอยู่อุดรธานีซึ่งไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยของบแก่นมากนัก เดินทางประมาณชั่วโมงกว่าๆก็ถึง ผมมักจะนั่งรถแดงอุดร ขอนแก่น หรือรถปรับอากาศปอ.2 อุดรธานี นครราชสีมา จากบ้านโนนสูงมาลงที่หน้าโรงพยาบาลศรีนครินทร์และต่อรถสองแถวสีฟ้าสาย8 เข้าไปในมหาวิทยาลัย ผมพักอยู่หอพักชายคือหอ9 ตั้งแต่ปี1-ปี 4
ผมยังจำถึงภาพแรกที่ผมมาสมัครโควตาที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยวิธีรับตรง และสอบติดข้อเขียน โดยได้รับไปรษณีย์บัตรจากรุ่นพี่ชื่อพี่แหม่มมาแจ้งข่าว พอมาถึงที่มหาวิทยาลัย ผมไปนอนกับพี่จ่อยและพี่โอจอย เขามีกิจกรรมให้พี่น้องคุยกัน ผมถามถึงสาขาที่เรียนจบไปทำอะไร และสอบสัมภาษณ์ยากไหม อาจารย์ถามอะไรบ้าง ซึ่งผมก็สอบสัมภาษณ์ผ่านไปด้วยดีและเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้
จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม ก่อนเปิดเรียน ผมเข้าร่วมกิจกรรมรับน้องของมหาวิทยาลัย โดยไปไหว้ศาลเจ้าพ่อมอดินแดง และเข้าซุ้มกิจกรรม จากรับน้องมหาวิทยาลัย เพื่อทำความรู้จักเพื่อนต่างคณะ และร้องเพลงมาร์ชของมหาวิทยาลัยให้ได้ ก็เข้าสู่การรับน้องในระดับคณะวิชา  ที่จะต้องผ่านซุ้มของสาขาต่างๆ ทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส ภาษาไทยและบรรณารักษ์ มีการร้องเพลงเชียร์ทุกวัน ผ่านการทดสอบด้วยวิธีการต่างๆทั้งขู่ ทั้งปลอบจากรุ่นพี่ ที่เราเรียกว่าพี่หม่อ กับพี่ว๊าก ซึ่งจะมีละครทางสังคม และเทคนิคการสร้างวิธีการมาจัดการกับอารมณ์ ความรู้สึกของพวกเราเป็นประจำ ปลูกฝังให้เรารู้จักกันเช่นต้องรู้จักเพื่อนต่างสาขาให้ได้ มากกว่า10 คน หรือเจอหน้ารุ่นพี่ก็ให้ไหว้หรือทักทาย รวมทั้งการทำผิดระเบียบถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคนไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่งเพราะเราอยู่ในสังคมเดียวกัน
จนกระทั่งถึงวันสุดท้ายที่จะรับเนคไท เพลงเชียร์จากประธานเชียร์ ในวันนั้นจะมีการรายงานสายรหัส เมื่อถึงคิวผมผมต้องวิ่งฝ่าเสียงตะโกนว่า เร็วๆๆๆ รวมทั้งเสียงกลองรัวเป็นจังหวะแรงๆ เร็วๆ และคึกคัก รวมทั้งกลุ่มพี่ๆที่ยืนและนั่งอยู่บนเวทีกับกลุ่มน้องใหม่ที่แต่งกายด้วยชุดนักศึกษามีป้ายชื่อห้อยที่คอ เมื่อขึ้นไปบนเวทีผมจะต้องโน้มตัวไปข้างหน้า ก้มหัวแล้วต้องตะโกนให้สุดเสียงว่า น้องชื่ออะไร รหัส สาขาอะไร ปู่รหัส ย่ารหัสชื่อ ป้ารหัสบุงรหัสชื่อ พี่รหัสชื่อ อะไรเมื่อผ่านเราก็ถือว่าเป็นสมาชิกของสาขาของคณะวิชาอย่างสมบูรณ์และเตรียมตัวปีหน้าสำหรับรุ่นน้องที่จะเข้ามาใหม่ ซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการอย่างพวกเรา
ผมเรียนที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นรุ่นที่33 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์รุ่นที่ 22 และสาขาการพัฒนาชุมชนรุ่นที่ 13 ในรุ่นที่เราเข้ามามีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นมากมาย ตั้งแต่การเชียร์ที่คึกคักสนุนสนานอย่างมากของรุ่นพี่ จนนำไปสู่กาเป็นเจ้าหญิงนิทราของเพื่อนคนหนึ่งที่เป็นป่วยโรคหัวใจซึ่งรุ่นพี่ไม่รู้และไม่สามารถปฐมพยาบาลได้ทันท่วงทีจนสมองของเธอขาดออกซิเจนไปหลายนาที กว่าจะถึงโรงพยาบาลก็ช้าไปมากแล้ว ซึ่งนำไปสู่การการควบคุมเรื่องการรับน้องของคณะต่างๆในมหาวิทยาลัยมากขึ้น หรือการสูญเสียเพื่อนรักคนหนึ่งของผมชื่อหนิงในช่วงของการฝึกงานภาคสนามประมาณ 3 เดือนในช่วงปีสุดท้ายที่ตาดฟ้าดงสะคร่าน อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...