ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ผังเมืองกับการจัดการพื้นที่บนฐานของความจริง?


ผังเมืองกับการจัดการพื้นที่: การพัฒนาบนฐานของความจริง?
                             นัฐวุฒิ สิงห์กุล

อุดรธานี ความสัมพันธ์ว่าด้วยเรื่องเกลือกับโพแทช


ภาพแสดงให้เห็นพื้นที่โครงการเหมืองแร่โพแทชแหล่งอุดรเหนือและอุดรใต้ของจังหวัดอุดรธานี

 

พื้นที่ในเขตจังหวัดอุดรธานี ถือได้ว่าเป็นดินแดนที่คนหลายพวกหลายเชื้อชาติเข้ามาตั้งถิ่นฐานกันอยู่อย่างหนาแน่นมาช้านาน จากหลักฐานที่ขุดค้นและหลักฐานที่ปรากฎ ไม่ว่าจะเป็นเสมาหิน  ปราสาทเจดีย์ โบราณสถาน พระพุทธรูปหินทราย ถ้วยชาม หม้อดินเผา เครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องในยุคสมัยต่างๆตั้งแต่ยุคสมัยทวารวดี ลพบุรี ซึ่งเป็นอารยธรรมของขอม มาจนถึงล้านช้าง(ศรีสัตนาคนหุต) ที่เป็นช่วงที่คนลาวได้เข้าตั้งแว่นแคว้นล้านช้างหรือลาวเวียงขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น รวมถึงยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่เป็นอารยะธรรมในช่วง5,000 ปี ที่พบแหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียง เมืองอุดรธานี มีเมืองเก่าตั้งแต่ครั้งโบราณสองเมือง คือ เมืองหนองบัวลำภูหรือนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน และเมืองหนองหารน้อย (ปัจจุบันเป็นอำเภอกุมภวาปี) เดิมเคยเป็นเมืองของเจ้าคำแดง หลานพระยาขอม ต่อมาพระยานาคบันดาลให้บ้านเมืองเกิดล่มจมน้ำจึงเป็นเมืองร้างมาช้านานดังที่ปรากฏในตำนานอุรังคธาตุ

อุดรธานี  เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานตั้งแต่อดีต และมีผู้คนอพยพย้ายถิ่นเข้ามาตั้งถิ่นฐานหลายยุคหลายสมัย หลายชาติพันธุ์ทั้งชนชาติเขมรและลาวในบริเวณนี้ ดังนั้นอุดรธานีเป็นเสมือนเมืองที่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญทางการเมืองมาตั้งแต่ช่วงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นและตอนปลาย โดยเฉพาะในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ต้องการจะจัดระเบียบและปฎิรูปการปกครองของประเทศให้มีแบบแผน อุดรธานีจึงเป็นเมืองหนึ่งที่ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นในช่วงนั้น ทำให้เองอุดรธานีเต็มไปด้วยคนหลายกลุ่มชาติพันธุ์อพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่บริเวณนี้ทั้งคนลาวที่เป็นคนพื้นเมือง คนญวนที่อพยพมาในช่วงเดียนเมียนฟูแตกและคนจีนที่เข้ามาทำการค้าขายในเมือง รวมทั้งคนอเมริกันที่เข้ามาตั้งฐานทัพในเมืองไทยในช่วงสงครามเวียดนาม ทำให้จังหวัดอุดรธานีปัจจุบันมีคนหลายเชื้อชาติ ชาติพันธุ์มาอยู่รวมกัน ภายใต้สถานการณ์และเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและภูมิภาคแถบนี้

อุดรธานี เป็นจังหวัดที่อยู่ในเขตอีสานเหนือ[1]บริเวณแอ่งสกลนครซึ่งมีเทือกเขาภูพานกั้นพื้นที่ภาคอีสานออกเป็นสองส่วนคือ แอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร อีสานเหนือและอีสานใต้ หรือแบ่งตามลุ่มน้ำคือลุ่มแม่น้ำโขงและชี กับลุ่มแม่น้ำมูล สำหรับเมืองอุดรธานีนั้น คำว่าอุดรธานี หมายถึง เมืองในทิศเหนือ เมืองในทิศอุดร  ในอดีตเมืองอุดรธานีเป็นบ้านป่า เมืองร้าง แต่เดิมเรียกว่าบ้านหมากแข้งเพราะมีต้นมะเขือพวงใหญ่(อีสานเรียกว่าหมากแข้ง) ดังที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพ(รศ.113)[2]ได้ทรงบันทึกไว้ว่า

          บ้านเดื่อหมากแข้งเป็นแขวงเมืองหนองคาย มีเรือน (..109) ไม่เกิน 200 หลังคา เป็นบ้านอยู่ในที่ราบชายเนิน ด้านตะวันออกเป็นที่ทุ่งนาใหญ่ตลอดมาต่อทุ่งหนองหาร เป็นต้นทางร่วมที่มาจากเมืองใกล้เคียง แต่เป็นบ้านป่าขับขันกันดานต้องอาศัยเสบียงอาหารจากเมืองหนองคายและเมืองสกลนคร



[1] เขตอีสานเหนือ คือบริเวณตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตั้งแต่ฝั่งเหนือของลำน้ำชี ในเขตจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ไปจนถึงลุ่มแม่น้ำโขง ในเขตจังหวัดหนองคาย นครพนม สกลนครและอุดรธานี อาจกล่าวได้ว่า เขตอีสานเหนืออยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำชีและโขง ส่วนอีสานใต้ก็คือแถบลุ่มแม่น้ำมูล ตั้งแต่เขตจังหวัดศรีษะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร บุรีรัมย์ นครราชสีมา
[2] เอกสารที่๔๑๔/๑๘๑๑๑ วันที่๑๘ พฤศจิกายน ร..๑๑๓ บันทึกมุมเอกสารว่า คัดสำเนาส่งกรมประจักษ์กับพระราชหัตถ์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...