ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เริ่มจากห้องแถว(3)


บ่อน้ำบาดาล น้ำซ่าง พื้นทีสาธารณะ
บริเวณบ่อน้ำซ่างหรือบ่อน้ำบาดาลซึ่งเป็นบ่อน้ำสาธารณะ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านนัก บ่อน้ำบาดาลเป็นบ่อน้ำลึกซึ่งไม่รู้ว่าเท่าไหร่ แต่ถ้าก้มลงไปจะเห็นมีน้ำอยู่ประมาณเกือบสองเมตรได้นับจากปากหลุม ความลึกของมันทำให้ดูน่ากลัวไม่น้อยสำหรับเด็ก ผมจึงไม่ค่อยมาเล่นบริเวณนี้ถ้าไม่มาอาบน้ำ หรือเก็บมะไฟ  บริเวณปากหลุมจะเอาไม้ใหญ่ สูงและหนามาวางต่อกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมเพื่อกันไม่ให้เด็กหรือใครพลัดเดินตกลงไป  บริเวณบ่อน้ำบาดาล มีต้นมะไฟขนาดใหญ่ออกลูกสีเหลืองเป็นช่อ ผมและเพื่อนๆมักจะมาเก็บกินกันเป็นประจำเพราะรสชาติหวานอมเปรี้ยวของมัน บริเวณต้นมะไฟมีไม้ไผ่ขนาดยาวที่ตรงปลายจะมีไม้เหมือนตะขอ ไว้เกี่ยวตะคุหรือถังน้ำหย่อนลงไปข้างล่าง จากนั้นก็สาวไม้ที่มีถังน้ำอยู่เต็มขึ้นมา ถังแรกสู่ถังที่สอง จากนั้นก็เอาไม้หาบที่ทำจากไม้เผ่าขนาดยาว ทำก้านทั้งสองถากให้นูนเพื่อให้ถังเกี่ยวได้และไม่เลื่อนตกลง มา สอดเข้าไปบนหู(สายที่จับ)ของถังหรือตะกร้า ให้อยู่บนไม้ที่ถากทั้งสองด้านและใช้ไหล่วางพาดตรงกลางไม้หาบ กะให้มันพอดีสมดุลกับการรับน้ำหนักของร่างกาย แล้วก็ทยอยกันเดินกลับบ้านเวลาเดินก็จะโยกไปมาเป็นจังหวะขึ้นลงซ้ายขวาตามขาที่ก้าว จนถึงบริเวณบ้านก็จะนำน้ำมาใส่ในตุ่ม หากไม่เต็มก็กลับมาตักใหม่จนเต็ม  ซึ่งบ่อน้ำใช้กับบ่อน้ำกินจะไม่เหมือนกัน เพราะบางครั้งชาวบ้านบอกมาน้ำบ่อนี้ไม่อร่อย ก็จะไปตักที่อื่นเป็นกิโลมาไว้เป็นน้ำกิน
บ่อยครั้งผมจะเห็นบ่อน้ำบาดาลเป็นพื้นที่สาธารณะ ชาวบ้านจะมาพบปะกันบริเวณนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงและเด็กที่จะมาตักน้ำและอาบน้ำบริเวณนี้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเที่ยวสุดท้ายที่จะนำน้ำไปใส่ตุ่มหรือโอ่งให้เต็ม ก็จะตักน้ำขึ้นมาอาบก่อน น้ำสีขาวขุ่น บางครั้งต้องใช้สารส้ม แต่ถ้าหน้าฝนปริมาณน้ำจะมากและใสมากกว่า ชาวบ้านก็จะอาบบริเวณใกล้ๆบ่อน้ำ บางคนเอาถังมาอาบที่ต้นมะไฟ เตรียมสบู่กลิ่นหอมก้อนสีชมพู สีเขียวมาอาบ บางคนซักผ้า เสร็จแล้วก็ผลัดเปลี่ยนผ้านุ่งกลับบ้านไปพร้อมกับถังที่มีน้ำเต็ม ชีวิตของชาวชนบทสัมพันธ์กับธรรมชาติในลักษณะของการพึ่งพาอาศัย รวมถึงการอยู่ร่วมกันในชุมน การแบ่งปันข้อมูลข่าวสารในชุมชน ลูกคนนั้นคนนี้ไปเรียนหนังสือในเมือง ไปทำงานกรุงเทพฯ คนในหมู่บ้านตาย จะแต่งงาน หรือเจ็บป่วย ก็จะสื่อสารบอกข่าวกัน ก่อนที่หอกระจายข่าวจะเข้ามา และหมู่บ้านก็อาศัยโทรโข่งจากหอกระจายข่าวรับรู้ข่าวสารอยู่กับบ้านในเรื่องสำคัญของชุมชน แต่สิ่งที่หอกระจายข่าวทำไม่ได้ก็คือ เรื่องที่ลึกซึ้ง เป็นความลับหรือการซุบซิบในชุมชน ซึ่งชาวบ้านก็จะใช้พื้นที่สาธารณะตรงนี้มากกว่า น่าเสียดายว่าปัจจุบันบ่อน้ำนี้ได้ถูกถมและปิดไปแล้วทำให้บรรยากาศแบบเดิมๆเลือนหายไป
นี่อาจจะเป็นสิ่งที่เรียกว่าความเจริญ ที่ทำให้พื้นที่ส่วนตัวเข้ามามีความสำคัญและลดทอนความหมายของพื้นที่สาธารณะลงไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...