ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ตำนานหนองหาน กุมภวาปี อุดรธานี

ความเชื่อเรื่องนาคและตำนานหนองหาน(ตอนหนึ่ง)
คนไทยและคนอีสาน มีความสัมพันธ์กับน้ำมาตั้งแต่อดีต ทั้งเรื่องของการตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณใกล้ลำน้ำขนาดใหญ่ เพื่อการอุปโภค บริโภค โดยเฉพาะในชุมชนเกษตรกรรม ที่ต้องอาศัยน้ำฝนและแหล่งน้ำในการเพาะปลูก ดังนั้นน้ำจึงมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของมนุษย์ และเป็นจุดเริ่มต้นของตำนาน การสร้างเรื่องราวและจินตนาการของมนุษย์ที่สัมพันธ์กับลำน้ำซึ่งถูกบอกเล่าสืบต่อกันมา ดังเช่นเรื่องของพญานาค ที่เป็นสัตว์ที่เป็นตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์ การสร้างลำน้ำ รวมถึงนาคเป็นสิ่งที่ถูกใช้เป็นเกณฑ์วัดปริมาณน้ำในแต่ละปี ที่คนไทยเรียกว่า “นาคให้น้ำ” ที่แสดงแทนจำนวนของนาคตั้งแต่นาคหนึ่งตัวจนถึงเจ็ดตัว  ถ้าปีไหนมีน้ำอุดมสมบูรณ์จะมีนาคให้น้ำน้อยตัว เพราะนาคจะกลืนน้ำไว้ในท้อง ถ้ามีนาคหลายตัวก็จะกลืนน้ำมาก ปริมาณน้ำจึงมีความสัมพันธ์แบบผกผันกับจำนวนนาคที่ให้น้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคในรอบปี (อ้างจาก ละไม 2538:67)
นาคเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความอุดสมบูรณ์และแสดงถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน และการอพยพเคลื่อนย้ายของชนชาติไทย จากจีน เคลื่อนลงมาทางใต้ วิถีชีวิตที่ผูกพันอยู่กับสายน้ำสำคัญ คือแม่น้ำโขง ผ่านตำนานนาคเมืองหนองแส นาคเมืองหนองหานและนาคเมืองโยนก ที่มีตำนานเกี่ยวข้องกับนาคและการก่อกำเนิดลำน้ำ เช่นตำนานนาคเมืองหนองแส[1] ที่พูดถึงความสัมพันธ์ของพญานาคผู้ยิ่งใหญ่สองตัวที่อาศัยอยู่ร่วมกันในหนองแสคือ สุวรรณนาคหรือโยนกวตินาค ผู้อยู่หัวหนอง และธนะมูลนาคหรือสุทโธนาคผู้อยู่ท้ายหนอง   จนกระทั่งมีปัญหาขัดแย้งกันเรื่องการแบ่งปันอาหาร จากชิ้นเนื้อสัตว์[2]ที่หามาได้จึงเกิดการสู้รบกัน และแยกกันออกไปจากหนองแสง สุวรรณนาคจึงได้ขึ้นไปทางภาคเหนือของไทยสร้างแม่น้ำน่าน ส่วนสุทโธนาคลงไปทางภาคอีสานเพื่อสร้างแม่น้ำโขง (อ้างจากปรีชา พิณทอง2524:65-71)  
ตำนานทั้งของโยกนกและของอีสานมีความเหมือนกันอยู่ในหลายประเด็นทั้งการกำเนิดเมืองโยนกนาคนคร หรือเวียงหนองล่ม ที่ปรากฏในตำนานสิงหนวัติ[3] พงศาวดารโยนก พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน รวมถึงประชุมพงศาวดารภาคที่61 ที่พูดสืบต่อกันมาถึงตำนานปลาไหลเผือกของคนพื้นเมืองล้านนา การล่มสลายของเมืองเป็นหนองน้ำ ที่คร่าชีวิตเจ้าเมืองและชาวบ้านลงไป เหลือเพียงหญิงม่ายหลังหนึ่งบนขอบหนอง (อ้างจาก สยามอาระยะ 2538:28-33) ในขณะที่ตำนานการเกิดหนองหานของภาคอีสานมีความสัมพันธ์กับตำนานอุรังคนิทาน หรือตำนานการสร้างพระธาตุพนม[4] ที่พูดถึงความสัมพันธ์ของเมืองหนองหานหลวงและหนองหานน้อย ที่สืบเชื้อสายมาจากพญาขอม โดยพระเจ้าภิงคาระครองเมืองหนองหานหลวง และพระยาคำแดง ครองเมืองหนองหานน้อย โดยพระเจ้าภิงคาระ มีมเหสีชื่อพระนางนารายณ์เจงเวง ผู้สร้างพระธาตุนารายณ์เจงเวง สัมพันธ์กับการก่อเกิดอาณาจักรศรีโคตรบูร  ตำนานดังกล่าวได้พูดถึงเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่ทำให้เกิดเป็นหนองหานทั้งสองแห่งและกลายเป็นเมืองที่ไร้ผู้คนตั้งแต่นั้นมา (เติม วิภาคพจนกิจ 2499:356-358) ในขณะที่อีกตำนานหนึ่งของเมืองหนองหานน้อยที่ชาวบ้านพูดถึงในพื้นที่ลุ่มน้ำหนองหานที่กับเป็นเรื่องของตำนานรักระหว่างผาแดง นางไอ่และกระรอกด่อนหรือ กระรอกเผือกซึ่งทำให้ผู้คนในบริเวณนี้มักบอกว่า หนองหานสกลคือหนองหานเอี่ยน[5]ด่อน[6] แต่หนองหานกุมภวาปีคือกระรอกด่อน เพื่อยืนยันความจริงของตำนานดังกล่าวและบ่งบอกว่าหนองหานบริเวณนี้คือหนองหานตามตำนานที่คนอีสานเชื่อถือ เมื่อพูดถึงหนองหานก็ต้องเล่าถึงตำนานผาแดงนางไอ่เป็นต้น
                ในบรรดาเรื่องเล่าหรือนิทานปรัมปราของคนอีสาน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากที่สุดก็คือ ตำนานความรักของผาแดงนางไอ่ ที่มีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ของชุมชน การตั้งถิ่นฐานบ้านเมือง การกำเนิด แม่น้ำ หนองน้ำ และลำห้วย รวมถึงประเพณีวัฒนธรรมที่คนในชุมชนปฏิบัติเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของน้ำและดินในการเพาะปลูก ผ่านพิธีการบูชาพญาแถน ในช่วงเดือนหกหรือเดือนเมษายน ของทุกปี ที่เรียกว่าบุญบั้งไฟ ตามพิธีกรรมฮีตสิบสองคองสิบสี่ของชาวอีสาน ดังที่ปรากฏในวรรณกรรมพื้นบ้านอีสานหลายเรื่องเช่นตำนานผาแดงนางไอ่ ตำนานหนองหานและพญาคันคาก เป็นต้น(อ้างจากสุริยา 2533:6) สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนสะท้อนให้เห็นพื้นฐานความเชื่อ ค่านิยมและโลกทัศน์ของชาวอีสานต่อเรื่องน้ำเรื่องนาค  ที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตเกษตรกรรม ผ่านร่องรอยทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ที่ยืนยันความจริงของนิทานปรัมปราดังกล่าวโดยเฉพาะความเชื่อเกี่ยวกับตำนานการเกิดหนองหานกุมภวาปีของชาวอุดรธานีที่บอกเล่าสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน


[1] หนองแสเป็นแม่น้ำสายหนึ่งที่เชื่อว่าอยู่ในประเทศจีน เขตคุนหมิงหรือยูนาน ไหลลงทะเลแดง ในสมัยที่ไทยยังไม่ได้อพยพลงมา ไทยตั้งอาณาจักรหนองแสที่เมืองตะลิฟู หรือเมืองหนองแสเป็นราชธานี (อ้างจากปรีชา 2524 : 52)
[2] เรื่องของชิ้นเนื้อสัตว์ เริ่มจากธนะมูลนาคได้ช้างมาก็เอามาแบ่งปันสุวรรณนาคผู้เป็นเพื่อน ต่อมาสุวรรณนาคก็พบเม่นตัวหนึ่ง ก็เลยฆ่าและนำมาแบ่งปันให้กับสุทโธนาค เลยสร้างความไม่พอใจกับสุทโธนาคหาว่าสุวรรณนาคเก็บชิ้นเนื้อส่วนใหญ่ไว้กับตัวเอง เนื่องจากสุทโธนาคเห็นว่าขนเม่นใหญ่กว่าขนช้าง ต้องมีขนาดใหญ่กว่าช้าง จึงได้นำมาสู่การแตกแยกหรือเป็นศัตรูกันของนาคทั้งสองซึ่งเป็นเพื่อนกัน
[3] ในตำนานสิงหนวัติ กล่าวถึงพระเจ้าสิงหนวัติ อพยพโยกย้ายมาจากส่วนหนึ่งของจีน ที่เรียกกันว่ามหานครราชคฤห์เมื่ออพยพลงมาตามลลำน้ำโขง มาพบชัยภูมิที่ดีแห่งหนึ่งอยู่ห่างจากลำน้ำโขง 7,000 วา จนมาก่อสร้างเมืองโยนกนครขึ้นก่อนที่จะล่มจมลงไปเป็นเวียงหนอง
[4] ตำนานการสร้างพระธาตุพนม มีความสัมพันธ์กับอาณาจักรล้านช้างหรือศรีสัตนาคนหุตในศตวรรษที่19 ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับเมืองต่างๆในภูมิภาค คือเมืองศรีโคตรตะบอง (นครพนม) เมืองหนองหานน้อย (อำเภอหนองหานอุดรธานี) เมืองพาน(อำเภอบ้านผืออุดรธานี) เมืองสุวรรณภูมิ (อยู่ในเขตลาว) และเมืองจันทบุรี(เวียงจันท์)ที่อยู่บริเวณใกล้กัน รวมทั้งเมืองที่ห่างไกล  เช่นเมืองอินทปัฐ (กัมพูชา) เมืองจุลที (ตั๋งเกี๋ย) และเมืองสาเกต(ร้อยเอ็ด) และเมืองกรุนทนคร(อโยธยา) ที่ได้สร้างพระธาตุพนมที่ภูกำพร้า  บริเวณริมแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นศูนย์กลางที่เป็นกลางไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ เพื่อป้องกันการรบพุ่งแย่งชิงพระธาตุระหว่างกัน (อ้างจากศรีศักร 2522:35)
[5] เอี่ยน ในภาษาอีสานหมายถึงปลาไหล
[6] ด่อนคือขาว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...