ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ชีวิตเอ็นจีโอ(2)


หลากวิธีในการเคลื่อนไหว หาข้าวหาปลาไปกินเอง เบียดเสียดกันไปเพราะความอยากรู้
การที่ผมต้องรับผิดชอบในการที่จะต้องตระเวนถามบรรดาแกนนำว่าใครจะลงไปกรุงเทพฯเพื่อยื่นหนังสือ หรือชุมนุมบ้าง เป็นช่วงที่เหนื่อยและปวดหัวมากที่สุด ทั้งเรื่องรถที่ต้องไปติดต่อ บางครั้งก็รถตู้รถเมลล์ รถสองแถว หรือรถกระบะของแกนนำ หรือเรื่องของคนที่จะไป เพราะบางครั้งรถก็มีจำกัดอย่างรถตู้ 1 คัน นั่งได้10-12 ที่นั่ง หากไปเกินทุกคนก็ต้องนั่งเบียดเสียดกัน โดยเฉพาะคนแก่ที่อยากไปผมสงสารมาก เพราะต้องเดินทางไกลต้องเบียดกันเหยียดแข้งขาไม่สะดวก กลัวว่าจะปวดขาตอนหลังๆจึงมักจะได้เป็นกลุ่มเยาวชนคนหนุ่มสาวมากกว่า เมื่อได้คนครบตามจำนวน ก็จะต้องมีการแจกแจงรายละเอียดการเตรียมตัวในการเดินทาง การเตรียมข้าวสารไปหุงไปนึ่ง ที่มอส.(มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม)ซึ่งจะที่เป็นทั้งที่พักหลับนอนและเป็นครัวสำหรับทำกับข้าว บางครั้งก็ซื้ออาหารไปทำซื้อปลาทู ซื้อมะเขือ เพราะอาหารที่ทำส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกทอดปลาทู และซุปมะเขือ ส่วนอาหารอย่างอื่นก็มีพวกแจ่วบอง บองปลาแดก บางครั้งถ้าชุมนุมใหญ่ ผมกับพ่อเบี้ยวซึ่งเป็นแกนนำบ้านโนนสมบูรณ์เคยเป็นเด็กบัสรถและรู้จักคนมาก แกก็จะไปขอหมูที่ฟาร์มหมูบ้านหนองไผ่ ฟาร์ม999 ซึ่งอนุเคราะห์ให้หมูมาทั้งแบบเป็นตัวและแบบเนื้อชำแหละแล้ว พอได้มาก็จะทำตากแดด ช่วยกันกับกลุ่มผู้หญิง และห่อใส่ถุงเพื่อเอาไว้แจกให้พี่น้องที่ร่วมไปชุมนุม 
ในช่วงแรกๆผู้เขียนรู้สึกอายบ้างที่ต้องไปขอทั้งจากบริษัทห้างร้านต่างๆ เพื่อเป็นเงินทุนในการต่อสู้เคลื่อนไหว เพราะยอมรับว่าสงสารชาวบ้าน ซึ่งปกติเขาก็ไม่ค่อยซื้อของฟุ่มเฟือย จะกินจะใช้ต้องประหยัดบางทีไปเดินรณรงค์บางคนก็ห่อมะม่วงสุข ปลาร้า ปลากระป๋อง ส้มตำมากิน ซึ่งเป็นอาหารง่ายๆ ที่หากินได้ราคาไม่แพง  ผู้เขียนจำได้ว่าผู้เขียนชอบไปกินข้าวที่บ้านโคกสี ปลาร้าตัวใหญ่ๆอร่อยมากและกินกันหลายๆคนก็สนุกดี ผู้เขียนก็ตระเวนไปกินวงนั้นวงนี้บ้าง ทำให้รู้ว่าคนแต่ละคนรู้สึกยังไง เหนื่อยไหม ไปบ้านนั้นคนเขาว่ายังไง เขาสนใจเรื่องโครงการไหม บางคนบอกผมว่า หัวหน้าต้น ผมได้ชื่อคนมาเป็นอบต.เขาสนใจอยากให้เราไปคุยและเปิดประชุมบ้านเขาซึ่งทำให้ผมได้ข้อมูลเวลาไปติดต่อประสานงานประชุมเดี๋ยวเรื่องเดินรณรงค์ผมจะกล่าวถึงเฉพาะในหัวข้อต่อไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...