ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เริ่มจากห้องแถว(4)


ส้วมซึม
สมัยที่ผมได้มีโอกาสไปที่บ้านเกิดของผมซึ่งเป็นบ้านของคุณแม่ สิ่งหนึ่งที่ดูจะมีปัญหากับผมมากที่สุดคือห้องน้ำ แม่ผมบอกว่า เมื่อก่อนไม่มีห้องน้ำก็ขี้ตามโคกตามป่า มีเสียมไปคนละอัน เอาใบไม้ใบหญ้าเช็ดตูด ต่อมามีอาสาสมัครสาธารณสุข เขามารณรงค์เรื่องพยาธิใบไม้ ไข่พยาธิทำใหัต้องขับถ่ายให้มิดชิดและจัดการให้สะอาดมากขึ้นถูกสุขลักษณะ
จากนั้นไม่นานก็เริ่มมีส้วมซึม เพราะเขามีการสำรวจความจำเป็นพื้นฐานหรือจปฐ. ว่ามีโอ่งน้ำกิน มีส้วม กี่หลังคาเรือน สิ่งเหล่านี้คือดัชนีวัดความเจริญ ซึ่งสอดคล้องกับสโลแกนของนักพัฒนาชุมชนในช่วงนั้นว่า ปุ๋ย ปอ บ่อ ส้วม ประชุม สัมมนา เป็นวิธีการทำงานของกรมการพัฒนาชุมชนที่เป็นแบบแผน
ลักษะของส้วมซึมสมัยนั้นก็เป็นส้วมหินทรายหยาบวีแดงหม่น ไม่สวยงามเคลือบเงาเหมือนทุกวันนี้ เนื่องจากชาวบ้านที่นี่ยังคุ้นชินกับการถ่ายตามโคกตามป่า ส้วมในยุคแรกจึงตั้งอยู่ห่างจากบ้าน โดยใช้ไม้ไผ่สานขัดกันให้ถี่ๆไม่มีรูล้อมรอบส้วม เวลาจะถ่ายก็ต้องเอาถังน้ำเข้ามาด้วย เวลากลางคืนผมกลัวมาก เพราะบริเวณส้วมมืดมากต้องใช้ตะเกียงน้ำมันก๊าดที่ทำจากกระป๋องนมมีไส้ตะเกียงสีขาวถือไปด้วย กลิ่นของน้ำมันก๊าดพุ่งออกมาพร้อมควันพวยสีดำ และแสงสว่างจ้าของตะเกียงสะท้อนเงาของผมกับผนังไม้ไผ่ รวมถึงเงาของต้นไผ่บริเวณนั้นที่ปลิวสยายกิ่งก้านใบไปตามลม เสียงลั่นเอียดของไม้ไผ่เสียดสีช่างดูน่ากลัว แต่นี่คือวิถีชีวิตแบบชาวบ้าน ผมอดนึกถึงเรื่องเล่าของคนแก่ที่มักขู่เด็กและเล่าให้เด็กให้ฟังถึงดวงไฟที่ลอยบริเวณหนองแฝก หรือเรื่องผีเปรตที่วัดร้างเก่าของหมู่บ้าน ชวนให้ผมขนลุกชัน ไม่กล้าแม้จะเฉียดกลายเข้าไปในป่าแห่งนั้น สิ่งเหนือธรรมชาติจึงกลายเป็นตัวควบคุมพฤติกรรมของคนไปโดยปริยาย ไม่เหมือนสมัยนี้ที่ผีพากันแตกกระเจิง ผีกลัวคน คนน่ากลัวกว่าผี และคนกลัวคนด้วยกันมากกว่า
จนกระทั่งในปัจจุบัน การปลูกสร้างส้วมจึงทำใกล้กับบริเวณบ้าน โดยสร้างให้อยู่ในบ้านหรือใกล้ห้องครัว เพื่อความสะดวกสบายเวลายามค่ำคืน และมีความมั่นคงถาวรมากขึ้น ทั้งวัสดุที่ใช้ทำห้องส้วมและสุขภัณฑ์ที่ใช้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...