ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เริ่มจากห้องแถว(10)

หานกคุ่ม จับตักกะแตน
นกคุ่มเป็นนกที่ตัวไม่ใหญ่มากตัวป้อมกระปุกลุกเขนาดประมาณ2-3 ขนสีน้ำตาลบนแดง เป็นนกที่ชอบเดินวิ่งเวลากินแมลงและบินขึ้นฟ้าไม่สูงมากเพื่อไหลบตามพุ่มไม้ใบหญ้า นกคุ่มชอบทำรังอยู่บนพื้นดิน บางครั้งอยู่กันเป็นครอบครัวพ่อแม่ ลักษณะรังจะเป็นดินที่ถูกเกลี่ยให้เรียบเป็นวงกลมมีเศษหญ้าอยู่ล้อมรอบ และมีหญ้าส่วนหนึ่งเป็นที่นอน ผมและพ่อจะมาจับในช่วงกลางคืนในฤดูหนาวที่นกคุ่มจะมัน และอากาศแห้งชื้น เราจะมากันช่วงกลางคืนบริเวณป่าหญ้าที่คิดว่ามีนกคุ่มอยู่ บางครั้งเราอาศัยประสบการณ์ที่เราหาปลาหรือเดินเข้ามาที่คอกวัวแห่งนี้ในตอนกลางวัน จะเห็นนกคุ่มบินเมื่อเวลาเราเดินมาใกล้รังของมัน เราก็คาดคะเนได้ว่ามันจะกลับมาในช่วงกลางคืน
ผมและพ่อเตรียมตาข่ายที่ผูกติดกับไม้ขนาดยาว เวลาเดินหารังมันจะมีไฟฉายติดศีรษะเมื่อเจอมันก็จะใช้ไฟฉายส่องให้นิ่ง แล้วเอาตาข่ายตะครุบมันจับมันใส่ถุงตาข่ายหรือตาข้อง  บางคืนเราได้ยี่สิบถึงสามสิบตัว ก็จะนำมาถอนขน รนไฟเล็กน้อย และผ่าท้องเอาไส้และขี้ออก ล้างให้สะอาดและแช่ตู้เย็นไว้ เพื่อขายหรือกินในบ้าน นกคุ่มทอดกระเทียมหรือกระเพรานกคุ่มอร่อยมาก จริงๆส่วนของนกคุ่มที่กินได้อร่อยมีที่ขาและอกซึ่งเป็นส่วนที่ผมกับน้องๆแย่งกันกินประจำ พ่อผมแกชอบทำกับข้าวและมีกับข้าวอร่อยให้พวกผมเสมอ ทั้งให้พวกผมห่อไปโรงเรียนตอนเช้า ทำให้พวกผมมีเงินเหลือเก็บใส่กระปก แม้ว่าจะได้เงินไปโรงเรียนวันละ 5 บาท นานๆครั้งเราถึงจะซื้อคูปองอาหารกลางวันของโรงเรียน ซื้อก๋วยเตี๋ยว ข้าวผัดหรือนมถั่วเหลือกินก็ไม่แพงมาก ราคาอย่างละ 1 บาท ทำให้พวกเราสามารถเก็บสะสมเงินได้หลายหมื่น พวกผมเก็บจนกระทั่งถึงมหาวิทยาลัย
นกคุ่ม ครอบครัวทหารคนอื่นไม่ค่อยไปหา เพราะต้องไปช่วงดึกและลำบากในการเตรียมมันเพื่อทำอาหาร มักจะมาซื้อกับครอบครัวเราเป็นประจำ บางครั้งผมเคยทอดไปขายในวงไพ่บ้าง ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะนกคุ่ม มีทั้งตั๊กแตนที่พ่อแม่ของผมจะไปหาที่ป่าอ้อยในต่างอำเภอ บางครั้งได้มาเป็นกระสอบทั้งตั๊กแตนขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เราก็จะเด็ดปีกมันออก หักคอเพื่อดึงเอาขี้และไส้มันออกซึ่งจะมีกลิ่นและรสขมไม่นากิน จากนั้นก็นำไปล้างให้สะอาด และนำไปทอดในน้ำมันหรือคั่วแห้งธรรมดาก็ได้ เติมเกลือและน้ำปลาให้หอมอร่อยมาก ผมเคยเอาไปขายที่วงไพ่ได้หลายจานราคาจานละ 10-20 บาท ซึ่งสร้างรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่ง นี่แหละชีวิตทหารชั้นผู้น้อยที่มีเงินเดือนไม่กี่พันบาท

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...