ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เริ่มจากห้องแถว(19)

อพยพมาอยู่ค่าย ชีวิตในวัยเด็ก
เมื่อมาอยู่ในค่ายนี้ตอนเริ่มแรกพ่อแม่ผมไม่มีอะไรติดตัวมา แม้แต่ขวดนมลูก พ่อผมเล่าถึงความยากลำบากว่า ต้องเอากระป๋องนมข้นหวานต้มนมให้ผมกิน เดินทางด้วยรถไฟจากโคราชมาที่อุดรธานี มาถึงห้องแถวที่กำลังสร้าง ผมจำได้ว่าตอนเป็นเด็ก ช้อนส้อมเราก็มีน้อยมาก บางครั้งจะกินข้าวยังต้องใช้ส้อมแทนช้อน พ่อแม่ผมสู้มาด้วยกันผ่านอุปสรรคหลายอย่าง ทั้งการต้องแบกหน้าไปของเงินจากญาติพี่น้อง เพื่อเลี้ยงลูกเลี้ยงเมีย พยายามหาอยู่หากินโดยไม่เหน็ดเหนื่อยแม้ว่าจะต้องทำงานประจำที่หนักอยู่แล้วทุกวันแต่เวลาเย็นและเสาร์อาทิตย์พ่อผมมักจะไปหากินในบริเวณค่าย ไมว่าจะวิดปลา ขุดหนู ขุดปลาไหล หาเห็ดปลวก มาเลี้ยงลูกเมียเสมอ  ดังนั้นแกจึงค่อนข้างเข้มงวดกับผมและน้องเรื่องของการเรียน ผมเรียนไม่เก่งมากตอนประถมศึกษา เพราะผมไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ เหมือนมันไม่เข้าหัว ผมรู้ว่าผมชอบวาดรูปและชอบเขียนอะไรบนกำแพงบ้าน พ่อผมมักจะให้ผมและน้องท่องสูตรคูณ ซึ่งผมมักจะท่องไม่ได้และถูกตีเป็นประจำ ท่านสอนการบ้านผมเองประจำ เพราะท่านเรียนเก่งสอบได้ที่หนึ่งตลอด ท่านเรียนที่โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล ท่านพูดเสมอว่าท่านรั้วแดงกำแพงเหลือง และเรียนรุ่นเดียวกันกับอนุสรณ์ เตชะปัญญา นักแสดงชื่อดังในอดีต ท่านเลือกสอบเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก เหล่าสรรพาวุธ และต่อสู้ชีวิตมาอย่างลำบากตั้งแต่เด็ก เพราะพ่อแม่ของท่านก็แยกกันอยู่ แม่ตายตั้งแต่ท่านยังเด็ก ท่านบอกว่า แม่ของท่านเป็นคนสวย พี่ของแม่ก็คือย่าเพ็งซึ่งเป็นญาติชาวบ้านเขว้าชัยภูมิที่ท่านเคารพ อีกคนก็ย่าแป้ซึ่งจากพวกเราไปนานแล้ว
มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ปู่มาอยู่กับเรา ปู่เล่านิทานเรื่องดวงดาวให้ผมและน้องฟังเสมอโดยเฉพาะเรื่องดาวลูกไก่ ดาวไถ รวมทั้งพาผมและน้องไปซื้อของที่ตลาดนัด ไม่ว่าจะเป็นขนม สติ๊กเกอร์การ์ตูนดังๆในสมัยนั้นและหน้ากากฮีโร่ ผมและน้องรักปู่มาก เพราะว่าเราไม่ได้เคยได้เห็นหน้าย่า หรือแม้แต่ตาและยาย เพราะท่านจากเราไปตั้งแต่เรายังไม่เกิด วันที่ปู่จะจากพวกเราไปทำงานที่กรุงเทพฯเป็นวันที่เราเศร้ามาก เพราะท่านแก่แล้วอยากให้ท่านอยู่แต่ท่านก็ไม่ยอมอยู่ จำได้ว่าครั้งสุดท้ายพ่อกับแม่ไปเยี่ยมท่านที่กรุงเทพฯ พร้อมกับรับท่านกลับมาอยู่ที่บ้าน เนื่องจากท่านเป็นมะเร็งในถุงน้ำดี ปู่อยู่กับพวกเราได้หลายเดือนและแกก็จากไปอย่างไม่มีวันกลับ ผมจำได้ว่าวันที่แกจะจากไป เราถ่ายรูปหมู่ด้วยกันทั้งครอบครัวเหมือนเป็นลางบอกอะไรว่าแกกำลังจะจากพวกเราไป วันถัดมาท่านขับถ่ายโดยไม่รู้สึกตัว พ่อกับแม่ของผมยังไม่กลับมาจากธุระผมจึงต้องเอาโสร่งไปซักและหาโสร่งใหม่ไปใส่ให้แก คืนนั้นปู่ร้องครางด้วยความเจ็บปวดทั้งคืน และเพ้อถึงย่าที่จากไป แกดื่มแบรนด์และตอนเช้าแกก็จากไปอย่างสงบ นั่นเป็นความสูญเสียครั้งแรกในวัยเด็กของผม ผมเสียใจจนกลั้นน้ำตาไม่อยู่ ผมจำได้ว่ารถทหารกำลังจะไปส่งที่โรงเรียนก็มีคนมาบอกว่าปู่ตายแล้ว ผมรีบกลับมาบ้าน และเห็นลุงม้วนมาตรวจร่างกายแก ตัวแกเริ่มแข็งและปากเริ่มเขียว จากนั้นเราก็เอาเสื้อผ้าที่แกชอบมาใส่ให้แกแบบกลับด้าน แล้วเอารองเท้าวางไว้ที่ปลายเท้า เอาผ้าคลุมแล้วพวกเราก็ขอขมาศพ รดน้ำศพ พระสวดประมาณ 2-3 วันจึงเอาศพไปฌาปนกิจที่วัดป่าศรัทธาธรรม ผมและน้องบวชจูงให้กับปู่เพื่อส่งทางแกไปสู่สรวงสวรรค์ พ่อผมบอกว่าตอนนี้ท่านไม่เหลือพ่อแม่แล้ว ก็มีญาติที่รู้จักไม่กี่คน ผมจำได้ว่าทุกครั้งที่ผมใส่บาตรไปให้ปู่ก็จะทำหมกกบที่ท่านชอบทำบุญส่งไปให้ท่าน
พ่อของผมท่านไม่ค่อยเล่าเรื่องชีวิตของท่านในวัยเด็กเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ก็จะเล่าเรื่องการเล่นในวัยเด็ก และการดูแลลูกของพี่สาวแม่ของท่านคือย่าเพ็งและตาทอง ตอนที่อยู่แฟลตดอนเมืองของตำรวจตระเวนชายแดน ว่าท่านได้ไปหาปลาแถวคลองและทุ่งนาที่ดอนเมือง แต่ส่วนใหญ่ญาติมักจะพูดว่าท่านเรียนเก่ง มีคู่หมั้นคู่หมายเป็นพยาบาลแต่ไม่ได้แต่งกัน รวมถึงเรื่องความเจ้าชู้ของท่าน แต่ท่านก็เลือกที่จะอยู่กับแม่ปิ๊กซึ่งเป็นสาวชาวบ้านจบแค่ชั้นป.4 แม้ว่าญาติบางคนจะไม่ค่อยพอใจในเรื่องความแตกต่างด้านฐานะและการศึกษาแต่ท่านก็ยืนยันในรักแท้นี้เสมอมาจนปัจจุบัน
แม้ว่าผมจะเรียนไม่เก่งมากเท่ากับน้องผมที่สามารถเรียนต่อโครงการช้างเผือกที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ แต่ด้วยความขยันบวกกับเรื่องดวงผมมักจะมีเข้ามาตลอด เช่นในช่วงหนึ่งผมจบชั้นป.6 ปรากฏว่าได้ทุนประพฤติดีเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนอุดรพิทยานุกูลอย่างไม่คาดฝัน ซึ่งโรงเรียนอุดรพิทยานุกูลเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดอุดรธานี ผมเรียนที่นี่ตั้งแต่ม.ต้นจนถึงม.ปลายและสามารถสอบเข้าเรียนต่อระดับปริญญาตรีแบบโควต้าตรงที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน จนกระทั่งได้เกียรตินิยมอันดับ1 ทำให้ผมรู้สึกภาคภูมิใจว่าครั้งหนึ่งได้ความหวังและความฝันของพ่อกับแม่ให้เป็นจริง แม้ว่าเราจะเป็นลูกทหารชั้นประทวนแต่เราก็มีความสามารถจากความขยันและความมุมานะของพวกเรา ผมเอาแบบอย่างความมุมานะและความซื่อสัตย์ของพ่อเป็นแบบอย่างในการทำงานเสมอ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...