ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เริ่มจากห้องแถว(24)


บ้านหลังแรกในชีวิตของพ่อที่มาจากน้ำพักน้ำแรง
หลังจากเราอยู่บ้านเช่าซึ่งเป็นบ้านไม้สองชั้น ด้านล่างะมีบานประตูเหล็กพับสำหรับปิด ด้านบนจะเป็นห้องนอนของผมและน้องจะมีกระเป๋าเดินทางใบใหญ่ตั้งอยู่มุมห้องดูน่ากลัว บ้านเช่าหลังนี้ตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับหน้าโรงเรียนโนนสูงพิทยาคารไม่นาน ในช่วงที่พ่อต้องไปทำงานที่โคราช พ่อมักจะนั่งรถไฟไป ผมมักจะไปส่งพ่อโดยขับจักรยานไปส่งพ่อที่สถานีรถไฟบ้านหนองตะไกร้ในวันอาทิตย์ ละรู้ว่าพ่อจะกลับมาในช่วงเย็นของวันศุกร์ พ่อเดินทางเองเป็นประจำ แม้ว่าจะมืดโดยไม่กลัวเหน็ดเหนื่อย
ผมกับน้องมักจะไปเล่นที่ทางรถไฟเป็นประจำ รอดูรถไฟแล่นมา นั่นเป็นเพราะส่วนหนึ่งเราคิดถึงพ่ออยากให้พ่อมาอยู่กับพวกเราทำงานที่นี่จะได้ไม่ลำบาก บางครั้งเราก็ไปหากินแถวทุ่งนาใกล้ทางรถไฟ ไปช้อนลูกหวก แมงกระชอนต่างๆมาทำเป็นอาหาร
ผมจำได้ว่าครั้งหนึ่งตอนม.ต้น ผมติดศูนย์วิชาคณิตศาสตร์ ผมเดินจากโรงเรียนมาที่คิวรถซึ่งอยู่ห่างหลายกิโล เดินช้าๆน้ำตาลก็ไหลออกมาตลอดเวลา ผมอยากให้เวลามันช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะวันนั้นเป็นวันศุกร์วันที่พ่อจะกลับมา ผมจะบอกกับพ่ออย่างไรดี ผมไม่อยากให้พ่อผิดหวังในตัวผม นั่นเป็นจุดหักเหที่สำคัญที่ทำให้ผมต้องเรียนสายศิลป์ ในช่วงม.ปลาย ผมมาถึงบ้านเก็บตัวเงียบจนพ่อแม่สงสัยไม่ยอมกินข้าว สุดท้ายผมจำได้ว่าผมถือสมุดพกเล่มเหลืองให้พ่อแม่ดู  ท่านไม่พูดอะไรแต่ผมรู้ว่าลึกๆท่านเสียใจและโกรธอยู่บ้าง แต่ท่านไม่ซ้ำเติมลูก ท่านให้กำลังใจให้ตั้งใจเรียนให้มากขึ้น ผมจึงตั้งใจว่าต่อไปผมจะทำทุกอย่างให้ท่านภูมิใจให้ได้
เหตุการณ์ในครั้งนั้นผ่านไป พร้อมกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นมากมาย ทั้งเสียงลึกลับที่จะเปิดประตูเข้ามาในบ้าน หัวขโมยที่มาขโมยของในเล้าไก่ ทำให้พ่อตัดสินใจที่จะสร้างบ้านอยู่เองเพื่อความปลอดภัยของลูกเอง รวมทั้งข่าวดีว่าพ่อจะกลับมาประจำที่อุดรธานีในหน่วยข่าว 224 ในไม่ช้า  
พ่อมีที่ดินที่ซื้อไว้ด้วยราคาไม่กี่หมื่นบาท ขนาดสามงานกว่าๆ พื้นที่บริเวณนี้พ่อซื้อไว้อย่างนั้นเองเพราะราคามันถูก และไม่คิดด้วยซ้ำว่าจะมาตั้งบ้านอยู่ เพราะเมื่อก่อนเป็นทุ่งนา มีกอไผ่ มีโรงสีขนาดเล็กอยู่ใกล้ๆคือโรงสีเทียมศักดิ์ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นโรงสีที่ใหญ่มาก พื้นที่บริเวณนี้อยู่ไม่ไกลจากที่เราเช่าบ้านอยู่มากนัก สามารถขนย้ายสิ่งของได้เองและง่าย
พื้นที่บริเวณนี้เราเคยมาช่วยกันถาก ล้อมรั้วเมื่อนานมาแล้ว ในช่วงที่ซื้อหรือจับจองที่ดินใหม่ๆ แม้ว่าราคาจะไร่ละไม่เกินหมื่นบาทแต่คนก็มาจับจองหรือซื้อกันน้อยเพราะอยู่ไกลและโดดเดี่ยวมีแต่ทุ่งนา  เมื่อตัดสินใจย้ายพ่อก็ให้รถดินมาถมที่ให้สูง ก็เริ่มสร้างเพิงเล็กๆเพื่อเอาของมาเก็บไว้และหลับนอนชั่วคราว บ้านหลังนี้ใช้เวลาปลูกไม่นาน พ่อเป็นคนออกแบบแปลนเองซึ่งท่านร่างด้วยดินสอและเขียนขนาดความยาวความสูงไว้เสร็จสรรพ เป็นบ้านชั้นเดียวก่อด้วยอิฐบล็อก และมีหน้าจั่วทรงสเปนอย่างที่ลูกๆอยากได้ หลังคามุงกระเบื้องสีขาว และทาสีบ้านด้วยสีฟ้าอ่อน ซึ่งเราช่วยกันทา จากนั้นก็ต่อเติมทำรั้ว ปูพื้นกระเบื้องเรื่อยมา จนเป็นบ้านหลังปัจจุบัน ที่พ่อแม่ภูมิใจมากกับบ้านหลังแรกของพวกเราในชีวิต บรรยากาศก็ดีมีต้นยูคาล้อมรอบ มีทุ่งนาพ่อเขียนป้ายชื่อบ้านจากกระดานสีเขียวเล็กๆว่า บ้านนนท์ธนัฐ ซึ่งท่านต้องการบอกว่าสิ่งนี้ท่านทำให้ลูก ปัจจุบันป้ายนี้ท่านเอาออกแล้ว เพราะท่านทำรั้วเหล็กดัดที่มีสัญลักษ์ลูกระเบิดของกรมสรรพาวุธทหารบกแทน
พ่อผมมักจะเข้าป่าและเอาพันธุ์ไม้ในป่ามาปลูกในพื้นที่บ้านเป็นประจำเช่น ผักเม็ก ผักกระโดนป่า ผักติ้วป่า หรือแม้แต่ผักหวาน ซึ่งทำให้บ้านของท่านร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้ดอก ไม้ประดับต่างๆ เพราะท่านชอบธรรมชาติ พ่อพยายามทำหลายอย่าง เพื่อลูก เช่นซื้อรถเก่าราคาไม่กี่หมื่นอย่างกะบะยี่ห้อดัสสัน สีน้ำตาลหม่นไม่มีฝาปิดถังน้ำมัน ต้องใช้พลาสติกปิดแล้วเอายางรัด ท่านฝึกหัดขับบริเวณถนนทุ่งนาจนขับได้ และท่านไม่เคยขับออกถนนใหญ่ ท่านมักจะขับไปป่า ทุ่งนา ไปเอาแกลบ ไปหาเห็ด หาปลา จนกระทั่งท่านตัดสินใจขายในช่วงที่ลูกเรียนมหาวิทยาลัย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...