ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เริ่มจากห้องแถว(21)


งานวันเด็ก
ผมเปิดทีวี เพื่อดูคำขวัญวันเด็ก ผมคาดคะเนว่าปีนี้จะต้องมีการถามเพื่อชิงรางวัลในวันเด็กแน่ๆ เพราะปีที่แล้วผมชนะเลิศได้รางวัลในการตอบคำถาม ปีนี้ผมต้องเตรียมตัวให้ดี
ค่ายทหารกับครอบครัวทหารมีความผูกพันกันอย่างมาก ทุกปีจะมีการทำบุญตักบาตร มีการแจกทุนการศึกษาให้กับลูกของทหารซึ่งผมและน้องชายมักจะได้เป็นประจำ การจัดกิจกรรมวันปีใหม่ หรือวันเด็กที่เป็นวันที่เด็กๆในค่ายรอคอย  เพราะจะมีการจับฉลากเพื่อชิงรางวัลตั้งแต่ทอง เงิน จนถึงของเล่นชนิดต่างๆ
ศาลาประกายเพชรรุ่งโรจน์จะเป็นสถานที่จัดกิจกรรมวันเด็กเสมอ ตอนเช้าจะมีการนำของเล่นออกมาวางบนโต๊ะ ของเล่นทั้งตุ๊กตา รถยนต์ ปืนเด็กเล่น ฟุตบอล ขนม ผมและน้องๆจะรอการเรียกชื่อเพื่ออออกมาจับสลากจนอายุเข้ามัธยมปลายเกิน 15 ปีมีบัตรก็จะไม่ได้จับสลาก ผมกับน้องมักจะไปร่วมงานประจำ ผมชอบที่จะเล่มเกมส์ต่างๆเพื่อเอารางวัล แข่งกินวิบากเหยียบลูกโป่ง ตอบคำถาม เก้าอี้ดนตรี จนกระทั่งร้องเพลงผมขึ้นไปร้องเพลงประจำ เช่นเต่าตัวลาย เพลงคีรีบูน หรือชมพู ฟรุ๊ตตี้ เพื่อเอารางวัล ตอนบ่ายก็จะมีรถทหารพาเด็กๆไปเที่ยวตามที่ต่างๆที่เขาจัดงาน เช่นกองบินยี่สิบสาม หรือที่ท่าเสด็จ จังหวัดหนองคาย ทุกครั้งค่ายจะจัดไปเที่ยวงานทุ่งศรีเมืองที่เป็นงานประจำจังหวัดในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปีด้วย ผมและน้องชอบไปกระโดดหัว ซึ่งจะได้เหรียญและใบประกาศ รวมถึงไปเล่นม้าหมุน รถบั๊ม ยิงปืนให้ตุ๊กตาในกระจกสี่เหลี่ยมเต้น มีครั้งหนึ่งน้องผมเล่นมอตอไซค์จนตกไปหลังเวที พ่อแม่ผมตกใจมาก โชคดีที่ไม่เป็นอะไรมาก เวลาเรากลับเรามักจะซื้อหน้ากากยางผีมาใส่ หรือพวกมีด ขวาน ที่ทำจากไม้ จำได้ว่าช่วงนั้นละครจักรๆวงศ์ๆอย่างขวานฟ้าหน้าดำและสี่ยอดกุมารดังมากเราก็เอามาเล่นกัน บางครั้งเราก็ซื้อเครื่องบินโฟมเล็กๆมาเล่นกัน
ในช่วงหลังพวกผมเริ่มสนใจดูหนังในตัวเมือง ก็จะขอพ่อแม่เข้าไปในเมืองเพื่อดูหนังใหม่ๆ ซึ่งในช่วงวันเด็กจะมีการให้เด็กที่สูงน้อยกว่า 150 เซนติเมตรดูฟรี  หรือเสียค่าบัตรแค่ 10 บาท พวกผมจึงมักจะไปดูหนังในเมืองมากกว่าช่วงวันเด็ก มักไม่ได้ไปกับรถทหารเหมือนเมื่อก่อน และทั้งวันเราก็จะวนดูหนังกันจนถึงเย็นจึงกลับบ้าน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...