ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เรียนมหาวิทยาลัย(10)


พวกเราจะจะมีกิจกรรมร่วมกันตอนเช้าที่ศาลากลางหมู่บ้าน หลังจากแยกไปพักผ่อนตามบ้านของชาวบ้าน โดยจะมีอาหารให้เราเป็นถุง ประกอบด้วยกะหล่ำปลี ปลากระป๋อง วุ้นเส้น หอม กระทียม ไข่ ส่วนเครื่องปรุงซื้อเองตามร้านค้า อาหารนี้จะอยู่ได้ประมาณ3 วันจึงจะได้รับแจกอีกครั้ง เราไปออกค่ายกันประมาณ 7-9 วัน ในกระบวนการค่ายนอกจากการทำหน้าที่ในโครงงานต่างๆ ยังให้พวกเรามีการเขียนเฟรนด์ชิ๊ปให้กัน ทั้งให้กำลังใจ แซวกันหรือท้วงติงในพฤติกรรมของกันและกัน วันสุดท้ายเราจะมีการให้เราหยุดพักเรียนรู้ชีวิตกับชาวบ้าน เข้าป่า เที่ยวธรรมชาติ ตอนกลางคืนก็จะเป็นช่วงเปิดใจกัน ว่าใครเป็นยังไงในค่ายนี้ พูดกันตรงๆไม่มีโกรธกัน อะไรที่ดีไม่ดีเราก็บอกกันตามแบบพี่กับน้อง
ค่ายที่สองคือค่ายที่บ้านฟ้าประทาน บ้านสังคม อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย เมื่อเราเดินทางไปที่อำเภอสังคมตามถนนมิตรภาพ เข้าไปที่แยกอำเภอท่าบ่อ ศรีเชียงใหม่ เพื่อเข้าไปสู่อำเภอสังคม ที่จริงเรามีการสำรวจพื้นที่กันมาก่อน โดยวิธีการโบกรถไปเป็นสาย ผมจำได้ว่าผมไปสำรวจที่แรกที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดสกลนคร ที่อำเภอกุดบาก ซึ่งเป็นหมู่บ้านกันดาร สุดท้ายเมื่อนำเสนอเข้าที่ประชุมก็ต้องตัดออกเนื่องจากไม่มีส้วม ส่วนทีมหนึ่งเสนอที่หนองคาย และได้ที่นี่เป็นพื้นที่ออกค่าย ผมและเพื่อนๆในคณะกรรมการชนพ.จึงต้องไปสำรวจอีกครั้งหนึ่ง พวกเราโบกรถไปเรื่อย จนใกล้ถึงหมู่บ้าน เราก็แวะซื้อกล้วย หน่อไม้ป่าและอาหารที่บริเวณน้ำตก เข้าไปกินในหมู่บ้าน วันนั้นโชคดีมีรถกระบะเข้าไปส่งเราที่หมู่บ้าน เนื่องจากเราบอกว่าเราเป็นนักศึกษาเข้ามาสำรวจหมู่บานเพื่อออกค่ายพัฒนา เขาจึงอาสามาส่ง ระหว่างทางเราเห็นแม่น้ำโขง และการปลูกกล้วยน้ำหว้าที่มีมากเหลือเกิน ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของบ้านสังคม เรามาถึงหมู่บ้านคุยกับชาวบ้านและนอนพักกันที่วัด
ค่ายที่บ้านสังคม โครงงานต่างๆยังคงได้งบประมาณเหมือนเดิม แต่โครงงานพัฒนาได้น้อยลงเนื่องจากต้องเน้นที่ค่ายความคิดมากกว่าค่ายสร้าง แต่ก็ยังมีงบพอให้พัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผมมีโอกาสได้เป็นหัวหน้าโครงงานศึกษา ซื้ออุปกรณ์การสอน แผนที่ สี ดินสอ สมุด ขอรับบริจาคหนังสือจากเพื่อนๆในหอต่างๆ และหาซื้อวัสดุจำพวกกระดาษสี กระดาษชาร์ต ลวดและกาว สำหรับทำโมบายแขวน ตอนเราไปถึงชาวบ้านเด็กๆมารอต้อนรับที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีดอกไม้สวยๆมามอบให้เราชาวนักศึกษาทุกคนที่ลงจากรถ จากนั้นเราก็มาจัดการแบ่งบ้านที่จะกระจายกันอยู่บ้านละ 3-4 คน เพื่อจะได้แจกถุงของกินให้ไปยังชีพในช่วงที่อยู่กับชาวบ้าน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...