ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประวัติเมืองอุดรธานี (ตอน2)


ปัจจุบันอุดรธานี มีเนื้อที่ประมาณ11,730.31 ตารางกิโลเมตร 7,331,438.75 ไร่ โดยมีพื้นที่ทางการเกษตรถึง 5,302,709 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 54.34% มีจำนวนประชากร ประมาณ 1,539,348คน ชาย 772,845 คน หญิง 766,503 คน  (ข้อมูลสำนักงานจังหวัดอุดรธานี ,2547) จังหวัดอุดรธานีมีพื้นที่มากเป็นอันดับสี่ของภาคอีสาน จังหวัดอุดรธานีแบ่งการปกครองเป็น 18 อำเภอ และ2 กิ่งอำเภอ มี156 ตำบล 1,792 หมู่บ้าน 50 ชุมชน มีองค์การบริหารส่วนตำบล 151 แห่ง เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลตำบล 29 แห่ง พื้นที่จังหวัดอุดรธานีอยู่ในเขตลุ่มน้ำใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ
1)ลุ่มน้ำชี  บริเวณต้นน้ำพองและต้นน้ำชี ในพื้นที่เขต อำเภอกุมภวาปี อำเภอหนองแสง อำเภอโนนสะอาด อำเภอศรีธาตุ และอำเภอวังสามหมอ บริเวณนี้จะมีลำห้วยสาขาของลำน้ำปาวซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากหนองหานน้อย และลำน้ำพอง สำน้ำสาขาที่สำคัญ คือห้วยสามพาด ห้วยน้ำฆ้อง ห้วยไพจาน ลำพันชาด และลำปาว
2)ลุ่มน้ำโขง ในเขตพื้นทีอำเภอเมือง อำเภอหนองวัวซอ อำเภอกุดจับ อำเภอน้ำโสม อำเภอบ้านผือ กิ่งอำเภอนายูง อำเภอเพ็ญ อำเภอสร้างคอม อำเภอบ้านดุง อำเภอหนองหาน กิ่งอำเภอพิบูลย์รักษ์ อำเภอไชยวาน และอำเภอทุ่งฝน ซึ่งบริเวณนี้มีลำห้วยที่สำคัญคือห้วยหลวง ห้วยน้ำโสม ห้วยน้ำสวยและแม่น้ำสงคราม ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้น สลับที่นา สลับที่ราบลุ่มบางส่วนเป็นเนินเตี้ย บางแห่งมีเทือกเขาสูงสลับ มีลำน้ำสำคัญหลายสาย ที่ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรเนื่องจากมีแม่น้ำหลายไหลผ่าน บางแห่งถูกพัฒนาภายใต้ระบบชลประทาน โครงการสำคัญเช่นโครงการโขง ชีมูล ฝายและเขื่อนที่สำคัญในจังหวัดอุดรธานีคือ ฝายกุมภวาปีและเขื่อนห้วยหลวง มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงมีดังนี้คือ
ทิศเหนือ  จดเขตอำเภอท่าบ่อ อำเภอเมืองหนองคาย อำเภอโพนพิสัย ของจังหวัดหนองคาย มีลำห้วยทวน ลำห้วยสวย ลำห้วยหลวง และลำห้วยเจียมกั้นเป็นเขต
ทิศตะวันออก จดเขตอำเภอวานรนิวาส อำเภอสว่างแดนดิน และอำเภอวาริชภูมิของจังหวัดสกลนคร มีลำน้ำสงคราม ห้วยพันชาติ ภูเขาเหล็กกั้นเป็นเขต
ทิศใต้ จดเขตอำเภอน้ำพอง อำเภอเวียงของจังหวัดขอนแก่น มีลำน้ำพองกั้นเป็นเขต และจดเขตอำเภอสหัสขันธ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ มีลำปาวกั้นเป็นเขต
ทิศตะวันตก จดเขตอำเภอเชียงคาน อำเภอวังสะพุง ของจังหวัดเลย มีภูเขาฟ้า ภูเขาหลวงและหนองไผ่กั้นเป็นเขต และจังหวัดหนองบัวลำภู
แผนที่อาณาเขตติดต่อของจังหวัด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...