ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

อิทธิพลของดาร์วิน กับวิชาการ



อ้างจาก An Introduction to Renewed Darwinian Theory of Human Behavior ของ Paul R. Lawrence


อิทธิพลของแนวความคิดแบบ วิวัฒนาการนิยม (Evolutionism) ที่เป็นผลผลิตทางความคิดของชาร์ล ดาร์วิน (Darwin Charle Robert ,1809-1882) นักชีววิทยาและนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้ซึ่งสร้างแนวคิดเรื่องของวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ภายใต้กฏของการเลือกสรรโดยธรรมชาติ
          แรกเริ่ม ดาร์วิน เรียนแพทย์ แต่ด้วยความไม่ชอบทำให้เขาเรียนได้ไม่ดีนัก พ่อของเขาเลยส่งเข้าโรงเรียนเตรียมนักบวช (บาทหลวง) แต่ด้วยความที่เขาสนใจเดินทางท่องเที่ยว สำรวจและศึกษาธรรมชาติ จนได้มีโอกาสเดินเรือไปกับทหารเรืออังกฤษ ในช่วงปีค.ศ.1931 ในแถบชยฝั่งหมู่เกาะทะเลของอเมริกาใต้ และเกาะกาลาปากอส ทำให้เขาสามารถศึกษาและรวบรวมข้อมูลทางชีววิทยา และเขียนหนังสือในปี 1859 ชื่อเรื่อง On of Species by means of Natural Selection หนังสือเล่มนี้อธิบายถึงสิ่งที่เรียกว่า วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต จากง่ายสู่ซับซ้อน จากสัตว์เซลล์เดียวไปเป็นสัตว์หลายเซลล์ และได้อธิบายกฏแห่งการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ที่มองว่า ผู้แข็งแรงสมบูรณ์ที่สุดเท่านั้นจึงจะอยู่รอด (Survival is Fittest) ซึ่งกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่แข็งรงจะสามารถปรับตัวและดำรงอยู่รอดได้ ในขณะที่กลุ่มอ่อนแอก็จะค่อยๆสูญพันธุ์ไป
          งานของดาร์วิน ถือได้ว่าเป็นงานที่ทันสมัยในช่วงเวลานั้น ซ้ำยังเป็นงานที่กล้าหาญนำเสนอข้อมูลที่ท้าทายความเชื่อของคริสต์จักรอันแข็งแกร่ง ที่เชื่อว่าพระเจ้าสร้างมนุษย์ ซึ่งการเผยแพร่งานของเขา ทำให้มีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดของเขา จนกระทั่งปีค.ศ. 1871 เข้าได้พิมพ์หนังสืออีกเล่มหนึ่งเพื่อตอกย้ำความเชื่อของเขาเกี่ยวกับความซับซ้อนภายในสิ่งมีชีวิตหาใช่พระเจ้าไม่ ในงาน Descent of Man ทำให้งานของเขาได้รับการสานต่อ และวิพากษ์วิจารณ์ในแวดวงวิชาการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการหันมาทำความเข้าใจสังคมและตัวมนุษย์มากขึ้น กว่าการหลงไปศึกษากับสิ่งที่เรียกว่าเทววิทยา ที่เป็นวิชาที่ได้รับความนิยมมากในสมัยนั้น
          โดยเฉพาะนักสังคมวิทยา ที่ได้นำเอาวิธีการศึกษาแบบดาร์วินเนียน มาศึกษาและอธิบายสังคมของมนุษย์ย์ อย่างอีมิลล์ เดอไคม์ ,ออกุส ก๊อมต์ หรือแม๊กเวเบอร์ รวมถึงนักมานายวิทยา อย่างโบแอส ,มาลีนอฟสกี้ รวมไปถึงนักจิตวิทยา นักรัฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ และนักโบราณคดี ซึ่งแสดงให้เห็นคุณูปการสำคัญของวิธีคิดแบบวิวัฒนาการในแวดวงวิชาการปัจจุบัน
 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...