ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พิธีกรรม สัญลักษณ์ และ Victor Turner โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล



 พิธีกรรมวิเคราะห์แบบ Victor turner ที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจาก Arnold Van Gennep ที่มองภาวะภายในของจักรวาลที่ถูกจัดการให้มีลักษณะของการเปลี่ยนผ่านหมุนเวียนของช่วงเวลา (Periodicity) ที่จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ จะทำอะไร จะปลูกอะไร ชีวิตของมนุษย์ก็เหมือนกับภาวะของธรรมชาติ ทั้งตัวปัจเจกชนและกลุ่มสังคมล้วนแล้วแต่เชื่อมโยงสัมพันธ์ไม่มีส่วนใดที่สามารถแยกขาดได้อย่างอิสระ โดยพิธีกรรมดังกล่าวจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ

1.rite of separation หรือขั้นของการแยกตัว ถือว่าเป็นส่วนของพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแยกตัวเองจากสถานภาพเดิม ผ่านพิธีกรรมที่ทำให้บริสุทธิ์ (purification rites) เช่น การโกนผม การกรีดบนเนื้อตัวร่างกาย รวมถึงการตัด การสร้างรอยแผลเป็น การขลิบ (scarification or cutting) ที่เกิดขึ้นกับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง

2.rite of transition เป็นส่วนของพิธีกรรมที่ว่าด้วยการเปลี่ยนสภาพ โดยบุคคลที่ร่วมในพิธีกรรมจะมีการสร้างสัญลักษณ์ที่เกี่ยวโยงกับสถานที่ และจัดว่าเป็นชายขอบ วงนอกของสังคม (outside society) และมักมีข้อห้าม(taboo) หรือข้อจำกัดในช่วงเวลาแห่งพิธีกรรมนี้ ทำให้ภาวะกฏเกณฑ์ที่ควบคุมหรือสร้างความเป็นปกติของชุมชนอาจต้องหยุดระงับชั่วคราว ละเว้น หรือคลายข้อกำหนดที่เข้มงวด หรือพิธีกรรมดังกล่าวอาจจะสะท้อนสัญลักษณ์แห่งการตายเพื่อการเกิดใหม่ 

3.rite of incorporation เป็นส่วนของพิธีกรรมที่เปลี่ยนผ่านอย่างสมบูรณ์เพื่อเข้าไปสู่สถานภาพใหม่ โดยการยกเลิกข้อห้าม การได้รับสถานภาพใหม่ ยศใหม่ เครื่องหมายใหม่ รวมทั้งการจัดงานรื่นเริง รับประทานอาหารร่วมกัน 

Arnold Van Gennep อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงชีวิตของปัจเจกบุคคลในช่วงต่างๆ ที่นำไปสู่การเกิดพิธีกรรมที่เรียกว่าrite of passage หรือพิธีกรรมของการเปลี่ยนผ่าน

ในมุมมองของ victor turner พิธีกรรมเป็นการกระทำในเขิงสัญลักษณ์ เป็นพฤติกรรมที่ถูกกำหนดในโอกาสที่เฉพาะไม่ใช่สิ่งที่ทำเป็นปกติในขีวิตประจำวัน  โดยเชื่อมโยงกับความเชื่อในสิ่งที่เหนือธรรมชาติ และศาสนา ซึ่งระบบสัญลักษณ์เป็นหน่วยที่กักเก็บและบรรจุตวสใหมายมากมาย สัญลักษณ์เป็นได้ทั้งสิ่งของ กิจกรรม คำพูด ความสัมพันธ์เหตุการณ์ ลักษณะท่าทาง การแสดงออก เป็นต้น 

Turner แบ่งสัญลักษณ์ทางพิธีกรรมออกเป็น 2 แบบคือ  1.Dominant Symbol ที่มีลักษณะcondensation คือความหมายหลายนัยยะ (polysemy) มีความหมายก้ำกึ่งคลุมเครือ (multivocality) เนื่องจากสัญลักษณ์หยึ่งสามารถทดแทนสิ่งต่างๆและการกระทำที่แตกต่างกัน

มีลักษณะที่ทำให้ความหมายที่ไม่สัมพันธ์กัน รวมกันเป็นเอกภาพ (Unification of disparate signification) ที่เกิดจากการเชื่อมโยงความหมาย ที่ซ่อนเร้นหรือแฝงอยู่ในระบบสัญลักษณ์ กับคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่เป็นจริงหรือความคิดที่สังคมกำหนดไว้แล้ว

มีลักษณะของขั้วความหมาย(Polarization of meaning) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2ขั้วคือ

1.1 ขั้วของความรู้สึก (ideological pole) ที่หมายความถึงกลุ่มของความหมายที่อ้างถึงส่วนประกอบของคุณธรรมและระเบียบของสังคม

คือสัญลักษณ์ทำหน้าที่เป็นสื่อและช่องทางของการให้ความหมายและอารมณ์ คือมันเป็นภาวะแบบสองขั้วของสัญลักษณ์ในเชิงของอุดมคติหรือสื่อให้เห็นความหมายของสังคม ในด้านหนึ่งสัญลักษณ์ก็เชื่อมโยงกับอารมณ์ความรู้สึก อาจกล่าวได้ว่า ขั้วอุดมคติที่เทอเนอร์กล่าวถึงคือ “ importance of group norms and values, such as matriliny” หมายความว่ากลุ่มบรรทัดฐาน และค่านิยม เช่นในสังคม Ndembu ที่ยึดถือการสืบเชื้อสายฝ่ายแม่

1.2 ขั้วของความรู้สึก (sensory pole) ถือเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อออกมาโดยตรง ความหมายจะมีลักษณะเป็นไปโดยธรรมชาติ หรือเป็นปรากฏการณ์ทางกายภาพ รวมถึงเป็นกระบวนการปลุกเร้าความต้องการและความรู้สึก อาจกล่าวได้ว่าขั้วของความรู้สึก เทอเนอร์บอกว่า “..and a sensory pole, focused on emotional reactions to the body and bodily functions and fluids, such as milk”. 

คือ การเน้นย้ำบนการมีปฎิกริยาด้านอารมณ์ที่เชื่อมโยงไปยังร่างกายและหน้าที่และความลื่นไหลของความเป็นแม่ ในเรื่องของความรู้สึกของความเป็นแม่และการให้น้ำนมของแม่เป็นต้น

ในส่วนของ Instrument Symbol คือสัญลักษณ์ที่ใช้เป็นเสมือนวิธีการหรือเครื่องมือที่นำไปสู่เป้าหมายที่เฉพาะในแต่ละพิธีกรรม สัญลักษณ์ดังกล่าว

จะสามารถทำความเข้าใจได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในระบบสัญลักษณ์รวมทั้วหมดที่ประกอบกันเป็นพิธีกรรมเฉพาะ ดังนั้นความหมายของมันเกิดจากความสัมพันธ์กับระบบสัญลักษณ์อื่นๆ

นอกจากนี้ Victor turner ได้ชี้ให้เห็นว่า พิธีกรรมไม่เพียงแต่พิธีกรรมจะอยู่ในกระบวนการแสดงทางสังคม (social drama) โดยกระบวนการของพิธีกรรมแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ (ล้อไปกับแนวคิดของ Arnold van Gennep )

1 pre-liminal เป็นกระบวนการที่ปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มถูกแยกออกไปจากโครงสร้างทางสังคม

2.Liminal เป็นกระบวนการที่สถานภาพของบุคคลในพิธีกรรมไม่ชัดเจนคือ ไม่ได้อยู่ในสถานะเดิม และยังไม่ได้เข้าสู่สถานภาพใหม่ มีความคลุมเคลือ ก้ำกึ่ง ครึ่งผีครึ่งคน หรือกลับหัวกลับหาง

 3.Post-liminal คือ บุคคลที่ร่วมในพิธีกรรมเริ่มเข้าสู่สถานภาพใหม่ที่สมบูรณ์ทั้งสิทธิใหม่ อำนาจใหม่ บทบาทหน้าที่ใหม่

  นอกจากนี้ในหนังสือ the forest of symbol Turner ยังได้แบ่งพิธีกรรมออกเป็น 2ส่วนคือ 1.พิธีกรรมที่เรียกว่า Life -Crisis Ritual เป็นพิธีกรรมของการเปลี่ยนผ่านสถานภาพของบุคลลจากสถานภาพหนึ่งไปสู่สถานภาพหนึ่ง ในช่วงวิกฤตการณ์ของชีวิต เช่น พิธีการเกิด การแต่งงาน การเข้าสู่วัยหนุ่มสาว และพิธีกรรมความตาย 2. Ritualof affliction ที่เป็นพิธีกรรมที่จัดขึ้นเมื่อประสบความโชคร้ายหรือได้รับเคราะห์ ดังเช่น ชาว Ndembu เชื่อว่าความเคราะห์ร้ายสัมพันธ์กับวิญญาณบรรพบุรุษ ที่ถูกทอดทิ้งหรือละเลยทำให้พวกเขาล่าสัตว์ไม่ได้ คลอดลูกลำบาก และนำไปสู่ความเจ็บป่วยต่างๆ จึงต้องมีพิธีกรรมการให้กำเนิด พิธีกรรมการรักษา พิธีกรรมการล่าสัตว์เป็นต้น 

ดังนั้นพิธีกรรมจึงเป็นการแสดงทางสังคม (social drama) ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และทำให้สังคมดำรงอยู่อย่างเข้มแข็งมั่นคง ทำให้โครงสร้างของความขัดแย้งมีความสมดุล รวมทั้งทำหน้าที่สะท้อนภาวะของการท่าทายกฏระเบียบของสังคม และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมด้วย ภายใต้ภาวะการเกิดใหม่และการจัดระเบียบทางสังคมที่สอดคล้องลงตัว


Reference

The Forest of Symbols: Aspects of Ndembu Ritual (1967), Cornell University Press 1970 paperback

The Ritual Process: Structure and Anti-Structure (1969), Aldine Transaction 1995 paperback

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ เน้นอยู่ที่ปัจจัยทางชีววิทยาเพ

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเกี่ยวกับการนอนเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เป็นเรื่องส่วนตัว(priv

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile Derkhiem ในหนัง