ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เรียนมหาวิทยาลัย(2)


ผมจำได้ว่าในการออกภาคสนามครั้งนั้น ผม หนิง อ้อมน้อย ร่วม และอ้อมช่าช่า พวกเราเลือกที่จะไปฝึกงานที่ไกลๆบนเขา อาจารย์แนะนำพี่พิพัฒน์ชัย พรหมทิน ผู้จัดการโครงการของแดนเสส ซึ่งมีพื้นที่ทำงานกับชุมชนที่อยู่ในเขตป่า ตั้งแต่ขอนแก่นจนถึงเพชรบูรณ์ซึ่งเป็นรอยต่อ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พวกเราสามารถจะลงไปศึกษาได้
ผมและหนิงเลือกสถานที่ที่ไกลจากเพื่อนที่สุด คือผมจะอยู่บนยอดเขาสูงสุด ชื่อบ้านตาดฟ้า และหนิงจะอยู่บ้านที่ลงไปจากผมประมาณ1-2 กิโลเมตรชื่อบ้านดงสะคร่าน ที่จริงสองหมู่บ้านนี้คือบ้านเดียวกัน แต่บ้านตาดฟ้าจะอยู่สูงสุด มีน้ำตกตาดฟ้าซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำ มีโขดหิน มีสัตว์หายากประกอบด้วย ปลาผา ปลาจล และปูหิน บ้านตาดฟ้าไม่มีโรงเรียน ไม่มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีประปา มีสำนักสงฆ์ที่มีฤษีชีปะขาวจำวัดอยู่ หมู่บ้านนี้มีจำนวนครัวเรือนประมาณ 15 ครัวเรือน ส่วนบ้านดงสะคร่านจะอยู่ด้านล่างถัดลงมา หมู่บ้านนี้จะค่อนข้างใหญ่กว่าตาดฟ้าแต่มีไม่เกิน 50 ครัวเรือน มีฝายทดน้ำ มีตู้โทรศัพท์ของชุมชน มีป่าชุมชน มีโรงเรียนบ้านดงสะคร่าน มีวัดขนาดใหญ่เป็นศูนย์รวมของจิตใจ มีผู้ใหญ่บ้านและมีหอกระจายข่าวของชุมชนอยู่กลางหมู่บ้าน ส่วนบ้านตาดฟ้าจะมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านดูแล
ลักษณะของหมู่บ้านทั้งสองจะมีอาชีพเหมือนกัน คือปลูกข้าวไร่ตามที่ราบและเนินเขา มีปลุกข้าวโพด ปลูกปอสลับบ้าง พิธีกรรมสำคัญทางศาสนาก็ใช้วัดร่วมกันคือ วัดบ้านดงสะคร่าน เวลามีประเพณีสำคัญทางศาสนา 
บริเวณตาดฟ้าถือว่า มีความน่าสนใจ คือใช้แผงโซล่าเซลล์รวบรวมแดดจากแสงอาทิตย์เพื่อให้กำเนิดพลังงานไฟฟ้า โดยชาวบ้านจะมีหม้อแบ็ตเตอร์รี่เอาไว้ชาร์จไฟให้เต็ม เพื่อใช้ดูโทรทัศน์และให้แสงสว่าง ส่วนใหญ่จะใช้ตะเกียงให้แสงสว่าง เนื่องจากไม่มีไฟฟ้าหมู่บ้านนี้จึงไม่มีโรงสี แต่จะมีการใช้ครกกระเดื่องตำข้าว ตอนเย็นๆจะได้ยินเสียงครกตำข้าวดังป๊อกๆๆ เป็นจังหวะ ของบรรดาผู้หญิงจะช่วยกันตำข้าวสารไว้เพื่อหุงกิน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...