ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เริ่มจากห้องแถว(9)

เลี้ยงไก่เลี้ยงหมู
บ้านของผมเลี้ยงสัตว์ไม่ขึ้น พ่อกับแม่ผมเล่าให้ฟัง เคยเลี้ยงวัวเลี้ยงควายหลายปีก็ไม่มีลูกไม่ออกผลสักที จนกระทั่งขายปรากฏว่ามีลูกติดท้องคนที่ซื้อไปก็ได้กำไร เราเลี้ยงมาหลายปีไม่ได้กำไรอะไร มีครั้งหนึ่งผมอยากเลี้ยงเอาไว้กินไข่และกินเนื้อ พ่อผมก็ลองทำครอกเล็กๆให้เลี้ยง จากสองตัว ก็ขยายเป็นหลายสิบตัว ออกลูกสืบต่อไปหลายครอก
บ้านของผมเคยเลี้ยงหมู ทำเป็นคอกตาข่ายเหล็กเล็กๆ เพราะมีคนให้หมูที่มันออกมาเกินจำนวนเต้าของแม่มันจะให้กินได้ พ่อผมจึงนำมาเลี้ยงดูต่อให้รำ ให้ผักโขมให้กระถินมันกินทุกวัน จนกระทั่งคนในครอบครัวของผมรู้สึกผูกพันกับมัน จนกระทั่งวันหนึ่งมันเกิดอาการท้องเสียท้องร่วงจนกระทั่งตายไป พ่อกับแม่ผมเสียใจมาก อุตสาห์เลี้ยงมาตั้งหลายเดือน
ขุดบ่อเลี้ยงปลา
พ่อของผมแกมักจะทำทุกอย่างเพื่อครอบครัว บางครั้งผมกับน้องอยากมีบ่อเลี้ยงปลา เห็นครอบครัวทหารคนอื่นมีบ่อปลาที่เขาขุดไว้ เวลาเอาอาหารให้ปลาปลาก็จะขึ้นมากิน สามารถเอามาทำเป็นอาหารได้ ก็เลยอยากจะเลี้ยงบ้าง บ้านที่เลี้ยงปลาส่วนใหญ่จะจ้างรถแม็คโครมาขุดซึ่งบ่อที่ได้จะค่อนข้างลึก แต่สำหรับครอบครัวผมพวกเราเริ่มต้นขุดบ่อเองเป็นระยะเวลาหลายเดือน 1-2 เดือนขุดไปเรื่อยในช่วงเย็น จนกระทั่งได้บ่อลึกประมาณเมตรหนึ่ง และกว้างประมาณ5-6 เมตร ขอบบ่อหรือคันดินที่ตักขึ้นมาเป็นดินดำก็สามารถปลูกพืชล้มลุก หรือผักสวนครัว เช่นตระไคร้ พริก มะเขือ และมะละกอ เอาไว้กินได้อีกด้วย
หลังจากเราขุดบ่อเสร็จ เราก็ปล่อยน้ำลงไปในบ่อให้เต็มแล้วเอาลูกปลานิล ปลาไนมาปล่อย พ่อไม่นิยมเลี้ยงปลาดุก บางทีเวลาไปวิดปลาได้ปลาตัวน้อยมา เช่นปลาช่อน ปลาดุก ปลาหมอก็เอามาปล่อยที่บ่อ เราเลี้ยงจนมันโตให้อาหารพวกรำทุกเช้าเย็น บ่อยครั้งก็ตกเอามาทำอาหาร มาต้ม มาทอด ทำขนมจีน นี่เป็นผลผลิตจากน้ำพักน้ำแรงของเรา จนกระทั่งครอบครัวผมต้องออกไปจากค่ายทหารแห่งนี้ก็รู้สึกเสียดายอยู่ไม่น้อยเช่นกันเพราะกว่าจะขุดบ่อเลี้ยงปลาได้ต้องใช้กำลังกายและแลกมาด้วยหยาดเหงื่อไม่น้อย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...