ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เลวี่ เสตร๊าท์ กับโครงสร้างนิยม (1)


Ferdinance De Saussure ผู้มีอิทธิพลสำคัญกับแนวคิดโครงสร้างนิยมของเลวี่ สเตร๊าท์
เลวี่ สเตร๊าท์ ได้เริ่มประยุกต์ใช้วิธีการทางภาษาศาสตร์ มาศึกษาทางมานุษยวิทยาโครงสร้างของเขา  ที่ได้เปิดเส้นทางของการศึกษางานชาติพันธุ์วรรณา  ระบบความคิด กฎเกณฑ์ทางวัฒนธรรม ที่สัมพันธ์กับเรื่องของภาษา และมีการรับมาใช้โดยนักสัญวิทยาและวรรณคดีวิจารณ์อย่างโรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) และนักโครงสร้างนิยมคนอื่นๆ การร่วมงานกันระหว่างเลววี่ สเตร๊าท์และนักภาษาศาสตร์ชาวรัสเซีย ที่ชื่อ โรมัน ยาค็อบสัน(Roman Jakobson;1895-1982) ในช่วงปลายทศวรรษที่1940 ที่จาค็อบสัน ได้นำรูปแบบความคิดแบบคู่แย้งชองโซซูร์ มาประยุกต์ใช้ศึกษาอาการทางประสาทของการพูดไม่ได้หรือไม่เข้าใจคำพูด หรือความบกพร่องในการเลือกคำในเชิงกระบวนชุด และความบกพร่องในการเชื่อมโยงถ้อยคำในเชิงกระแสความ ที่เรียกว่า Aphasia ที่ปรากฎในงานของเขาชื่อ Fundamental of Language ซึ่งเขาสนใจเรื่องการอุปมาเปรียบเทียบ การใช้สิ่งหนึ่งแทนสิ่งหนึ่ง ที่เป็นเรื่องของการแทนที่ การเป็นตัวแทน การทดแทนในเชิงกระบวนชุดที่มีลักษณะการรับรู้บนความคล้ายคลึง  เรียกว่า คำอุปลักษณ์(Metaphor) เช่นใจแข็งเหมือนเพชร ลูกคือดวงใจของพ่อแม่ และการเชื่อมต่อในเชิงกระบวนชุดที่มีลักษณะการรับรู้ถึงความเกี่ยวเนื่องระหว่างสิ่งสองสิ่ง เรียกว่า นามนัย(Metonymy) เช่นหัวรถจักร แทนรถไฟทั้งขบวน  สีดำกับความตาย กินโต๊ะ ล้มมวย แน่นอนว่า การใช้คำแทนที่ หรือเชื่อมโยง เชื่อมต่อกัน ต้องอยู่ภายใต้ระบบกฎเกณฑ์ทางวัฒนธรรม หรือโครงสร้างร่วมกันในชุมชนที่ใช้ภาษา ที่เป็นที่ยอมรับร่วมกัน เราอาจบอกว่าใจแข็งเหมือนหินหรือเพชร แต่ไม่สามารถบอกว่า ใจแข็งเหมือนเมฆหรือปุยนุ่น ที่ขัดกับกฎเกณฑ์หรือโครงสร้างในกำกับความคิดของเราที่เรายอมรับและคุ้นเคยกับมัน เช่นเดียวกับแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องของเครือญาติ ซึ่งสะท้อนผ่านการปฎิบัติทางเครือญาติที่กำหนดชุดของความสัมพันธ์ ในวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย
งานทางชาติพันธุ์วรรณาและความคิดของเลวี่ สเตร๊าท์ นับว่ามีความน่าสนใจไม่น้อยในการพัฒนาทางมานุษยวิทยา ด้วยการประยุกต์ใช้แนวความคิดเรื่องภาษา มาวิเคราะห์ส่วนประกอบของความไร้สำนึก ในชีวิตทางสังคมของมนุษย์ เช่นเดียวกับนักประวัติศาสตร์ได้อ้างถึงการไม่ตระหนักรู้ของพวกเขา              เลวี่-สเตร๊าท์แสดงให้เห็นความแตกต่างในวิธีการของนักประวัติศาสตร์และนักมานุษยวิทยาว่า ประวัติศาสตร์ จัดระเบียบข้อมูลของมันในความสัมพันธ์ไปยังการสำนึกรู้ของชีวิตทางสังคม ในขณะที่นักมานุษยวิทยา ดำเนินการโดยการทดสอบ พื้นฐานในความไร้สำนึกของมัน(อ้างจากLevi-Strauss, SA.:1963) การก้าวเข้าสู่การเรียนรู้ภาษาศาสตร์สมัยใหม่ ในหนทางของนักสังคมวิทยา นักจิตวิทยา นักรัฐศาสตร์และนักมานุษยวิทยา ดังที่มาร์แซล มอร์ส (Marcel Mauss) ได้พยากรณ์เอาไว้เมื่อ40-50ปีที่แล้วว่า สังคมวิทยา จะมีความก้าวหน้าอย่างมั่นคงแน่นอน ถ้ามันมีการติดตาม ไปทุกหนทุกแห่ง ที่นำไปเกี่ยวกับนักภาษาศาสตร์” (SA:1963) เลวี่-สเตร๊าท์ เป็นนักมานุษยวิทยาที่นำเอาวิธีการของภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างมาใช้  ในการศึกษาเรื่องเครือญาติ ชุดคำของเครือญาติที่เป็นเหมือนระบบของหน่วยเสียง  ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความหมายเมื่อถูกรวมเข้าไปในระบบ และสร้างความคิดในระดับของความไร้สำนึกของมนุษย์ ที่สะท้อนผ่านชุดคำของเครือญาติ รูปแบบความสัมพันธ์ของเครือญาติ กฎเกณฑ์การแต่งงาน ข้อห้ามทางเพศ ที่ทัศนคติเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดอย่างคล้ายคลึงกัน ในความสัมพันธ์ที่แน่นอน เช่นเดียวกับภาษาศาสตร์ที่กระทำอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ ดังเช่นนักภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างอีกท่านหนึ่งที่ชื่อ N.Troubetzkoy ได้กำหนดนิยามภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างเช่นเดียวกับ โครงสร้างนิยมเชิงระบบ(Systematic Structuralism) และพวกสากลนิยม(Universalism) ที่ต้องการค้นหารหัส โครงสร้างที่เป็นสากล ภาพรวมที่ตรงกันข้ามกับพวกปัจเจกชนนิยม(Individualism) และพวกAtomism  ที่เขาได้อธิบายเกี่ยวกับการลดทอนวิธีการทางโครงสร้างกับ การปฏิบัติพื้นฐาน 4 ลักษณะคือ (อ้างจากLevi Strauss, SA:1963)
 1)ภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้าง ก้าวข้ามจากการศึกษาเกี่ยวกับปรากฎการณ์การสำนึกรู้ทางภาษาศาสตร์  ไปสู่สิ่งที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของความไร้สำนึกของพวกเขา (Unconscious infrastructure)
 2) ภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้าง ไม่ใช่การรักษาชุดของคำ เช่นเดียวกับการมีอิสระอย่างสมบูรณ์ แต่มันเป็นพื้นฐานของการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชุดคำ (The Relation between Terms)
   3)  ภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างแนะนำแนวความคิดเกี่ยวกับระบบ (Concept of System)
   4) ภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้าง มีเป้าหมายในการค้นพบและพิสูจน์หลักการหรือกฎเกณฑ์ทั่วไป(General Law)  ในการสรุปรวบยอด หรือลดทอนเชิงตรรกะเหตุผล ที่ได้ให้ลักษณะสมบูรณ์ของพวกเขา
ภาษาศาสตร์ และการสื่อสาร

เลวี่ สเตร๊าท์  ได้นำแนวคิดข้างต้นมาใช้วิเคราะห์และศึกษาทางมานุษยวิทยา ในการศึกษารหัสหรือโครงสร้าง ที่ถูกประกอบสร้างในรูปแบบธรรมเนียม กฎเกณฑ์ ซึ่งรหัสเป็นสิ่งที่สามารถแปลความหมายไปยังสิ่งอื่นๆ ที่เป็นคุณสมบัติที่กำหนดลงไปอย่างแน่นอน ดังเช่นนักภาษาศาสตร์ ที่ศึกษาเกี่ยวกับคำศัพท์และไวยากรณ์ ที่ถูกสร้างขึ้นเกี่ยวข้องกับโครงสร้าง ที่นำไปสู่เรื่องของการศึกษาภาษาและการติดต่อสื่อสาร ของนักมานุษยวิทยา เช่นเดียวกับที่เลวี่-สเตร๊าท์ ศึกษาเกี่ยวกับชุดคำ ระบบของเครือญาติ นิทานปรัมปรา พิธีกรรม ความคิดที่เป็นรูปธรรมของคนป่า ที่ถอดรหัสไปยังเรื่องของความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรม ที่ทำงานภายใต้ระบบของจิตใต้สำนึกและมีกระบวนการทำงานเช่นเดียวกับโครงสร้างหรือระบบของภาษา เช่นเดียวกับ แนวความคิดเรื่องสัญศาสตร์และสัญวิทยา ของเพิร์ซและโซซูร์ ในการศึกษาเกี่ยวกับสัญญะและสัญลักษณ์ ที่เป็นพื้นฐานสำคัญ ในการนำไปประยุกต์ใช้ของนักมานุษยวิทยา นักประวัติศาสตร์ และนักวรรณคดีวิจารณ์ ในปัจจุบัน (ดูรูปตัวอย่างวิธีคิดแบบสัญวิทยาและสัญศาสตร์) ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด (Concept)และจินตนาการของเสียง (Sound-Image) การเปล่งเสียง ที่แสดงให้เห็นด้านโครงสร้างทางสังคมและด้านปัจเจกชนของภาษา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...