ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เริ่มจากห้องแถว(6.1)


ช่วงฤดูฝน ต้นไม้ที่แห้งเหี่ยว ใบร่วงโรยจนหมดต้นในช่วงฤดูหนาว และล่วงสู่ฤดูแล้งในช่วงหน้าร้อน ต่อเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ทำให้ต้นไม้ที่หลับใหลเริ่มตื่นขึ้นมาจากการสะกิดของหยาดน้ำฝนที่กระทบลำต้นและพื้นดิน ใบสีเขียวอ่อนของต้นเริ่มผลิใบใหม่ แตกใบอ่อนมา หญ้าสีเขียวเกิดขึ้นจากการปะพรมของหยาดน้ำฝน ชูก้านรับหยาดน้ำค้าง ใบสีเขียวอ่อนดึงดูดแมลงต่างๆให้เข้ามากินใบอ่อนที่กำลังแตกใบ โดยเฉพาะแมงอีนูน ทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ ตัวเล็กจะมีสีน้ำตาลตัวไม่เท่านิ้วก้อย แต่ตัวใหญ่ขนาดเท่าหัวแม่มือสีดำขลับ
พระอาทิตย์ตกเย็น ผมปั่นจักรยานไปรอที่ต้นพุทราบริเวณคอกวัว รอตั้งแต่ช่วงหัวค่ำที่แมงอีนูนเริ่มตะกายขึ้นมาจากบินมาเกาะที่ต้นไม้ใบอ่อน ทั้งต้นพุทรา ต้นมะรุม และต้นมะขาม และรอคู่ของมันเข้ามาเกาะเพื่อผสมพันธุ์ เมื่อรอจนกระทั่งมันบินมาหมด  จนกิ่งแต่ละกิ่งเต็มไปด้วยแมงอีนูนเป็นคู่สีดำขลับตามก้านใบและเอนกิ่งลงมาเพราะน้ำหนักของแมงอีนูน ก็จะถึงเวลาที่จะต้องเขย่าต้นเพื่อให้แมงอีนูนตกลงมาเป็นคู่ๆ เพื่อรอให้ผมเก็บ ใส่ถุงหรือใส่ข้อง ถ้าดึกมากแมงอีนูนกินอิ่ม ผสมพันธุ์กันเสร็จจะแยกคู่ ต้องใช้ไฟ โดยการก่อไฟใต้ต้นไม้และเขย่าต้นให้แรง แมงอีนูนจะตกลงมา ตัวที่บินก็จะลงมาเล่นแสงไฟ ก็จะทำให้เราสามารถเก็บได้
เมื่อได้มาก็จะขังไว้ในข้องหรือคุถังเพื่อให้มันถ่ายใบไม้ที่กินออกมา เมื่อจะขายหรือกินก็จะนำมาล้างน้ำ เด็ดปีกเด็ดขาออก และล้างน้ำสะอาด แมงอีนูนที่ได้จะนำไปทอดกรอบใส่แป้งโกกิหรือ คั่วเกลือกินเฉยๆก็ได้ บางครั้งก็นำไปป่นหรือทำก้อยแมงอีนูน  ซึ่งแมงอีนูนที่ได้จะเป็นคนละชนิดกันกับที่ผมเคยไปขุดที่สกลนคร บางครั้งเรียกว่า แมงขนุนซึ่งตัวใหญ่กว่านิ้วหัวแม่มือ มีสีน้ำตาลเข้ม และการจับแมงอีนูนชนิดนี้ใช้วิธีการขุดใต้ต้นไม้
ด้วยลักษณะของค่ายทหารที่เคยเป็นทุ่งนา แม้ว่าจะมีการสร้างแคมป์ทหารอเมริกัน อยู่หลายตึกและทุบทิ้งหลังจากทหารอเมริกันจีไอถอนทัพกลับไปก็ทุบทำลายตึกต่างๆจนราบ รวมทั้งเรื่องเล่าเกี่ยวกับขุมทรัพย์ทหารอเมริกัน ของชาวบ้านบริเวณใกล้เคียง ว่าตอนกลางคืนก่อนที่ทหารอเมริกันจะกลับมีเสียงรถยนต์เครื่องจักรกำลังทำงานแล้วพวกเขาก็หายไป คาดว่าพวกรถยนต์ อาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆคงจะถูกฝังหรือกลบไว้ใต้ดินที่ไหนสักแห่งในบริเวณนี้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...