ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เริ่มจากห้องแถว(6.2)


บริเวณนี้จึงเต็มไปด้วยพันธ์ไม้ชนิดต่างๆ ที่เป็นที่อยู่ของแหล่งอาหาร กิ้งก่า แมงอีนูน นก รวมถึงไข่มดแดงที่ผมและครอบครัวมักจะไปหาเป็นประจำในช่วงฤดูแล้ง เมื่อเจอรังของมันก็จะใช้ไม้ผูกกับถังน้ำแล้วให้ส่วนของไม้ที่ยื่นออกมาแหย่เข้าไปที่รังของมัน จากนั้นก็เขย่ารังของมัน ไข่มดแดงและตัวมดแดงก็จะหล่นลงไปในถัง เวลาจะเอามากินก็ใช้น้ำล้างแล้วใช้เศษผ้ายาวประมาณสัก 10 เซนติเมตร หย่อนลงในถังน้ำแล้วหมุนให้น้ำวน มดแดงก็จะเกี่ยวกับผ้าติดกันเป็นยวงขึ้นมา ก็จะเหลือไข่สีขาวให้ไปทำอาหารกิน อาจจะมีตัวมดแดงค้างอยู่บ้างแต่ถ้าเอาไปแกงก็จะทำให้แกงมีรสกลมกล่อมออกเปรี้ยวโดยไม่ต้องพึ่งมะนาวหรือมะขามแต่อย่างใด ส่วนตัวมดแดงที่ติดเศษผ้าออกมาพ่อกับแม่ของผมก็จะเอาไปวางตรงโคนต้นมะม่วงที่บ้าน  มดพวกนี้จะไม่ตาย มันก็จะขึ้นไปบนต้นมะม่วงเพื่อทำรังใหม่และสามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารเช่น ก้อยหอยโข่งหรือหอยเชอร์รี่ เนื่องจากในตัวมดจะมีกรดที่สามารถทำให้เมือกหรือความคันของหอยหายไปได้
ในค่ายทหารมีบ่อมีหนองเป็นจำนวนมากซึ่งเป็นบ่อสาธารณะที่คนสามารถไปหากินจับปลาได้  ผมมักจะตื่นเต้นเสมอ ที่ได้วิดปลาในบ่อหรือคลองที่มีลักษณะพิเศษ เช่นเป็นบ่อขนาดใหญ่ หรือมีเศษอิฐ เศษท่ออยู่ใต้น้ำ เพราะเมื่อเวลาน้ำแห้งปลาจะซ่อนตัวอยู่ในเศษหิน เศษปูนเหล่านั้น เวลาเปิดหรือยกเศษเหล่านี้ขึ้นจะพบปลานอนอยู่เป็นจำนวนมาก หรือบ่อที่มีจอกแหน พง สาหร่ายหรือหญ้าข้าวนกต่างๆอยู่ปลามักจะซ่อนตัวในพื้นที่เหล่านี้ ถ้าเราดึงเอาเศษเหล่านี้ออกจะพบปลาชนิดต่างๆจำนวนมาก ทั้งปลาช่อน ปลาหมอ ปลาดุก เวลาวิดน้ำจะต้องกั้นคูดินให้แข็งแรงและต้องใช้กำลังแขนยกถังน้ำ ผม พ่อและน้องจะผลัดกันวิดน้ำให้แห้ง แม้ว่าบางครั้งจะเหนื่อยแต่ผมก็รู้สึกสนุก เวลาน้ำกระเซ็นโดนหน้าทำให้ความร้อนลดลง เมื่อน้ำเริ่มลดระดับลง จะเริ่มเห็นปลานอนขังตัวบริเวณแอ่งดิน รอยเท้าตื้นๆ บนพื้น เราก็สามารถจะจับมันได้
การหาปลาพ่อของผมจะเลือกเอาแอ่งน้ำที่คิดว่ามีปลาอยู่ทั้งสังเกตการกระเพิ่มของน้ำ ที่ปลาขึ้นมาจับแมลง พืชหรือสัตว์เล็กๆกินเป็นอาหาร หรือขึ้นมาหายใจที่เรียกว่าปลาบ้อน พ่อผมจะเก่งเรื่องนี้มาก ท่านมาดูให้แล้วก็ให้ผมกับน้องช่วยกันวิดในเวลาที่ท่านต้องอยู่เวร พวกผมจะช่วยกันวิดจนแห้ง และจับปลาใส่ในถัง จนกระทั่งถึงเวลาที่จะต้องมุดท่อ ซึ่งเป็นท่อเหล็กมีลักษณะเป็นข้อปล้องๆ ซึ่งรอยต่อของข้อแต่ละข้อมักจะมีปลาทั้งแปลาช่อน ปลาดุก ปลาหมอ ซ่อนอยู่บ่อยครั้งที่ผมเข้าไปจับก็จะได้ปลาขนาดต่างๆตั้งแต่ขนาดเล็ก จนถึงขนาดเท่าแขนหรือฝ่ามือ ส่วนใหญ่จะเป็นปลาช่อน  จากนั้นก็จะออกมาโกยดินในหลุมบ่อที่แห้งเพื่อให้ปลาบางชนิดที่อาศัยอยู่ในดินโคลนท่าลึกโผล่ขึ้นมาเมื่อโดนแสงแดด ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกปลาหลดและปลาหมอ หรือปลาช่อนปลาดุกที่ยังเหลือตกค้าง ซึ่งก็ต้องรอเวลาจึงย้อนกลับมาดูอีกครั้ง
ผมจำได้ว่าครั้งนั้นเมื่อได้ปลามา แม่ผมมักจะต้มส้ม แกงส้มใส่มะรุมต้นใหญ่ที่อยู่ข้างบ้าน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...