ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หลังเรียนมหาวิทยาลัย(3)

ผมได้มีโอกาสร่วมงานตั้งแต่การเริ่มต้นชีวิตมอส. ที่หน้ากระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งชาวบ้านน้ำพองเดินทางไปชุมนุม ที่กรุงเทพฯ จนถึงการพาชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ไปแลกเปลี่ยนและศึกษาดูงานกับชาวบ้านน้ำพองด้วยหลายครั้ง เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมของภาคอีสาน ไม่ได้โดดเดี่ยวแต่เฉพาะพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แต่ปัญหา ที่ดิน น้ำ ป่าไม้และแร่ธาตุ เป็นปัญหาของชาวบ้าน ที่เชื่อมโยงท้องถิ่น ภูมิภาคประเทศชาติและโลกเข้าด้วยกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เหมือนดังชาวบ้านที่อุดรธานีและในหลายๆพื้นที่ ที่ไม่ได้ต่อสู้กับคนในพื้นที่เดียวกัน ชาติเดียวกัน ต่อสู้กับรัฐบาลเท่านั้นแต่ยังต่อสู้กับนายทุนข้ามชาติด้วย และที่สำคัญคือการต่อสู้กับความอยากภายในตัวเอง ที่เกิดจากกระบวนการของระบบทุนนิยม การพัฒนา ความทันสมัย และโลกาภิวัฒน์ที่ทำให้ความอยากของท้องถิ่น กลายเป็นความอยากในระดับโลก และความอยากระดับโลกก็กลายเป็นความอยากของท้องถิ่นไปพร้อมกัน
หลังจากที่ประสานงานกับพี่ทั้งในพื้นที่(พี่เกรียงศักดิ์ สุขวาสนะ)และนอกพื้นที่(อย่างพี่สุวิทย์ กุหลาบวงษ์) ได้แล้วผมก็ต้องเตรียมการประชุม ซึ่งในช่วงแลกยอมรับว่าต้องเรียนรู้จากพี่สุวิทย์มาก ทั้งเรื่องข้อมูล การเตรียมประเด็น หัวข้อ จังหวะ การเน้นย้ำเสียงในการพูด การปลุกเร้าอารมณ์ความรู้สึก และที่สำคัญก็คือ การท้าทายกับการพัฒนาและกลับมาถามชาวบ้านว่าคิดอย่างไร ซึ่งการประชุมครั้งนี้นับว่าเป็นครั้งแรกที่ผมได้มีโอกาสพูดกับคนมากๆ ในฐานะที่เป็นคนในพื้นที่ และเป็นคนอุดรธานีคนหนึ่ง ซึ่งการพูดให้ข้อมูลของผมในช่วงแรกก็น่าเบื่อและราบเรียบ
จากประสบการณ์ครั้งนั้น ทำให้ผมสามารถเรียนรู้และปรับปรุงตัวเองได้ในเวลาต่อมา อันเนื่องจากเงื่อนไขสถานการณ์ต่างๆมันบีบบังคับด้วย ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป นั่นคือจุดเริ่มต้นของไอ้หนุ่มผมยาว หรือพวกขายยาบ้า ในสายตาชาวบ้านที่มักจะแซวกันเสมอเมื่อพูดถึงการพบกันครั้งแรก ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตัวเองของผมในฐานะผู้ทำงานในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการตัดผม การแต่งกาย ให้สมกับที่ชาวบ้านเรียกอาจารย์หรือหัวหน้าซึ่งหากเราต้องการที่จะเรียนรู้วิถีชีวิตโลกทัศน์ของชุมชน เราก็ต้องการที่จะพยายามเป็นคนในให้ได้ แม้ในความจริงเราจะเป็นได้เพียงคนนอกที่พยายามจะมองอย่างคนใน แต่การเรียนรู้ การทำกิจกรรมร่วมกันกับชาวบ้าน ความไว้วางใจกันในการทำงาน และสนิทสนมกันเหมือนพ่อแม่ ลูก พี่น้องกัน เสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นจากชุมชน เราจึงควรที่จะต้องนำมาปรับใช้กับการทำงานในหมู่บ้าน ทั้งในเรื่องการวางตัว การปฎิบัติตนต่างๆ ในขณะที่เรากำลังตรวจสอบและดูชาวบ้านกลุ่มที่เราทำงานนั้น ในขณะเดียวกันชาวบ้านก็มองดูเราและตรวจสอบเราเช่นกัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...