วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

สิ่งที่น่าสนใจในหนังสือ The turning point..ของคาปร้า โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 Capra เขียน The turning point...ที่พูดถึงและวิพากษ์ทัศนะแม่บทหรือกระบวนทัศน์แบบตะวันตกที่ส่งผลต่อวิธีคิด มุมมองต่อโลก และการนำไปใช้สำหรับจัดระเบียบวัฒนธรรม สังคมและการเมือง...กระบวนทัศน์ดังกล่าวในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติในช่วงศตวรรษที่19-20 ท้ายที่สุดได้นำพามนุษย์ไปสู่ส่งคราม การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ ในเอเชีย แอฟริกา ความขัดแย้งและความรุนแรงต่างๆที่ไม่มีวันสิ้นสุดตลอดประวัติศาสตร์ของโลก

ความคิดภายใต้ตรรกะแบบครอบงำของตะวันตก เมื่อหันกลับมามองที่วิธีคิดแบบตะวันออก ที่มุ่งเน้นการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ สรรพสิ่งต่างๆและโลกและเติบโตไปพร้อมกัน จริงๆแล้วทัศนะแบบตะวันออก ก็ไม่ได้ต้องการสถาปนาตัวเองเป็นทัศนะแม่บทใหม่ที่เข้ามาแทนที่ทัศนะแบบตะวันตก หากแต่ขอเป็นทัศนะทางเลือกแห่งอนาคต...
คาปร้า พูดถึงวิกฤตการณ์ทางวัฒนธรรม ว่าการที่เราจะเข้าใจเรื่องนี้ เราต้องใช้ทัศนะมุมมองที่กว้างที่สุด ลึกที่สุด ทั้งการเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับโครงสร้างสังคมที่อยู่นิ่งตายตัว เป็นการมองโลกและโครงสร้างทางสังคมในลักษณะที่เปลี่ยนแปลงเป็นพลวัตรไม่หยุดนิ่ง....
การปรับมุมมมอง ในเรื่องวิกฤตการณ์ว่าคือเหรียญอีกด้านหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง ในปรัชญาตะวันออก ปรัชญาจีนคำว่าเหว่ยจี้ Wei-Ji หมายถึงวิกฤตการณ์ที่มีสองส่วนประสานสอดคล้องแบบหยินหยาง ในสิ่งที่เรียกว่าวิกฤตการณ์ นั่นคือในวิกฤตการณ์มีลักษณะที่เป็นทั้ง อันตราย และโอกาสในตัวเอง...
คาปร้า อ้างงานของ Toynbee (1972) ในหนังสือ A Study of History ที่ได้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงของอารยธรรมใดๆก็ตาม มักจะเริ่มจากการเปลี่ยนผ่านจากสภาพความหยุดนิ่งตายตัวไปสู่การกระทำที่ยืดหยุ่น มีพลัง ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงที่ว่าอาจเป็นไปโดยธรรมชาติ หรือการได้รับอิทธิพลของบางอารยธรรมที่ดำรงอยู่ก่อนหน้า หรือเกิดจากการแตกสลายของอารยธรรมเดิมของคนรุ่นก่อนก็ได้ ดังนั้นการกำเนิดของอารยธรรม จึงเป็นลักษณะของการท้าทายและตอบโต้ ความท้าทายทั้งกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การเมือง เศรผษฐกิจ วัฒนธรรมและสังคม ที่นำไปสู่การตอบโต้อย่างสร้างสรรค์ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในสังคม....
วิธีคิดแบบสลายขั้วและการมองถึง ภาวะของการประสานสอดคล้องอย่างเกื้อกูลระหว่างสองสิ่ง ดังเช่นวิธีคิดเรื่องหยินหยาง สิ่งที่ดีไม่ใช่ทั้งหยินและหยาง แต่สิ่งที่ดีคือภาวะความสมดุลที่เป็นพลวัตระหว่างสองสิ่ง อย่างขาดกันไม่ได้ ส่วนสิ่งที่ไม่ดีและเลวร้ายคือสิ่งที่เกิดจากความไม่สมดุล...
การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ในการทำความเข้าใจและมองสังคมวัฒนธรรม ภายใต้การถกเถียงแนวคิดทางปรัชญาว่าด้วย วัตถุ (เชื่อว่าวัตถุคือความจริงขั้นสุดท้ายและเป็นจริงที่สุด) จิต (จิตเป็นเพียงการแสดงออกของวัตถุ)มาจนถึงสิ่งที่เป็นอุดมการณ์ (ความจริงแท้มีทั้งด้านที่รับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสและด้านที่อยู่เหนือขึ้นไป แต่อยู่ร่วมกันอย่างมีเอกภาพ) ที่เชื่อมโยงสองสิ่งที่เป็นคู่ตรงกันข้ามเข้าด้วยกัน ดังเช่นแนวคิดของ Sorokin (1937) ที่พูดถึงการเหวี่ยงกลับของระบบคุณค่า 3 อย่างที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์อารยธรรมโลก...
ในวิธีคิดแบบแยกส่วน วัตถุคือสิ่งที่มีอยู่จริง มีตัวตน สัมผัส วัดมันได้ ส่วนจิต คือ สิ่งที่เป็นอัตวิสัย subjectivity เกี่ยวโยงกับเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก การจะวัดสิ่งเหล่านี้จึงต้องทำให้มันเป็น วัตถุวิสัย objectivity เสียก่อน แต่ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแบบนั้น ก็เสมือนตัดสายสัมพันธ์ระหว่างผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ ต้องตัดตัวแปรที่เป็นด้านอารมณ์ความรู้สึกออกไป หรือทำให้อารมณ์ ควมรู้สึกสามารถวัดได้ ....
แนวคิดแบบควอนตัม connecting of thing ระหว่างผู้สังเกตกับสิ่งที่สังเกต โลกไม่สามาถถูกจำแนกแยกออกเป็นส่วนๆ ที่อยู่ได้อย่างอิสระและอยู่รอดด้วยตัวมันเอง การมองสรรพสิ่งที่ไม่แยกขาดจาก แต่พึ่งพิงซึ่งกันและกัน
เหตุอย่างหนึ่งเกี่ยวเนื่องกับอีกอย่างหนึ่ง เช่น การใช้ยาแก้ปวด มันทำให้เราปวดน้อยลง หรือทำให้เราอดทนกับความเจ็บป่วยน้อยลงกันแน่ หรือ การมีสิ่งอำนวยความสะดวกทำให้เราทุ่นเวลาและรวดเร็ว หรือทำให้เราใช้เวลาอีกแบบหรือส่งผลต่อชีวิตในเรื่องการใช้เวลา สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เรียกว่า interconnection ที่ทำให้เราไม่มองสิ่งใดเพียงมิติเดียวหรือแยกส่วนออกจากกัน อย่างเด็ดขาด
***ในระหว่างช่วงเวลาที่มีคำถามกับสิ่งต่างๆเริ่มหันมาอ่านงานปรัชญามากขึ้นเพื่อเข้าใจตัวเองและสิ่งที่เป็นอยู่ปัจจุบัน โดยเฉพาะปรัชญาตะวันออก หนังสือเล่มนี้ผมเคยอ่านเมื่อสมัยตอนเรียนปริญญาเอก สามสี่ปีที่แล้ว วันนี้เอากลับมาอ่านอีกครั้ง ในระหว่างหาหนังสือที่เกี่ยวกับแนวคิดทางปรัชญาที่เกี่ยวโยงกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ที่ส่งผลต่อมิติทางเศรษฐกิจ การเมืองสังคมและวัฒนธรรม ในวิชาการเปลี่ยนแปลง ผมว่าเล่มนี้มีครบ ทั้งเดการ์ตและนิวตัน หยินหยางและอื่นๆ ได้เห็นแง่มมุมการปะทะกันของแนวคิดแบบตะวันตกและตะวันออกที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลก ความสำคัญจึงอยู่ที่การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่...


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...