วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

เจ้าวัด เจ้าวัตร โบว์คู้ของกะเหรี่ยงโผล่วด้ายเหลือง โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เจ้าวัด หรือเจ้าวัตร หรืออาจจะใช้คำเรียกในภาษากะเหรี่ยงว่า บ้งคู้ (โบว์คู้ ) บ้งมึ้ง(โบว์มื่อ) ในการเรียกเจ้าวัดและแม่ย่าของชาวกะเหรี่ยงด้ายเหลืองที่นับถือเจ้าวัด การปักสะเดิ่งและเจดีย์..

แม้ว่าคำบอกเล่าของเจ้าวัดจะเทียบเคียงลัทธิเจ้าวัดว่ามีลักษณะแบบพราหมณ์ หรือแบบฤาษีมากกว่าจะเชื่อมโยงกับพระพุทธศาสนาโดยตรง แต่จุดร่วมที่สำคัญคือการมองว่าลัทธินี้เกิดขึ้นก่อนการมีพุทธศาสนา ลัทธิเจ้าวัดเป็นเสมือนต้นไม้ ที่มีกิ่งก้านที่แตกแขนงออกไปในส่วนต่างๆ ส่วนพุทธศาสนามีฐานะเป็น “ผล” ที่เกิดจากกิ่งก้านของต้นไม้ เจ้าวัดจึงมีลักษณะที่ยึดถือข้อบังคับปฎิบัติในการสร้างความบริสุทธิ์การถือศีลอย่างเคร่งครัด คำว่าเจ้าวัด จึงเหมือนคำว่า วัตร หรือการปฎิบัติตามข้อกำหนดเป็นประจำ รวมทั้งการละเว้นการกินสัตว์เลี้ยงบางชนิดเช่นไก่และหมู การนุ่งห่มชุดขาวและการเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณและผู้นำในการประกอบพิธีกรรมของชุมชนกะเหรี่ยง รวมทั้งการปฎิบัติในบางพิธีกรรม ที่เอาคติและการปฎิบัติแบบพุทธเข้ามาผสมผสานกับความเชื่อแบบเจ้าวัด เช่นพิธีกรรมความตายที่แสดงให้เห็นการปรับตัวและความยืดหยุ่นทางศาสนา..
งานมานุษยวิทยาคือการค้นหาความหมายที่สะท้อนผ่านความคิดและการปฎิบัติ หากวัฒนธรรมก็คือตัวบท (text) ร่างกายก็คือตัวบท วัฒนธรรมก็มีความหมายเช่นเดียวกับวาทกรรม รวมทั้งศาสนาก็เกี่ยวข้องกับระบบของการให้ความหมาย การสะท้อนภาพความเป็นหนึ่งเดียวและความขัดแย้งทั้งในระดับโครงสร้างสังคมวัฒนธรรม ระดับสถาบัน และระดับปัจเจกบุคคล...
ความเชื่อที่ประกอบสร้างความหมาย และนำไปสู่การรับรู้และการปฎิบัติที่สอดคล้องกับความเชื่อและความหมายนั้นๆ ที่ปรากฎและดำรงอยู่ในชีวิตประจำวัน ในพิธีกรรมและในความสัมพันธ์เชิงอำนาจ..
การสะท้อนพลวัตรทางศาสนา ทำให้เราเห็นความเกี่ยวเนื่อง ความซับซ้อน ความเป็นพหุลักษณ์ ความหลากหลาย การผสมผสานทางศาสนา... โดยมีความเชื่ออื่นๆทั้ง folk religion ,animism, supernaturalism และ non-buddhist belife ..ความน่าสนใจคือภาวะการผสมผสาน การหลอมรวมกันของศาสนา (amalgamation) เช่นเดียวกับภาษาหรือบทสนทนาที่มีความหลากหลาย ที่สร้างหรือก่อให้เกิดอัตลักษณ์ รูปแบบความเชื่อ การให้ความหมายในบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่มีความเฉพาะ..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...