วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

..ขวัญและบันไดของชาวกะเหรี่ยง... โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ..ขวัญและบันไดของชาวกะเหรี่ยง...

สำหรับชาวกะเหรี่ยงนั้น ความเชื่อเรื่องขวัญนั้นถือว่ามีความสำคัญอย่างมากเพราะขวัญเป็นสิ่งที่ทำให้ร่างกายของมนุษย์มีสภาวะปกติ ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย หากขวัญไม่อยู่รักษาร่างกายแล้ว ร่างกายก็จะไม่มีชีวิตอยู่ได้ หากขวัญไม่อยู่กับร่างต้องทำพิธีเรียกขวัญเชิญขวัญกลับเข้ามา...ในร่างกายของชาวกะเหรี่ยง มีความเชื่อว่ามีขวัญทั้งหมด 7 ขวัญ โดย ขวัญจำนวนหกขวัญมีทั้งขวัญดี ขวัญร้าย เป็นขวัญที่มักเดินทางออกไปจากร่างกาย ไปท่องเที่ยว เดินทางไปในที่ต่างๆ ทั้งในความจริง ความฝัน ขวัญที่ 7 ทำหน้าที่ปกปักรักษาดูแลร่างกายของชาวกะเหรี่ยงโผล่วโดยไม่ไปไหน ดังนั้นก่อนลงมือกินข้าว ชาวกะเหรี่ยงโผล่วจะต้องกินข้าวเปล่า 3 คำและตามด้วยน้ำเปล่า..เพื่อเสริมสร้างพลังให้กับขวัญที่ 7 ที่อยู่กับเนื้อตัวร่างกายของชาวกะเหรี่ยงโดยไม่หนีหายไปไหน ก่อนที่จะเริ่มลงมือทานอาหารพร้อมกับข้าวปกติ..
นอกจากนี้ ความเชื่อของชาวกะเหรี่ยงโผล่วปรากฏอยู่อย่างมากมายในชีวิตประจำวัน ทั้งเรื่องบันไดบ้านที่มีขั้นบันไดเป็นเลขคี่ ขนาดของหัวบันไดซ้ายขวาที่ยาวสั้นไม่เท่ากัน ที่เกี่ยวโยงกับนิทานปรัมปราตำนานของสามีที่พบภรรยาตัวเองนอนกับชายชู้และใช้มีดไล่ฟันชายชู้ที่วิ่งหนีลงบันได จนกระทั่งบันไดมีลักษณะคล้ายถูกมีดฟันจนยาวสั้นไม่เท่ากัน ความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณร้าย การป้องกันการทำร้ายจากการเล่นของ หรือการป้องกันการมีคนมาเหยียบหัวบันไดบ้าน ที่ชาวกะเหรี่ยงมีความเชื่อว่าหากมีคนมาเหยียบหัวบันไดบ้านจะส่งผลให้การทำมาหากินยากลำบากครอบครัวนั้นจะไม่เจริญ หรือพิธีกรรมที่เกี่ยวโยงกับหัวบันไดในช่องที่เป็นรูไม้ไผ่บริเวณหัวบันไดยังใช้สำหรับใส่ฟันน้ำนมเด็กที่หลุดและเชื่อว่าฟันของเด็กคนนั้นจะสามารถงอกขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งการที่คนกะเหรี่ยงในยุคก่อนก็นิยมฝังรกไว้ใต้ฐานบันไดหรือใต้บ้านเรือนเพื้อแสดงถึงถิ่นฐานหรือแผ่นดินเกิดด้วย ดังนั้นชาวกะเหรี่ยงจึงนิยมสร้างบันไดให้ทางซ้ายสูงกว่าด้านขวา โดยเมื่อเวลาเหยียบบนไบไดขั้นสุดท้าย ระดับของร่างกายเมื่อยืนตรง ปลายบันไดทางด้านซ้ายมือที่ยาวสุดจะอยู่ที่ระดับหน้าอก ในขณะที่ปลายบันไดทางด้านขวามือที่ต่ำกว่าจะอยู่ที่ระดับบริเวณสะดือพอดี.. ความเชื่อเหล่านี้ล้วนมีความน่าสนใจ และสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรม การให้ความหมาย วิธีคิดและการปฎิบัติของชาวกะเหรี่ยง..
ที่มา : เจ้าวัดอ้วน เยปอง และเจ้าวัดมองตะลีตะ บ้านพุเม้ยง์ (ภูเหม็น) ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...