วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ประวัติศาสตร์เพศวิถีของฟูโก โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ประเด็นเรื่องเพศวิถีและร่างกาย ในหนังสือเรื่อง history of sexuality volume1 เล่มนี้ต้องให้นักศึกษาอ่านเป็นจุดเริ่มต้นก่อนไปvolumeอื่นๆ..

The history of sexuality volume I : An introduction มิเชล ฟูโกเริ่มต้นบทนำ ใน We other victorians ที่ตั้งคำถามและปะทะกับการศึกษาประวัติศาสตร์ของเพศวิถีที่เริ่มต้นจากสมมติฐานหรือวิธีคิดว่าด้วยการบังคับควบคุม หรือ Repressive Hypothesis ด้วยวิธีการเปิดเผยให้เห็นการจัดวางตัวเองของวาทกรรมเรื่องเพศในสังคมสมัยใหม่ตั้งแต่ศตวรรษที่17 เป็นต้นมา กระบวนการจัดวางระบอบความรู้ รูปแบบของอำนาจที่เปิดเผยให้เห็นเทคนิคของอำนาจที่หลากหลายรูปแบบ ภายใต้รูปแบบของการเปลี่ยนเรื่องเซ็กส์ไปสู่วาทกรรม ...
ภายใต้เทคนิคของการสารภาพบาปหรือการสารภาพผิด การบอกเล่าทุกสิ่งทุกอย่างของปัจเจกบุคคลออกมา ภายใต้ความรู้สึกผิด ผ่านกระบวนการสารภาพ การเปลี่ยนแปลงที่เคลื่อนจากการสารภาพบาปต่อหน้าบาทหลวงในโบสถ์ ภายใต้กฏของการตรวจสอบตัวเอง ที่เชื่อมโยงกับการทำให้ร่างกายเนื้อหนังมังสากลายเป็นที่มา จุดกำเนิด แหล่งกระตุ้น รวมทั้งบ่อเกิดของความชั่วร้าย การละเมิดกฏเกณฑ์ทางศีลธรรม ความเสี่ยงทางด้านสุขภาพทางเพศ การเคลื่อนผ่านจากพื้นที่ทางศีลธรรมสู่พืนที่ของเหตุผล
การสารภาพบาปที่เกิดจากพฤติกรรมการละเมิดข้อห้ามต่างๆ เพื่อบ่งชี้การกระทำของตัวเอง เป็นการสะท้อนให้เห็นจุดเริ่มต้นของความปรารถนาและแรงปรารถนานั้นก็ถูกจัดการและเปลี่ยนรูปของมันให้กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่าวาทกรรม
ในยุคสมัยใหม่การเปลี่ยนการสารภาพบาปในโบสถ์สู่การสารภาพบนเตียงของจิตแพทย์ ที่สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ของความรู้และอำนาจ เพศวิถี ความปรารถนาในเรื่องเพศ ก้าวเข้าสู่พื้นที่ของความรู้และเหตุผลแบบวิทยาศาสตร์ และการเมืองของรัฐ ที่เข้าไปจัดการและสอดส่องในชีวิตประจำวัน ร่างกายและเพศวิถีของผู้คนได้เชื่อมโยงกับประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจและการเมืองทั้งในแง่ของความรู้ทางประชากร การสมรส กาคุมกำเนิด การมีเพศสัมพันธ์ ที่เชื่อมโยงไปยังสถาบันและพื้นที่ต่างๆทางสังคม ทั้งโรงเรียน ครอบครัว รูปแบบของการจัดห้องเรียน ห้อนอน ลักษณะนักเรียน การสร้างตารางเวลาในการนอน การเรียนและกิจกรรมต่างที่เหมาะสม เป็นต้น การสร้างความรู้เรื่องเพศกับวิทยาศาสตร์ที่อธิบายความผิดปกติและความเบี่ยงเบนเรื่องเพศที่เชื่อมโยงทั้งทางร่างกาย จิตใจและสังคม ภายใต้แนวคิดแบบ scientia sexualis วิทยาศาสตร์ว่าด้วยเพศ
ประเด็นที่น่าสนใจในเล่มนี้ยังมีเรื่องให้ถกเถียงอีกมากทั้งภาวะอัตตา ความเป็นองค์ประธาน การทำให้เงียบหรือไร้เสียงภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ครอบงำและแทรกซึมผ่านวาทกรรม ที่สร้างสิ่งที่เราสามารถพูดได้ ไม่สามารถพูดได้ สิ่งที่เราควรจะพูดและห้ามพูดโดยเฉพาะเรื่องเพศ ฟูโกไม่เชื่อว่าโลกมีความเงียบที่แท้จริงหากการตัดสินใจที่จะไม่พูดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ความเงียบก็คือความเห็นที่เรามีต่อเรื่องนั้นและมีพลังเท่ากับการเปล่งเสียงพูด มันเป็นกลวิธีหนึ่งในการแสวงหา การสร้างสรรค์ของมนุษย์เพื่อสะท้อนความเงียบออกไปให้กังวาน...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...