วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปัญหาของความโศกเศร้า (Problem of Grief)... โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 .ปัญหาของความโศกเศร้า (Problem of Grief)...

ความโศกเศร้า (Grief) คืออารมณ์ ความรู้สึก และปฏิกิริยาโดยทั่วไปที่ตอบสนองกับการสูญเสียต่างๆ รวมถึงสิ่งที่ไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะกับการสูญเสียผลัดพรากจากความตายเท่านั้น แต่ความโศกเศร้ายังเชื่อมโยงกับภาวะของความเจ็บป่วยได้ดังเช่นโรคมะเร็ง เอชไอวีและโรคเอดส์ ก็มีแนวโน้มสำคัญกับการเผชิญภาวะนี้ คนไข้คือกลุ่มที่เผชิญกับการสูญเสียต่างๆ ทั้งความสูญเสียความปลอดภัย ความมั่นคงในชีวิต และผลกระทบทางร่างกายที่เกี่ยวข้องกับโรคภัยไข้เจ็บ และนำไปสู่การไร้ความสามารถที่เพิ่มมากขึ้น ที่นำไปสู่การสูญเสียความเคลื่อนไหว ความไม่สามารถประกอบอาชีพ และการสูญเสียการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆในร่างกาย รวมถึงความเป็นไปได้การสูญเสียชีวิตของคนไข้ แต่ละการสูญเสียที่เกิดขึ้น มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มความรู้สึกเจ็บปวดที่เพิ่มมากขึ้น ประสบการณ์ของบุคคลมีความต้องการอย่างมากกับการได้ระบายอารมณ์ความรู้สึก เช่นร้องไห้ออกมาดังๆ และความปรารถนาที่จะหาหนทางที่จะเก็บรักษาบางสิ่งบางอย่างที่กำลังจะสูญเสียไป เช่น ผู้หญิงอาจจะเสียใจผิดหวังอย่างรุนแรงเมื่อสูญเสียเต้านม และค้นหาวิธีการปลอบประโลมใจบางอย่างในการซ่อมแซมตกแต่งส่วนที่เสียไปหรือการพึ่งพาหมอสำหรับการศัลยกรรมเพื่อการประกอบสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาใหม่ หรือกรณีผู้ชายที่อาจมีความต้องการจะได้กลับไปทำงาน และสร้างความรู้สึกประหลาดใจกับเพื่อนร่วมงานของเขา โดยการเดินทางมาถึงที่ทำงานโดยไม่แสดงอาการเหนื่อยหล้าหรืออ่อนแอให้คนอื่นเห็น...
ความต้องการของคนไข้ในโรงพยาบาลที่ต้องการอยากกลับบ้านเป็นเรื่องปกติ และพวกเขาจะพยายามทำทุกๆหนทางเพื่อสิ่งเหล่านั้น ทั้งที่การกระทำดังกล่าวอาจจะเกิดปัญหากับตัวเองและครอบครัวของพวกเขาได้...
ความโศกเศร้าคือสิ่งที่ไม่สม่ำเสมอ (เป็นๆหายๆ หรือเป็นๆหยุดๆ) คนส่วนใหญ่ยินยอมให้ตัวเองได้มีการแสดงออกซึ่งความเศร้าโศกเพื่อที่ตัวเองจะได้รู้สึกดีขึ้น ทั้งๆที่ความรู้สึกเหล่านี้จะกลับมาอีก ภาวะซึมเศร้า (depression) คือสิ่งสุดท้ายที่จะกัดกร่อนทำลายผู้ทุกข์ทรมาน (Sufferers) และกีดกันพวกเขาจากการกระทำต่างๆ ภายใต้สภาวะซึมเศร้า (Slough of depression) ทั้งการลดระดับทางความคิด การไม่เคลื่อนไหว และความรู้สึกว่าตัวเองไร้ประโยชน์ การเกิดภาวะความขัดแย้ง การรู้สึกถูกคุกคาม ความรู้สึกหงุดหงิดกระสับกระส่าย (restlessness) และความเจ็บปวด อันเกิดจากความโศกเศร้าของปัจเจกบุคคล...
สิ่งที่บ่งชี้เกี่ยวกับภาวะความซึมเศร้า คือข้อบ่งชี้ทางร่างกาย ความไม่รู้สึกอยากอาหารที่นำไปสู่การอดอาหารจนผ่ายผอม (Anorexia) การสูญเสียน้ำหนักตัว (Loss of Weight) เมื่อตื่นขึ้นมาทุกเช้า ที่เป็นส่วนหนึ่งของภาวะความโศกเศร้าที่นำไปสู่สาเหตุของความเจ็บป่วย อ่อนแอและหมดกำลัง การวินิจฉัยโรคคือสิ่งที่สำคัญเพราะว่า ความต้องการเกี่ยวกับ Clinical Depression และการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาต้านภาวะการซึมเศร้า (antidepressant medication) การช่วยเหลือดังกล่าวนี้ ปัจเจกบุคคลที่โศกเศร้าหรือซึมเศร้าอยู่บ่อยครั้งจะได้รับการรักษาที่ดีขึ้น และสามารถจัดการกับความโศกเศร้า เสียใจ และสามารถระบายอารมณ์ผ่านร้องไห้ได้ง่ายกว่า..
ผู้ที่มีแนวโน้มการปฏิเสธหรือต่อต้านความจริงของการวินิจฉัย หรือการทำนายเกี่ยวกับโรคและความเจ็บป่วย พยายามหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญกับสิ่งเหล่านี้ คนไข้หลายคนแสดงอย่างชัดเจนว่าไม่ต้องการบอกเล่าความเจ็บป่วยของพวกเขากับผู้อื่น นี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นมากที่สุด ถ้าหมอไม่ให้ข้อมูลข่าวสารที่แท้จริง (ปกปิดความจริง) การผลักภาระให้กับสมาชิกในครอบครัวที่พบกับความยากลำบากที่จะต้องเผชิญหน้ากับความจริง ว่าช่วงเวลาหรือชีวิตของบุคคลอันเป็นที่รักถูกต้องจำกัดหรือสั้นลงไป และอาจกลายเป็นสิ่งที่ถูกต่อต้านมากกว่าการยอมรับและเผชิญหน้ากับความจริงของตัวผู้ป่วย...
การปฏิเสธคือกลไกของการปกป้อง การป้องกันตัวเอง การต่อต้านต่อภาวะของการครอบงำ การถูกจำกัดอิสรภาพ ภาวะของความวิตกกังวล และยังอาจจะสะท้อนความสามารถของผู้คนกับการยอมรับกับความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของชีวิต ที่ถูกคุกคามกับโลกภายในของเขา (Threaten their internal world) ความขัดแย้งระหว่าง โลกที่เป็นอยู่ (World that is) กับโลกที่ควรจะเป็น (World thay should be)ในตัวผู้ป่วย...
ช่วงเวลาของการถูกคุกคาม คนไข้หลายคนอยากจะอยู่กับบ้าน มากกว่าอยู่กับคนแปลกหน้า หรือห้องพักในโรงพยาบาล โดยปราศจากสมาชิกในครอบครัว เข้ามาดูแล ให้กำลังใจและให้ความช่วยเหลือสนับสนุน โดยการให้กำลังใจของหมออาจจะเป็นสิ่งไม่มีคุณค่ามากนัก เมื่อเทียบกับสิ่งที่คนไข้ยังคงยึดโยงกับความรู้สึกถึงความอบอุ่นปลอดภัยที่สุดบนโลกใบนี้ในบ้านของพวกเขาเอง แต่ทว่าการนอนบนเตียงคนไข้ในห้องผู้ป่วยในโรงพยาบาล ได้ทำราวกับว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นบ้านหลังสุดท้ายที่เป็นสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุดกับชีวิตของผู้ป่วย..ซึ่งในความจริงควรจะเป็นที่บ้านของพวกเขามากกว่าแต่ในขณะเดียวกันบ้านก็ต้องมีความพร้อมในการดูแลรักษาและโรงพยาบาลต้องให้ความรู้สึกของการเป็นบ้านด้วย
การเปลี่ยนผ่านสู่แนวทางจิตวิทยาสังคมที่สะท้อนการเผชิญหน้าของคนไข้ที่อยู่ในสภาวะใกล้ตาย การเผชิญกับการเปลี่ยนผ่านของคนรอบข้าง ทั้งคู่ชีวิตของผู้ป่วยที่ต้องเผชิญหน้ากับความจริงในความเจ็บป่วยของคนที่รัก บ่อยครั้งที่คนไข้มองว่าครอบครัวของตัวเองต้องแบกรับภาระความรับผิดชอบทั้งหมด ที่นำไปสู่สาเหตุความกังวลใจ ความเครียดในชีวิตของคนไข้ คำพูดที่ว่า”คุณไม่ต้องกังวล จากนี้เป็นต้นไปฉันจะดูแลเอง” ที่เหมือนการปลอบประโลมใจที่ดีและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและดูราวกับจะสร้างความสุขในชีวิตให้กับผู้ป่วย ในขณะเดียวกันก็สร้างความเจ็บปวดและกดดันในชีวิตของผู้ป่วยได้เช่นกัน...
ทำอย่างไรจะทำให้โรงพยาบาลกลายเป็นบ้าน และทำให้บ้านกลายเป็นโรงพยาบาล ที่จะสามารถให้ทั้งความมั่นใจ ความอบอุ่น ปลอดภัย ให้กำลังใจและมีศักยภาพ มีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วย จึงเป็นความคิดสำคัญมาก เข่นเดียวกับความคิดในปัจจุบันเรื่องของการดูแลโดยนักจิตวิทยาเกี่ยวกับความตายและสภาวะใกล้ตาย การสูญเสีย มีการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น ซึ่งจะต้องขอบคุณอย่างมากกับการทำงานของ Hospics หรือสถานที่พักพิงดูแลผู้ป่วย และการจัดการที่หลากหลายเช่น Cruse-Bereavement Care พร้อมกับการให้คำปรึกษาแนะนำในสถานการณ์ของความสูญเสีย Hospics ถูกมองว่าเป็นหน่วยของการดูแลสุขภาพเช่นเดียวกับลักษณะของครอบครัวเสมอ ซึ่งรวมถึงตัวคนไข้ ที่ค่อนข้างจะเป็นความสัมพันธ์ของคนไข้กับครอบครัว เช่นเดียวกับทางเลือกพิเศษที่พวกเขาใช้ในช่วงที่มีชีวิตอยู่



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...