วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ทะลายกรอบการศึกษาแบบทวิลักษ์ โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

ารศึกษาเป็นกุญแจสำคัญที่จะเปิดหรือไขประตูสู่เสรีภาพ...หน้าที่ของการศึกษาคือการสอนให้คิดแบบเข้มข้น คิดแบบรอบด้าน คิดแบบวิพากษ์ คิดแบบสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเอง..การสอนคือการเปิดพื้นที่และเปิดโอกาส การอนุญาตให้นักเรียนของเราได้มองและเรียนรู้เกี่ยวกับความผิดพลาดและความไม่สมบูรณ์ด้วยตัวเขาเอง ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้แบบหนึ่ง..ที่สำคัญก็คือการศึกษาต้องวางอยู่บนพื้นฐานของการเปิดใจและการเคารพซึ่งกันและกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เรียนรู้จุดอ่อน จุดแข็ง ข้อดี ข้อเสีย ปัญหา ข้อผิดพลาดของกันและกันรวมถึงปัญหาเชิงโครงสร้างทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะนโยบายการศึกษาในบางประเด็น เพื่อแก้ไขและพัฒนาต่อไปให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป

ผมชอบคำของAris totle ที่บอกว่า Educating the mind without educating the heart is no education at all.
“ให้ความรู้แก่สมอง โดยที่หัวใจปราศจากการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับการไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย..”
Private & uniform ลำลองกับเครื่องแบบ
Format & content รูปแบบกับเนื้อหา
Surface & Deep เปลือกกับแก่น
Equal & Unequal เท่าเทียม ไม่เท่าเทียม
Freedom& without freedom เสรีภาพกับไร้เสรีภาพ
หากเข้าใจมันจริงๆ..ความสร้างสรรค์จะบังเกิดครับ ผมชอบมองแบบทลายทวิลักษณ์และมองแบบควอนตอมมากกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...