ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2011

โครงการฐานข้อมูลวิชาการ เครือข่ายพลเมืองปกป้องแผ่นดินเกิด

กว่า 5 ทศวรรษของกระบวนการพัฒนาประเทศไทย เพื่อก้าวไปสู่ความทันสมัยและเป็นประเทศผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เน้นการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ   มูลค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และรายได้ของประชาชน ต่อหัวซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความเจริญก้าวหน้าของ ประเทศในปัจจุบัน แต่ทว่าในขณะเดียวกัน การเจริญเติบโตดังกล่าวต้องแลกมาด้วย การใช้ประโยชน์ จาก ทรัพยากรธรรมชาติภายในประเทศจำนวนมหาศาล รวมทั้งความเสียสละของประชาชนในพื้นที่ ที่ถูกมองว่าเป็นคนกลุ่มน้อยที่ต้องทำเพื่อคนส่วนใหญ่ ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้กลายเป็นกลุ่มคนระดับล่างของกระบวนการพัฒนา และการตัดสินใจเชิงนโยบาย ซึ่งบางครั้งนโยบายการพัฒนาเหล่านั้นก็ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากกระบวนการกีดกันพวกเขาในฐานะเจ้าของพื้นที่ออกจากกระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อนโยบายของโครงการนั้นๆ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและคุณภาพชีวิตของพวกเขาในอนาคต ดังจะเห็น ได้จากการปรากฏตัวของชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆที่รวมกลุ่มกันต่อต้านนโยบาย การพัฒนาของภาครัฐ และเอกชนที่เกิดขึ้นในทั่วทุก...
กว่า 5 ทศวรรษของกระบวนการพัฒนาประเทศไทย เพื่อก้าวไปสู่ความทันสมัยและเป็นประเทศผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เน้นการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ   มูลค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และรายได้ของประชาชน ต่อหัวซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความเจริญก้าวหน้าของ ประเทศในปัจจุบัน แต่ทว่าในขณะเดียวกัน การเจริญเติบโตดังกล่าวต้องแลกมาด้วย การใช้ประโยชน์ จาก ทรัพยากรธรรมชาติภายในประเทศจำนวนมหาศาล รวมทั้งความเสียสละของประชาชนในพื้นที่ ที่ถูกมองว่าเป็นคนกลุ่มน้อยที่ต้องทำเพื่อคนส่วนใหญ่ ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้กลายเป็นกลุ่มคนระดับล่างของกระบวนการพัฒนา และการตัดสินใจเชิงนโยบาย ซึ่งบางครั้งนโยบายการพัฒนาเหล่านั้นก็ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากกระบวนการกีดกันพวกเขาในฐานะเจ้าของพื้นที่ออกจากกระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อนโยบายของโครงการนั้นๆ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและคุณภาพชีวิตของพวกเขาในอนาคต ดังจะเห็น ได้จากการปรากฏตัวของชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆที่รวมกลุ่มกันต่อต้านนโยบาย การพัฒนาของภาครัฐ และเอกชนที่เกิดขึ้นในทั่วทุก...

กว่า 5 ทศวรรษของกระบวนการพัฒนาประเทศไทย เพื่อก้าวไปสู่ความทันสมัยและเป็นประเทศผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เน้นการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ มูลค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และรายได้ของประชาชน ต่อหัวซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความเจริญก้าวหน้าของ ประเทศในปัจจุบัน แต่ทว่าในขณะเดียวกัน การเจริญเติบโตดังกล่าวต้องแลกมาด้วย การใช้ประโยชน์ จาก ทรัพยากรธรรมชาติภายในประเทศจำนวนมหาศาล รวมทั้งความเสียสละของประชาชนในพื้นที่ ที่ถูกมองว่าเป็นคนกลุ่มน้อยที่ต้องทำเพื่อคนส่วนใหญ่ ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้กลายเป็นกลุ่มคนระดับล่างของกระบวนการพัฒนา และการตัดสินใจเชิงนโยบาย ซึ่งบางครั้งนโยบายการพัฒนาเหล่านั้นก็ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากกระบวนการกีดกันพวกเขาในฐานะเจ้าของพื้นที่ออกจากกระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อนโยบายของโครงการนั้นๆ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและคุณภาพชีวิตของพวกเขาในอนาคต ดังจะเห็น ได้จากการปรากฏตัวของชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆที่รวมกลุ่มกันต่อต้านนโยบาย การพัฒนาของภาครัฐ และเอกชนที่เกิดขึ้นในทั่วทุกภาคของประเทศไทย รากเหง้าของความขัดแย้งดังกล่าว มีสาเหตุมาจากปัญหาในเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันและความขัดแย้งระหว่าง รัฐกับชาวบ้าน ชาวบ้านกับกลุ่มทุนข้ามชาติและชาวบ้านในพื้นที่ด้วยกันเอง กรณีปัญหาดังกล่าว ส่วนหนึ่งถูกนำเสนอต่อสาธารณะชน อีกส่วนหนึ่งไม่ถูกนำเสนอ ซึ่งทำให้ปัญหาดังกล่าวไม่ถูกรับรู้และสร้างให้พวกเขากลายเป็นชายขอบของการพัฒนา แม้ว่าในบางพื้นที่จะมีนักศึกษาและนักวิจัยเข้าไปทำการศึกษาประเด็นปัญหาเป็นจำนวนมาก แต่ชาวบ้านในพื้นที่ก็ยังขาดข้อมูลทางวิชาการเพื่อสนับสนุนการต่อสู้ของชาวบ้านในพื้นที่ เนื่องจากลักษณะของงานวิชาการเหล่านี้มีความหลากหลายตามสาขาวิชาและแหล่งทุนสนับสนุน เช่น งานข้อมูลบางชิ้นก็จัดทำโดยนักวิชาการที่กลุ่มทุนหรือบริษัทข้ามชาติ จ้างเข้ามาเก็บรวบรวมข้อมูลและทำวิจัยในพื้นที่เพื่อประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการ งานวิจัยบางชิ้นก็ถูกศึกษาโดยนักวิชาการในสถานศึกษาส่วนกลางหรือท้องถิ่นที่ได้รับทุนสนับสนุน หรือไม่ก็เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ผ่านกระบวนการทำวิทยานิพนธ์ หรือเป็นงานศึกษาขององค์การพัฒนาเอกชนเพื่อใช้ทำการเคลื่อนไหวต่อประเด็นปัญหาในพื้นที่ เป็นต้น งานวิจัยเหล่านี้มีทั้งในส่วนที่ชาวบ้านรับรู้และไม่รับรู้ ชาวบ้านมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัย ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ปัญหาไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลและความรู้เหล่านี้รวมทั้งไม่สามารถใช้ความรู้เหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ในการต่อสู้และเคลื่อนไหวในประเด็นปัญหาของพื้นที่ได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้พวกเขาต้องจำยอมต่อการพัฒนาดังกล่าวเพราะไม่อาจต่อสู้กับกระแสของการพัฒนาและนโยบายของรัฐและเอกชนที่ถาโถมเข้ามาเข้ามาในพื้นที่อย่างรวดเร็วและรุนแรงได้ ปรากฏการณ์ดังกล่าว สะท้อนให้เห็นปัญหาของงานด้านวิชาการ ที่เกิดจากนักวิชาการที่ทำงานเกี่ยวข้องกับข้อมูลประเด็นปัญหาในพื้นที่นั้น ยังไม่ได้มีการรวบรวมองค์ความรู้ งานวิจัยและงานศึกษาที่กระจัดกระจายอยู่ในหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนหรือแม้แต่ในกลุ่มชาวบ้านที่ทำการเคลื่อนไหวต่อสู้ด้วยการสร้างและรวบรวมความรู้ของตัวเอง (วิจัยไทบ้าน) อีกทั้งยังไม่ได้เชื่อมโยงเครือข่ายทางวิชาการ ในการใช้องค์ความรู้ที่มีชี้ให้เห็นทิศทางและแนวโน้มของนโยบายการพัฒนา ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประเด็นปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทรัพยากรเช่น ป่าไม้ ที่ดิน แร่ธาตุ อุตสาหกรรม และพลังงาน ที่มีผลกระทบและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตทางสังคมวัฒนธรรมของพวกเขา ดังนั้นงานสังเคราะห์และประมวลความรู้ชิ้นนี้ จึงน่าจะมีประโยชน์ในการรวบรวมความรู้ที่กระจัดกระจายให้เป็นระบบและหมวดหมู่เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้ประโยชน์ และสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการคาดคะเนถึงทิศทางการพัฒนาในอนาคต และเป็นข้อมูลที่สามารถนำมาสร้างเป็นแผนที่เป้าหมาย ที่รวบรวมและสะท้อนให้เห็นปัญหาของพื้นที่ แกนนำต่อสู้ในพื้นที่ กลุ่มทุนในพื้นที่ และเครือข่ายวิชาการในพื้นที่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการต่อสู้เคลื่อนไหวของพื้นที่กรณีปัญหาและเครือข่ายต่อไป รวมทั้งฐานข้อมูลเหล่านี้ยังเป็นประโยชน์สำหรับนักวิชาการที่จะนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการศึกษาและวิจัยต่อไป และนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดคือความร่วมมือระหว่างนักวิชาการและชาวบ้าน ที่สามารถนำไปสูการสร้างเครือข่ายทางวิชาการที่เข้มแข็งและใช้ความรู้ทางวิชาการในการหนุนเสริมการต่อสู้ร่วมของชาวบ้านในพื้นที่กรณีปัญหาในอนาคต

ตัวเราของเรา

ผมไม่อยากรู้ทุกอย่าง เพาะถ้ารู้ทุกอย่าง นั่นก็หมายความว่า ในชีวิตของผมไม่ต้องทำอะไรอีกต่อไป เพราะผมรู้หมดแล้ว จะต้องไปกระตือรือร้นที่จะศึกษาหาความรู้อะไร แต่สำหรับผมไม่ใช่ ผมไม่อยากเป้นต้นแบบใคร หรือเอาใครมาเป็นต้นแบบ ไม่ใช่พราะผมไม่ดีพอ หรือไม่มีใครดีพอ แต่ถ้าผมทำอย่างนั้น เท่ากับว่าผมไม่เหลือคุณค่าในตัวเอง ศักดิ์ศรีของตัวเอง ที่มีความเฉพาะตัว ไม่เหมือนใคร ไม่มีใครเลียนแบบได้ คนอย่างนายต้นมีคนเดียวในโลก ผมไม่อยากตัดสินใจอะไร เพราะไม่ใช่นิสัยผม ผมแคร์คนอื่นมากกว่าแคร์ตัวเอง ผมเหมือนอะไรก็ได้ เพราะผมไม่เลือกมาก อยู่อย่างไหนก็ได้ ทำไมต้องเลือก ถ้าโลกไม่แตกหรือคอขาดบาดตาย จะต้องเลือกไปทำไม ต่างคนต่างก็มีความต้องการของตัวเอง เพียงแต่ด้วยความเกรงใจคนอื่นทำให้ไม่กล้าพูด แต่ผมพูดด้เลยว่าผมยังไงก็ได้ ไม่เคยมีตัวเลือกใในใจ นั่นคือนิสัยสันดานของผม

เลวี่ เสตร๊าท์ กับโครงสร้างนิยม (2)

คุณูปการของแนวคิดเชิงโครงสร้างนิยม การให้ความสำคัญกับความคิดของคนชายขอบ ความคิดของคนพื้นเมืองดั้งเดิม ที่ถูกมองว่าล้าหลัง เป็นวิธีคิดแบบไสยศาสตร์มากกว่าวิทยาศาสตร์ ดังความคิดเกี่ยวกับศาสตร์เชิงรูปธรรม ( Bricolage )ที่เลวี่ สเตร๊าท์ศึกษา พบว่า ผู้ชายเผ่าเนกริโท( Negrito )สามารถจดจำและจำแนกชื่อต้นไม้ได้อย่างสบายๆถึง 450 ชนิด นก 75 ชนิด และ มด 20 ชนิด เด็กจากเผ่าตุยกุย ( Tyukyu ) สามารถบอกชนิดและเพศของต้นไม้จากเศษเปลือกไม้ที่พบ หรือบอกได้จากการดมกลิ่นหรือดูจากความแข็งของเนื้อไม้ว่าเป็นต้นไม้ชนิดใด อินเดียนเผ่าโคฮุยลา ( Coahuila ) ที่รู้จักพืชที่กินได้ถึง 60 กว่าชนิด และสมุนไพรที่เป็นยาอีก 28 ชนิด ชนเผ่าโฮปี( Hopi )รู้จักพืชถึง 350 ชนิด และเผ่านาวาโฮ ( Navaho )รู้จักพืชที่ 500 ชนิด เป็นต้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวน่าสนใจว่า คนดั้งเดิมเหล่านี้ สามารถคิดได้ไกลกว่าเรื่องประโยชน์ใช้สอยอย่างแคบๆ สามารถคิดถึงสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ใช้สอยโดยตรงรวมอยู่ด้วย คนเผ่าโบราณดั้งเดิมมีความรอบรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางชีวภาพเป็นอย่างมาก คือ รู้จักธรรมชาติและอยู่กับธรรมชาต...

เลวี่ เสตร๊าท์ กับโครงสร้างนิยม (1)

Ferdinance De Saussure ผู้มีอิทธิพลสำคัญกับแนวคิดโครงสร้างนิยมของเลวี่ สเตร๊าท์ เลวี่ สเตร๊าท์ ได้เริ่มประยุกต์ใช้วิธีการทางภาษาศาสตร์ มาศึกษาทางมานุษยวิทยาโครงสร้างของเขา  ที่ได้เปิดเส้นทางของการศึกษางานชาติพันธุ์วรรณา  ระบบความคิด กฎเกณฑ์ทางวัฒนธรรม ที่สัมพันธ์กับเรื่องของภาษา และมีการรับมาใช้โดยนักสัญวิทยาและวรรณคดีวิจารณ์อย่างโรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) และนักโครงสร้างนิยมคนอื่นๆ การร่วมงานกันระหว่างเลววี่ สเตร๊าท์และนักภาษาศาสตร์ชาวรัสเซีย ที่ชื่อ โรมัน ยาค็อบสัน (Roman Jakobson;1895-1982) ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1940 ที่จาค็อบสัน ได้นำรูปแบบความคิดแบบคู่แย้งชองโซซูร์ มาประยุกต์ใช้ศึกษาอาการทางประสาทของการพูดไม่ได้หรือไม่เข้าใจคำพูด หรือความบกพร่องในการเลือกคำในเชิงกระบวนชุด และความบกพร่องในการเชื่อมโยงถ้อยคำในเชิงกระแสความ ที่เรียกว่า Aphasia ที่ปรากฎในงานของเขาชื่อ Fundamental of Language ซึ่งเขาสนใจเรื่องการอุปมาเปรียบเทียบ การใช้สิ่งหนึ่งแทนสิ่งหนึ่ง ที่เป็นเรื่องของการแทนที่ การเป็นตัวแทน การทดแทนในเชิงกระบวนชุดที่มีลักษณะก...

เลวี่ สเตร๊าท์ กับโครงสร้างนิยม

เลวี่ สเตร๊าท์ นักมนุษยวิทยาโครงสร้างนิยม กับการศึกษาแนวภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้าง การเกิดขึ้นของสำนักโครงสร้างนิยม(Structuralism) ในช่วงปี1960 ที่นำโดยเลวี่ สเตร๊าท์ ในความเรียงอัตชีวประวัติของเขาชื่อ Tristes Tropiques(1958) ในหัวข้อเฉพาะเกี่ยวกับโครงสร้างของนิยายปรัมปรา(myth) ที่มีเรื่องราวของแอ็ดดิวอล(Story of Adiwal:1967) รวมถึงการบรรยายครั้งแรกที่College de France ในหัวข้อขอบเขตทางมานุษยวิทยา(Scope of Anthropology:1967)  และการกลับมาวิเคราะห์ของเขาในการนับถือสัญลักษณ์ของพืชและสัตว์(Totemic illusion)ในเรื่องTotemism(1963) และการศึกษาความคิดของคนป่าและศาสตร์เชิงรูปธรรมใน เรื่อง The Savage mind (1966)  เลวี่ สเตร๊าท์ คาดหวังกับการค้นพบรูปธรรมและตรรกะของจิตใต้สำนึก ในความคิดของคนป่าที่นำไปสู่การวิเคราะห์โครงสร้างและสัญวิทยา เกี่ยวกับนิทานปรัมปรา การตีความหมายในพิธีกรรม การใช้ถ้อยคำ คำพูดและเหตุการณ์เกี่ยวกับสัญลักษณ์อื่นๆของวัฒนธรรม ที่เป็นของคนพื้นเมือง นี่คือแนวทางของเลวี่ สเตร๊าท์ ในการศึกษาแบบโครงสร้างนิยม ที่วิเคราะห์ปฎิบัติการทางภาษาศาสตร์ การสร้างความหมายเกี่ยวกับนิทาน...