วันพุธที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2567

มานุษยวิทยากับปรัชญาว่าด้วยการทำความเข้าใจมนุษย์ โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ผมชอบวิชาปรัชญามากเคยเรียนในตอนป.ตรีและป.เอก และเคยคิดอยากจะเปิดวิขา ที่ว่าด้วยการถกถึงความเป็นมนุษย์ ผมมองว่าปรัชญาเป็นที่รู้จักในฐานะศาสตร์แห่งศาสตร์ทั้งปวงและเป็นเสมือนพื้นฐานของความรู้ทั้งหมด ดังนั้นจึงเกี่ยวข้องกับการศึกษาทางมานุษยวิทยาเพราะปรัชญาคือการทำความเข้าใจมนุษยชาติอย่างชัดเจน …มานุษยวิทยาศึกษาธรรมชาติของมนุษยชาติที่เกี่ยวข้องกับปัญหาปรัชญาต่างๆ มนุษย์เกิดยังไง มนุษย์คืออะไร ทำไมต้องตาย ตายแล้วไปไหน ทำไมมนุษย์ต้องอยู่รวมกัน และอื่นๆ นักมานุษยวิทยาได้รับทฤษฎีและแนวความคิดเกือบทั้งหมดจากรากฐานทางปรัชญา เนื่องจากทุกแง่มุมของธรรมชาติของมนุษย์ได้รับการอธิบายอย่างละเอียด มานุษยวิทยาเชิงปรัชญา มีระเบียบวธีการศึกษาในปรัชญาที่พยายามรวมการสืบค้นข้อมูลเชิงประจักษ์หลายประการเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์เข้าด้วยกัน ด้วยความพยายามที่จะเข้าใจแต่ละบุคคลในฐานะที่เป็นทั้งสิ่งมีชีวิตในสภาพแวดล้อมและเป็นผู้สร้างคุณค่าของตนเอง ในศตวรรษที่ 18 “มานุษยวิทยา” เป็นสาขาวิชาปรัชญาที่ให้เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญาและมานุษยวิทยา นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงการติดต่อสื่อสารอย่างใกล้ชิดบนพื้นฐานของอภิปรัชญา จริยธรรม ญาณวิทยา ภาษา วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม การศึกษาวิวัฒนาการของมานุษยวิทยาที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ปรัชญาซึ่งรวมถึง ปรัชญากรีกโบราณ ยุคกลาง และสมัยใหม่ การย้อนกลับไปสืบค้นว่านักปรัชญาตีความเนื้อหาสาระทางมานุษยวิทยาอย่างไร เนื่องจากมานุษยวิทยาเป็นการศึกษาเรื่อง มนุษย์และเป็นการศึกษาเชิงอภิปรัชญาเกี่ยวกับบุคคล การสืบค้นเกี่ยวกับจริยธรรม สุนทรียศาสตร์ เหตุผล สิ่งแวดล้อม ร่างกาย และจิตใจ บทความนี้นำเสนอบทบาทและมิติของมนุษย์ภายในขอบเขตของเวลา พื้นที่ สิ่งแวดล้อม การดำรงอยู่ และภาษา มานุษยวิทยามีรากฐานมาจากคำภาษากรีก Anthropos ซึ่งแปลว่ามนุษย์ หมายความว่าชาวกรีกมีความรอบรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์นี้เป็นอย่างดี แต่ในช่วงเวลาหรือยุคสมัยการเกิดขึ้นของปรัชญากรีก ศาสตร์เกี่ยวกับมนุษยชาติยังไม่ได้รับการจำแนกประเภท ดังนั้น สิ่งที่ชาวกรีกอธิบายและให้คำจำกัดความของมนุษย์ พวกเขาให้คำจำกัดความไว้ภายใต้ขอบเขตของปรัชญา ที่สามารถนำไปสู่ข้อสันนิษฐานและข้ออนุมานได้ว่ามานุษยวิทยามีรากฐานมาจากปรัชญา ดังนั้นศาสตร์ทางมานุษยวิทยาปรากฏอยู่ในความคิดและผลงานของนักปรัชญาชาวกรีกอย่างชัดเจน ภายใต้คำถามสำคัญ ว่า อะไรทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์? บทบาทของมนุษย์ในโลกคืออะไร? วัฒนธรรมของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร? วิญญาณและร่างกายเป็นองค์ประกอบในตัวของมนุษย์อย่างไร? บทบาทของภาษาในการพัฒนาความเป็นมนุษย์คืออะไร? มนุษย์มีวิวัฒนาการอย่างไรตามบริบทเชิงเวลาและสถานที่เฉพาะ พัฒนาการทฤษฎีของมนุษย์มีอะไรบ้าง เช่น ทฤษฎีวิวัฒนาการ ทฤษฎีศาสนา ทฤษฎีทางจิตวิญญาณ ทฤษฎีทางชีววิทยา และทฤษฎีจิตวิทยา คำถามเหล่านี้มีคำตอบในปรัชญา แต่ปรัชญาได้ให้คำตอบไว้แล้วสำหรับคำถามเหล่านี้ ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายในเชิงปรัชญา เริ่มจากนักปรัชญากรีกอย่าง Thales บอกว่า 'ทุกสิ่งคือน้ำไม่เว้นแม้แต่มนุษย์ ซึ่งบอกเป็นนัยว่ามนุษย์สร้างขึ้นมาจากน้ำ ในขณะที่นักปรัชญาอย่าง Anaximande บอกว่ามันคือ Aperion ซึ่งเชื่อว่าทุกสิ่งคืออากาศที่บอกเป็นนัยว่ามนุษย์ก็ถูกประกอบสร้างด้วยอากาศเช่นกัน Heraclitus มองว่า มนุษย์กำลังอยู่ในสภาวะของการเปลี่ยนแปลง (เราไม่สามารถก้าวลงสู่แม่น้ำสายเดียวกันได้สองครั้ง ซึ่งหมายถึงว่ามนุษย์อยู่ในภาวะของความไม่คงที่ มนุษย์กำลังเปลี่ยนแปลงทั้งกายและใจอยู่ตลอดเวลา) Anaxagoras บอกว่า มนุษย์ประกอบด้วยธาตุทั้งสี่ ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ และลม ซึ่งคล้ายกับ Democritus ที่บอกว่า มนุษย์คือมวลรวมของอะตอม หรือ Plato ที่บอกว่า มนุษย์ประกอบด้วยร่างกายและจิตวิญญาณ ในขณะที่่ Aristotle บอกว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีเหตุผล Sigmund Freud บอกว่ามนุษย์ประกอบด้วยสามลักษณะบุคลิกภาพคือ Id, Ego และ Super Ego ส่วนนักปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่ อย่าง Descartes ที่มองว่ามนุษย์คิดจึงเป็นตัวมนุษย์ (Man is thinking being) Kant มองว่า มนุษย์ใช้ความเข้าใจและการรับรู้ความรู้สึกในการตัดสิน Kierkegaard เชื่อว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ (existential beings) Socrates เชื่อว่ามนุษย์ควรรู้จักตนเอง Wittgenstein มองว่ามนุษย์ควรทำให้ภาษาของตนง่ายและชัดเจนเพื่อเปลี่ยนแปลงและสื่อสารความคิดและเทคโนโลยีของตน เราสามารถสำรวจธรรมชาติของมนุษย์ได้ผ่านการสะท้อนปรัชญาของปรัชญาโบราณ ยุคกลางและสมัยใหม่ และยังมีทฤษฎีปรัชญาที่แตกต่างกันอีกด้วย ดังนั้นทั้งปรัชญาและมานุษยวิทยามีหน้าที่ที่ต้องค้นพบเหมือนกัน ภายใต้ปรัชญาศึกษาขั้นพื้นฐานปัญหาต่างๆ เช่น การดำรงอยู่ ความรู้ จิตสำนึก ความเข้าใจ สาเหตุ จิตใจ ร่างกาย เวลา อวกาศ โลก ตัวตน และความเป็นจริง ในแนวทางคู่ขนานเดียวกันได้ อ่านเพื่อสร้างไอเดีย ไปสอนมานุษยวิทยาว่าด้วยร่างกาย..ความเป็นมนุษย์ถูกถอดรื้อไปมาก ตั้งแต่การเติบโตของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การเติบโตของทุนนิยมและการบริโภค การพัฒนาของเทคโนโลยีต่างๆ เช่น ไซบอร์กบอดี้ ศัลยกรรม และอื่นๆ รวมถึงการเคลื่อนไหวของประเด็นความหลากหลายทางเพศ การที่มนุษย์ไม่ได้เป็นศูนย์กลางหรือประเด็นสำคัญของการศึึกษา แต่สิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์มีบทบาทมากขึ้น …ทำให้แนวคิดทางปรัชญาเดิมถูกท้าทายและตั้งคำถามอย่างมากมาย …

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...