วันพุธที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2567

มานุษยวิทยาว่าด้วยประสบการณ์ (Anthropology of Experiences) โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

มานุษยวิทยาเป็นสาขาวิชาที่ศึกษาทุกแง่มุมของประสบการณ์ของมนุษย์ ทั้งภาษา วัฒนธรรม และชีววิทยา ตั้งแต่อดีตสมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน โดยธรรมชาติแล้ว การวิจัยของนักมานุษยวิทยามีลักษณะเป็นแบบงานชาติพันธุ์วรรณา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาแบบ Mixed Method จนปัจจุบันที่ใช้วิธีการแบบสหวิทยาการมากขึ้น ที่อาศัยความเชื่อมโยงจากเลนส์และจุดแข็งทางภูมิปัญญาของสาขาต่างๆ มาใช้ในการวิจัยปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรม มานุษยวิทยา สนใจข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ต้นกำเนิด ความหลากหลาย และความซับซ้อนของสังคมและความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชีวิตมนุษย์ การศึกษามานุษยวิทยาจำเป็นต้องนำไปสู่ความเข้าใจที่มากขึ้นเกี่ยวกับประเพณีและการปฏิบัติทางวัฒนธรรมจากช่วงเวลาและบริบททางภูมิศาสตร์ที่ต่างกัน นี่เป็นพื้นฐานของการทำความเข้าใจความซับซ้อนของโลกสมัยใหม่ ทั้งในแง่ของปฏิสัมพันธ์ภายใต้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และในแง่ของความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและทางสังคม ผมสนใจ มานุษยวิทยาว่าด้วยประสบการณ์ (Anthropology of experience) ซึ่งได้ทำการตั้งคำถามและสำรวจว่า ผู้คนในที่ต่างๆสัมผัสประสบการณ์วัฒนธรรมของตนอย่างไร และประสบการณ์เหล่านั้นถูกแสดงออกในรูปแบบต่างๆ กันอย่างไร ตัวอย่างเช่น การเล่าเรื่องงานวรรณกรรม ละคร งานรื่นเริง พิธีกรรม การรำลึกถึง และการทบทวนชีวิต การศึกษาเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนที่ทำงานในทฤษฎีมานุษยวิทยาเชิงสัญลักษณ์ มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย และมีประโยชน์สำหรับนักสังคมศาสตร์ นักคติชนวิทยา นักทฤษฎีวรรณกรรม และนักปรัชญาคนอื่นๆ ด้วย ผมมองว่าความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์และการแสดงออกนั้นเป็นปัญหาอยู่เสมอ ดังนั้นเป็นไปไม่ได้ที่เราจะรู้ประสบการณ์ของคนอื่นโดยสมบูรณ์ เพราะทุกคนมีภูมิหลัง และบอกเล่าเรื่องราวที่แตกต่างกันรวมทั้งเน้นประสบการณ์ด้านอื่นๆ นั่นคือเหตุผลดังที่ที่ดิลเต้(Dilthey) ได้แนะนำให้มีการศึกษา ตีความ และศึกษาการแสดงออกของประสบการณ์ เช่น การเป็นภาพตัวแทน การแสดงออก และข้อความที่ใช้สื่อสารแทน (representations, performances and texts ) ดังนั้นจริงๆแล้วเราเข้าใจผู้อื่นบนพื้นฐานของประสบการณ์ของเราเอง ประสบการณ์ภายในนั้นสามารถได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมที่เราอาศัยอยู่ ในทางกลับกัน สิ่งที่พ้นเลยจากความเป็นจริงคือประสบการณ์และการแสดงออก ประสบการณ์คือวิธีที่ความเป็นจริงนำเสนอต่อจิตสำนึกของเราอย่างไร( Experience is how reality presents itself to our consciousness ) การแสดงออกคือวิธีที่ประสบการณ์ส่วนบุคคลนี้ถูกวางกรอบและเชื่อมต่อเกาะเกี่ยว expression is how this individual experience is framed and articulated )ในการแสดงออก เราจะต้องตัดสินใจเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของเรื่องราว (story) ของเรา เราจะต้องตัดบางส่วนออกจากกระแสชีวิตที่ต่อเนื่องของเรา ตามคำอธิบายของ Dilthey บอกว่า เราไม่สามารถสัมผัสได้ถึงกระแสชีวิตที่ดำเนินอยู่ โดยการศึกษาวัฒนธรรมผ่านการแสดงออกของผู้คนเพียงอย่างเดียว แต่หน่วยการวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานจะถูกสร้างขึ้นโดยผู้คนที่เรากำลังศึกษาอยู่ มากกว่าที่จะกำหนดโดยผู้สังเกตการณ์จากภายนอก จากนั้นเราก็ต้องตีความผู้คนในขณะที่พวกเขาก็กำลังตีความตัวเองผ่านการแสดงออกทางศิลปะและวัฒนธรรม เราทำความเข้าใจประสบการณ์โดยจับคู่ประสบการณ์เหล่านี้กับวัฒนธรรมและภาษาที่นำเรามาจากอดีต เข้ามาเชื่อมโยงกับคุณค่าและความเชื่อทางวัฒนธรรม Dilthey และ Dewey อธิบายว่าชีวิตเป็น "ความสั่นรัวและเต้นขยับเป็นจังหวะ" (pulsating and rhythmical )ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่าง การแตกแยก การหยุดพัก และการกลับมาพบกันใหม่ (breaks and re-unions) ถือเป็นช่วงเวลาคั่นกลางสำหรับการเติมเต็มประสบการณ์ (Moments of fulfilment punctuate experience ) ของพวกเรา Dewey บอกว่ามันคือ “การเปลี่ยนผ่านจากความวุ่นวายไปสู่ความกลมกลืนคือช่วงชีวิตที่เข้มข้นที่สุด” (the passage from disturbance into harmony is that of intensest life ) ดังนั้นประสบการณ์เป็นการปะทุเกิดขึ้นมาจากกิจวัตรประจำวัน และประสบการณ์นั้นเป็นสิ่งที่กระตุ้นการแสดงออก ดังเช่นที่ Dilthey ศิลปะขึ้นอยู่กับแรงกระตุ้นที่จะสารภาพหรือประกาศ เขาเน้นย้ำว่าสุนทรียภาพนั้นเกิดจากประสบการณ์ของมนุษย์ที่สมเหตุสมผล หรือ Victor Turner อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงานของเขาใน 'ละครทางสังคม' (social drama ) การแก้ไขความขัดแย้งทางสังคมโดยการดำเนินการแก้ไขผ่านพิธีกรรม เช่น กฎหมาย ศาสนา หรือพิธีการอื่นๆ และวิธีที่กระบวนการนี้ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรม… งานทางมานุษยวิทยามีแง่มุมที่น่าสนใจในการดึงประสบการณ์ตัวเองในสนาม และประสบการณ์ในชีวิตของผู้คนในสนามมาบอกเล่า อธิบายและตีความ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...