วันพุธที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2567

สนามและบันทึกสนามทางมานุษยวิทยา โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

ผมนั่งจด นั่งทำอะไรในสนาม..หรือออกจากสนามก็มานั่งทบทวนเรื่องราวที่จำได้ แต่เขียนไม่หมด ต้องมาเติมเพิ่มเสริมความรู้ที่ยังไม่เข้าใจ เข้าใจไม่ชัด หรือคอนเฟิร์มข้อมูลสนามอยู่เรื่อยๆ บางส่วนยังไม่มีข้อมูลต้องกลับไปถามใหม่ สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม เข้าไปร่วมสังเกตการณ์พิธีกรรม .. การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ถือเป็นส่วนสำคัญที่เป็นเสมือนชุดเครื่องมือระเบียบวิธีวิทยาของนักมานุษยวิทยา แนวการปฏิบัตินี้ช่วยให้นักชาติพันธุ์วิทยา(Ethnology) นักชาติพันธุ์วรรณนา (ethnographer) หรือนักมานุษยวิทยา (Anthropologist) สามารถพัฒนาการเก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับคู่สนทนาหรือผู้ให้ข้อมูลสำคัญในสนาม ตลอดจนการมีปฏิสัมพันธ์กับปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมทั้งแบบมีส่วนร่วมแบะไม่มีส่วนร่วม รวมถึงการเรียนรู้ภาษาท้องถิ่นที่สำคัญที่สุดสำหรับนักมานุษยวิทยา Fieldnotes ถือเป็นทรัพยากรสำคัญที่ช่วยให้เราจัดทำเอกสารและจัดระเบียบข้อมูลที่เรารวบรวมไว้ สิ่งเหล่านี้มีประโยชน์อย่างยิ่ง ทั้งในช่วงเข้าไปในสนามและภายหลังจากการได้เข้าไปพูดคุยและสังเกตการณ์(participant observation)หรือเหตุการณ์ทางวัฒนธรรมในช่วงเวลา ในบริบทที่แตกต่างกัน ได้ทบทวนมุมมองในแบบคนใน(Emic view) และคนนอก(Eric View) เพื่อตรวจสอบข้อมูล และตีความข้อมูลภายใต้กรอบแนวคิดทฤษฎีทางมานุษยวิทย า โดยการเขียนบันทึกภาคสนามในระหว่างการสังเกต และการเพิ่มเติมทันทีหลังการสังเกต นั่นคือหลังจากที่พวกเราออกจากพื้นที่ภาคสนามแล้ว เราก็ควรนั่งลงในที่เงียบสงบและเรียบเรียงข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อกรอกรายละเอียดที่ขาดหายไปในการทำงานภาคสนาม (สมัยนี้ใช้เทปอัดเสียงก็ใช้การฟังเทปที่อัดเพื่อเก็บรายละเอียดที่เราบันทึกไม่หมดระหว่างการวัมภาษณ์) การทบทวนคู่สนทนาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงบทบาทของตัวเราเองที่เขื่อมโยงกับข้อมูล อันเกิดจากปฏิสัมพันธ์ในสนาม ตลอดจนความประทับใจของคุณเอง ต่อผู้คน เหตุการณ์ของสิ่งที่เกิดขึ้น Chiseri-Strater และ Sunstein (1997) ได้พัฒนารายการสิ่งที่ควรรวมอยู่ใน fieldnotes ทั้งหมด ประกอบด้วย วัน เวลา และสถานที่สังเกตการณ์ ข้อเท็จจริงเฉพาะ ตัวเลขที่จำเป็นอายุ ปีที่เกิดเหตุการณ์ รายละเอียดของสิ่งที่เกิดขึ้นที่สนามและผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆในการให้ข้อมูล หรือมีส่วนร่วมในพิธีกรรม รวมถึงประสาทสัมผัส ภาพที่เห็น เสียงที่ได้ยิน พื้นผิวที่สัมผัส กลิ่นที่จมูกรับรู้ รสชาติของอาหาร เป็นต้น อีกทั้งการตอบสนอของเราเองต่อข้อเท็จจริงของการบันทึก fieldnotes ที่อาจเป็นข้อสังเกต ความคิดเห็น การบันทึก คำเฉพาะ วลีสำคัญ บทสนทนา และภาษาของคนพื้นถิ่น คนข้างใน ส่วนรูปแบบการเขียน ก็ปรับให้สอดคล้องกับประเด็นที่เก็บและสไตล์การเขียนของแต่ละคน ไม่มีกำหนดตายตัวครับ วิธีการทำงานสนามจึงค่อนข้างยืดหยุ่น ไม่จำเป็นต้องใช้สมุดจด อาจใช้แทบเลตที่เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่มาจดแทนสมุดได้หากมี หรืออาจใช้ภาพประกอบ ทำกราฟฟิก แผนภูมิผัง ใช้การบันทึกเสียงช่วย หรือใช้การวาดภาพ นี่คือการทำงานภาคสนาม และการบันทึกสนาม บันทึกสนามของผมบางส่วนใช้ทั้งภาพและภาษาเขียน ภาพวาดบางครั้งเชื่อมโยงกับข้อห้าม เช่น ห้ามถ่ายภาพเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ ผมจึงเขียนหรือร่างภาพเจดีย์ องค์ประกอบในงาน ผมใช้บันทึกเสียงดนตรี การโห่ร้องยินดี แทนการถ่ายวีดีโอในพื้นที่เจดีย์ เพื่อให้เห็นบรรยากาศ ทุกอย่างไม่ใช่แค่การเขียน การเก็บเรื่องราว แต่คือการเคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลายด้วย ผมต้องขอบคุณท่านอาจารย์สุริยา สมุทคุปติ์และอ.ดร.พัฒนา กิติอาษา ที่เป็นครูภาคสนามของผมและฝึกให้ผมทำงานภาคสนามเป็นจากเป็นผู้ช่วยวิจัย ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในโปรเจคมวยไทยและหมอลำซิ่ง…คนทีเป็นคนชอบเขียน มักจะต้องชอบอ่าน ชอบสืบค้นข้อมูล เพือเป็นวัตถุดิบในการเขียน และสร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเอง ***อ้างอิง*** Chiseri-Strater, Elizabeth and Bonnie Stone Sunstein. 1997 Field Working: Reading and Writing Research. Blair Press: Upper Saddle River, NJ. Emerson, Robert M., Rachel I. Fretz, and Linda L. Shaw. 1995 Writing Ethnographic Fieldnotes. Chicago: University of Chicago Press. Sanjek, Roger, ed. 1990. Fieldnotes: The Makings of Anthropology. Ithaca: Cornell University Press

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...