วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

คนไร้บ้านกับโควิด โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ***ชีวิตที่อยู่อย่างไร้ตัวตน โควิดกับคนไร้บ้าน***

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดในปัจจุบัน ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่เท่าเทียมกันในทุกภาคส่วนของสังคม ผู้ที่ประสบปัญหาการไร้บ้านอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากกว่าคนอื่นๆ อันเนื่องมาจากความเสี่ยงในการแพร่เชื้อในพื้นที่สาธารณะ ที่พักของคนไร้บ้านในสถานพักพิงและปัญหาอุปสรรคต่อพฤติกรรมป้องกันสุขภาพ เช่น การต้องล้างมือเป็นประจำแต่ไม่มีน้ำอุปโภค การไม่สวมหน้ากากเนื่องจากไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน และการหลีกเลี่ยงการติดต่อกับผู้อื่นในสังคม ในช่วงของการระบาดของ COVID-19
ผู้ที่ประสบปัญหาการไร้ที่อยู่อาศัยหรือคนไร้บ้านมีความเปราะบางอ่อนไหวต่อการติดเชื้อตามอาการป่วยและการเสียชีวิตจาก COVID-19 ค่อนข้างสูงมาก เนื่องจากสภาพความเป็นอยู่ของพวกเขาและไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลตามปกติได้ ตัวอย่างงานวิจัยในอมริกาพบว่าอัตราการเสียชีวิตของคนเร่ร่อนในนิวยอร์กสูงกว่าคนมีบ้านพักอาศัยในพื้นที่เขตเมือง
คนไร้บัานเป็นเหยื่อที่มองไม่เห็นในสถานการณ์ของ Covid-19 ซึ่งพวกเขาอยู่ในลักษณะชายขอบไม่เพียงแค่ในการใช้ชีวิตและการใช้พื้นที่ แต่ยังอยู่ในชายขอบของความตายด้วย แม้จะมีสถิติรายวันที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตในประเทศจากโควิด-19 ในประเทศไทย แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่มีใครรู้ว่ามีคนเร่ร่อน ไร้บ้านจำนวนเท่าใดที่ป่วยและเสียชีวิตจากโควิดไปจำนวนเท่าใดแล้วตอนนี้ ที่ควรได้รับบริการสุขภาพ ทั้งยา ทั้งวัคซีน ทั้งสถานที่ดูแลยามเจ็บป่วยและอื่นๆ
อีกทั้งยังไม่นับคนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ที่เป็นผู้อพยพไร้บ้านหรือแรงงานข้ามชาติทุกคนที่ควรได้รับอนุญาตให้เข้าถึงบริการสุขภาพ สถานที่อยู่อาศัยปลอดภัยและเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤตสุขภาพของโลกในเรื่องโรคระบาด โดยไม่คำนึงถึงสถานะการเข้าเมืองของผู้คนเหล่านั้นว่าผิดหรือถูกกฏหมาย แต่มองเขาในฐานะของความเป็นมนุษย์ร่วมโลก เป็นพลเมืองแห่งโลกและควรคำนึงถึงสิทธิเรื่องนี้ในทุกประเทศอย่างเท่าเทียมกัน
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...