วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

บุญผะเหวด กาฬสินธ์ุ สนามในความทรงจำ โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 นึกถึงสนามที่บ้านโนนตูม ตำบลตอกแป้น อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

บุญผะเหวด เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวอีสาน ตามฮีตสิบสองคองสิบสี่ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เป็นบุญประเพณีที่จัดขึ้นในช่วงเดือนสี่(เดือนมีนาคม)ของทุกปี เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตการเกษตรและการสืบต่อพระพุทธศาสนา โดยประเพณีดังกล่าว เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของเกษตรกรที่ทำนาปลูกข้าว ที่พวกเขาจะนำผลผลิตที่ได้มาทำข้าวต้ม ขนมจีน ข้าวเกรียบ และข้าวสารเพื่อถวายพระและเป็นกัณฑ์เทศน์รวมทั้งเชื่อมโยงกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ที่เกี่ยวข้องกับตำนานชาดกในเรื่องพระเวสสันดร ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในเรื่องของทานบารมี มีการเชิญพระอุปครุฑและการแห่พระเวสสันดร(ผ้าเขียนภาพชาดกทั้ง13กัณฑ์) จากหนองน้ำในหมู่บ้านเข้าไปในวัด ในประเพณีดังกล่าวจะมีการเทศน์มหาชาติทั้งหมด 13 กัณฑ์ พันพระคาถา และมีการเทศน์มาลัยหมื่นมาลัยแสน ตั้งแต่เช้าจนถึงมืด และมีการแห่กันหลอน (ต้นเงิน) เพื่อถวายวัด ภายในวัดจะมีการประดับประดาธรรมมาศน์สำหรับให้พระขึ้นเทศน์กัณฑ์ต่างๆ ด้วยกล้วย อ้อย ดอกไม้ ดอกโน และสิ่งประดับต่างๆ เช่น ปลาตะเพียนสาน นกสาน ใยแมงมุม พวงมาลัย กระดาษสีที่ตัดเป็นรูปทรงต่างๆ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าบุญผะเหวดเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของชุมชน ที่เป็นการสร้างความสามัคคีและความเป็นอันหนึ่งเดียวกันของคนในชุมชน และสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนผ่านการเข้ามาร่วมกิจกรรม
สนามที่นี่ประมาณปีพ.ศ. 2553 ภาพจากกล้องถ่ายรูป ได้มองเห็นวิถีงาม ถิ่นวัฒนธรรมอีสาน




















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...