วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

มุมมองทางมานุษยวิทยากับปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด 19 โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ญหาทุกอย่างจะแก้ไขได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว หากรู้สาเหตุ เข้าใจธรรมชาติของปัญหาและออกแบบเครื่องมือในการแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด ลดความยุ่งยากหรือระบบที่ทำให้การทำงานแก้ไขปัญหาล่าช้า และไม่มีประสิทธิภาพ

ปัญหาคนเร่ร่อน ไร้บ้าน หรือ คนไร้บ้านที่เกิดจากภาวะติดเชื้อโควิด 19 เพราะไม่มีที่ให้พักรักษาตัวอยู่บ้านก็กลัวสมาชิกในบ้านจะติดกับตัวเอง ครั้นจะไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลก็ไม่มีเตียงรักษา บางคนออกไปนอนนอกหมู่บ้าน ปลูกเพิงอยู่ริมคลอง บางคนถูกไล่ออกจากงาน บางคนเร่ร่อนหลับนอนริมถนน สวนสาธารณะ ป้ายรถเมล ใต้สะพานลอยและอื่นๆ
เมื่อเกิดการเสียชีวิตในพื้นที่สาธารณะ.. ปัญหาและองค์ความรู้ทางการแพทย์อย่างเดียวแก้ปัญหาไม่ได้ เพราะความตายของผู้คนมันถูกจัดการและยึดโยงกับระบบกฏหมาย การตายนอกเคหะสถาน ตายผิดธรรมชาติ ตายโดยถูกทำให้ตาย ตายเพราะโรคระบาด ฆ่าตัวตายและอื่นๆ ต้องมีผู้มีอำนาจเข้ามาเกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ชันสูตร นิติวิทยาศาสตร์ ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ตามระบบกฏหมายอาญาที่กำหนดวิธีปฎิบัติต่อการตายที่ผิดธรรมชาติ
การเคลื่อนย้ายศพไปเพื่อขันสูตรศพการตาย จึงเป็นอำนาจของตำรวจสืบสวน หาใช่เพียงเจ้าหน้าที่มูลนิธิอาสาต่างๆที่จะต้องเป็นการทำงานร่วมกันที่รวดเร็ว
ประเด็นสำคัญคือความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่ต่างๆซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่นับเรื่องการรับวัคซีนที่มีคุณภาพ การมีอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อจากการสัมผัสผู้เสียชีวิตที่คาดว่าจะเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด19 รวมทั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการจัดการศพ ที้งผ้าห่อศพ โลงศพ ถุงมือ ชุดป้องกัน ยาฆ่าเชื้อและอื่นๆ ที่เป็นต้นทุนทางการแพทย์
ภาพของคนที่เสียขีวิตข้างถนน ที่รอเจ้าหน้าที่เป็นระยะเวลายาวนานกว้าจะเคลื่อนย้ายศพได้ พร้อมไปกับบรรดาคนที่มุงดู ถ่ายคลิป คือสิ่งที่เกิดขึ้นชุกมากในหน้าสื่อ แต่มันคือสิ่งที่น่าจะต้องคิดพิจารณาให้ชัดเจน รอบด้าน โดยเฉพาะการมีกระบวนการทำงานที่รวดเร็ว ลดขั้นตอนที่ซับซ้อนแบบไม่จำเป็น และไม่สอดรับกับสถานการณ์ที่ฉุกเฉินและมีมาตรการระดับเข้มข้นสูงสุด
***เดี๋ยวรายวิชาที่สอนเทอมนี้ ผมจะพยามให้นักศึกษาทำงานและคลิปที่เกี่ยวกับสถานการณ์โควิดในมิติต่างๆ ทางสังคมวัฒนธรรมออกมา เท่าที่เป็นไปได้ เพื่อนำเสนอปัญหาในมิติของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม
Cr.ภาพจากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ มติชน และข่าวสด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...