วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ว่าด้วยเรื่องอำนาจ โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ทำไมพวกเราต้องการอำนาจ และ..

ทำไมพวกเราจึงต้องกลัวอำนาจ

อำนาจมันเข้าไปจัดวางแนวทางในชีวิตส่วนตัวและชีวิตสาธารณะของเราอย่างไร

หนังสือเล่มนี้สำรวจธรรมเนียมปฎิบัติดั้งเดิมและสังคมร่วมสมัยเกี่ยวกับบทบาทของอำนาจในลักษณะที่เป็นการยินยอม(consenting) เช่น การตกลงปลงใจในการแต่งงาน อำนาจที่เป็นธรรมชาติ(natural)  เข่น พ่อแม่กับลูกในการอบรมเลี้ยงดู และอำนาจที่ไม่ได้ยอมรับอย่างสมัครใจ(involuntary) แต่ต้องมาสัมพันธ์กันภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง เช่น การเป็นนายจ้างลูกจ้างในระบบการจ้างงานเป็นต้น

   หนังสือเล่มนี้เปิดเผยให้เห็นอำนาจที่หลากหลาย ทั้งระบบชายเป็นใหญ่(patriarchy) และการมีอิสระหรือปกครองตัวเอง (autonomy)

Sennett Richard ได้สำรวจสายสัมพันธ์ที่ผู้คนขบถต่อผู้มีอำนาจที่กำหนดกฏเกณฑ์ต่างๆในสังคม โดยแสดงให้เห็นว่าความขัดแย้งต่างๆในประวัตืศาสตร์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ตั้งแต่การปฏิวัติฝรั่งเศสและความขัดแย้งที่มีการแสดงออกในสำนักงาน ในโรงงานและในรัฐบาล ตลอดจนในระดับครอบครัว ความขัดแย้งดังกล่าวเป็นอย่างไร โดยใช้ตัวอย่างจากงานทางจิตวิทยา สังคมวิทยา และวรรณคดี เขาจึงคาดการณ์อย่างชัดเจนว่า พวกเราจะฟื้นฟูบทบาทของผู้มีอำนาจตามอุดมคติที่ดีและมีเหตุผลได้อย่างไร

    นอกจากนี้เขาแสดงให้เห็นว่าความต้องการอำนาจสำหรับพวกเรา มีไม่น้อยกว่าความต้องการอยากต่อต้านอำนาจ อีกทั้งอำนาจยังได้รับการหล่อหลอม ที่สัมพันธ์กับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมตลอดจนลักษณะจิตใจ นิสัยของมนุษย์

  ผมอ่านหนังสือเล่มนี้ช่วยให้สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างอำนาจในลักษณะที่เป็น Authority กับ Power โดยเฉพาะอำนาจกับสิ่งที่จำเป็นต่อการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง สมมติว่าคุณได้รับอำนาจจากตำแหน่ง แต่กลับไม่ได้ถูกมองว่าเป็นผู้มีอำนาจในตำแหน่งนั้นอย่างแท้จริง (เช่น คุณไม่ได้รับการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยหรือคุณไม่มีประสบการณ์และความรู้ที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งนั้น) หรือในทางกลับกัน คุณอาจมีความเชี่ยวชาญและความรู้ที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งหน้าที่นั้น แต่ตำแหน่งนั้นไม่ได้สร้างให้คุณมีอำนาจที่เพียงพอหรือมีทักษะอื่นๆที่ช่วยเติมเต็มตำแหน่งหรือรับรองการใช้อำนาจในตำแหน่งนั้นได้อย่างเต็มที่ (ขาดความสามารถพิเศษ การสร้างความจูงใจหรือแรงโน้มน้าว หรือขาดทักษะในการสื่อสาร หรือ แบ่งแยกอำนาจไปยังตำแหน่งอื่น) หนังสือเล่มนี้จึงน่าสนใจมากในการมองภาวะของผู้นำในสังคมร่วมสมัย

  ขอเวลา...จิบกาแฟ อ่านหนังสือนี้อย่างละเมียดละไมในยามว่างๆ.. เสียดายอย่างเดียวที่ไม่มีสถานที่ช่วยให้การอ่านมีอรรถรสตามพวกนิยมแนวโรแมนติก และลัทธิสายลมแสงแดดอย่างผม..น้ำตก ทะเล ภูเขา ป่าไม้..ผมเป็นแค่คนคนหนึ่งที่มีความสุขกับการจับหินก้อนเล็กไม่ได้อยากยกภูเขาทั้งลูก..



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...