วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

มานุษยวิทยาทัศนา : ภาพถ่ายจากมุมมองของผู้ถ่าย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เคยทำโครงการกับโรงเรียนและชุมชนหลายโครงการ..

โครงการหนึ่งคือ มานุษยวิทยาทัศนา ที่พวกเราไปทำกิจกรรมมานุษยวิทยาผ่านสื่อสายตาที่ชุมชนกะเหรี่ยงบ้านป่าหมาก อำเภอสามร้อยยอด ประจวบคีรีขันธ์ โดยให้เด็กในชุุมชนถ่ายรูปสิ่งที่ตัวเอง คิด เห็น สนใจและ อยากนำเสนอเกี่ยวกับตัวเอง ครอบครัวและชุมชนของตัวเอง โดยการให้กล้องถ่ายรูปแบบฟิล์มที่จำกัดจำนวนภาพ หลังจากนั้นก็ให้เด็กเลือกภาพที่ตัวเองอยากนำเสนอ จากภาพที่ถ่ายทั้งหมด เลือกมาและจัดนิทรรศการในชุมชน
ผมจำได้ว่านิทรรศการนี้จัดบริเวณทางเดินที่มีแม่น้ำลำธารกั้น มีสะพานไม้ไผ่พาดผ่าน พวกเราใช้เส้นเชือกขึงแล้วเอาภาพที่ล้างออกมาติด ให้คนในชุมชนที่เดินไปไร่นา มาซักผ้าอาบน้ำที่ลำห้วยได้ดูและชุม สุดท้ายเรากลับไปจัดนิมทรรศการที่กรุงเทพฯ และนำครูตชด.และเด็กกะเหรี่ยงมาบอกเล่าเรื่องราวถ่ายทอดให้คนเมืองฟัง พวกเราไปรับและไปส่งเด็กๆในชุมชนที่ไกลมาก ทั้งขึ้นเขาลงห้วย... ชุมชนที่นี่ ทุ่มหนึ่งจะมืดไปหมด พวกเราอาจารย์ นักศึกษานอนเต็นท์กลางลานจอดเฮลิคอปเตอร์ นั่งดูดาวกัน คุยกัน ท้องฟ้าดวงดาวดูใกล้กับพวกเรามาก ฟังเสียงนกและสัตว์ (มานุษยวิทยาโรแมนติก) ...ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์
ในวันและช่วงเวลานั้นจำได้ว่าภาควิชาฯเหลือคนน้อยมาก เพราะเป็นช่วงที่อาจารย์ไปเรียนต่อป.เอกกันเยอะมาก เหลืออาจารย์ในภาค เพียง 5 คนเท่านั้นเองที่เวียนกันสอนคนละอย่างต่ำ 3-4 วิชา แต่ในขณะเดียวกันเราก็ต้องทำกิจกรรมกันอย่างต่อเนื่อง เพราะต้องทำตามภาระกิจ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การบริการวิชาการ
ปล. ภาพทั้งหมดคือ ภาพที่เด็กๆถ่าย ซึ่งบ่งบอกตัวตนและความคิดของพวกเขา ทั้งในแง่วิถีชีวิต การทำไร่ ครอบครัวของพวกเขา ความทันสมัยที่เริ่มเข้ามา ทีวีเครื่องเดียวที่ใช้แบตเตอร์รี่เป็นพลังงาน ทุกคนมารวมกัน สัตว์เลี้ยงของพวกเขาหมูป่า อาชีพเสริม หาน้ำผึ้ง งานจักสาน ทอผ้า ความเชื่อ และอื่นๆ ฝีมือไม่เบาเลย นักถ่ายรูปสมัครเล่น...


































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...