วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

ความตายกับธรรมชาติ ( Death is Nature )



ความตายกับธรรมชาติ ( Death is  Nature )

ความตาย คือธรรมชาติ เพราะความตายเป็นประสบการณ์ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และเราไม่สามารถสร้างเงื่อนไขใดๆ เกี่ยวกับ ภาวะใกล้ตาย ( Dying ) หรือภาวะการณ์ตาย ( Death )  ของตัวเราหรือสมาชิกในครอบครัว ซึ่งเราสามารถเรียนรู้ หรือได้รับผลประโยชน์อย่างมากจากประสบการณ์เกี่ยวกับความตายนี้  .ในการจัดการกับตัวเองและคนรอบข้าง
ในชีวิตปัจจุบัน  เราสามารถเผชิญหน้ากับความตายได้บ่อยมากที่สุด จากการจับจ้อง มองดูรูปภาพ หรืออ่านบทความ ข่าว เกี่ยวกับความตาย ในหนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือรายการโทรทัศน์ ที่เน้นย้ำหรือให้ความสำคัญกับผลกระทบทางอารมณ์ความรู้สึกของผู้ชมหรือผู้อ่าน ทำให้ภาพความตายถูกเสนอและผลิตซ้ำ 
บทบาทและหน้าที่ของความตาย เช่นเดียวกับ ส่วนหนึ่งของประสบการณ์ชีวิต ที่มีการเปลี่ยนแปลงและสร้างทัศนคติของเราต่อมัน  ทัศนคติของเราเป็นสิ่งที่ได้รับอิทธิพลหรือผลกระทบโดยประสบการณ์ในอดีต เกี่ยวกับความตาย  ทัศนคติของครอบครัว  ความเชื่อทางศาสนา  การศึกษา และปัจจัยอื่นๆ
ความตายเช่นเดียวกับกับการทำลายอย่างสมบูรณ์ (Total Destruction ) และเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ (Inevitability) ปรากฏการณ์เกี่ยวกับความตายได้สร้างการรับรู้ จดจำ และตระหนักเกี่ยวกับความตายของตัวเองและคนรอบข้างความตายจึงเป็นเสมือนการทำลายล้าง เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสูญเสีย รวมทั้งความโศกเศร้าเสียจี่เป็นความรู้สึกและประสบการณ์ด้านอารมณ์
 ความตาย ที่สัมพันธ์กับตัวเราและสังคม ( Individual and Society )
มนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามลำพัง เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ดังนั้นความสัมพันธ์ของวงจรชีวิตมนุษย์ ตั้งแต่การเกิดจนถึงการตาย  มีความสัมพันธ์กับชุมชนและสังคม อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในเมื่อเรากลายเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกทางสังคม เป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกในครอบครัว ซึ่งสัมพันธ์กับระบบของเครือญาติ ความเป็นพี่น้อง ภายใต้กลุ่มวงศ์วานว่านเครือ
นอกจากนี้ความตาย ยังสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างคนเป็นกับคนตาย ผ่านความเชื่อในเรื่องผี ทั้งผีบรรพบุรุษ ผีตระกูล ผีวีรบุรุษ หรือผีฟ้าเทวดา ต่างๆ ที่มนุษย์เคารพนับถือและปฏิบัติพิธีกรรมอย่างเคร่งครัด เรื่องของคนตาย จึงสัมพันธ์ทั้งในแง่ของบุคคล ครอบครัวและชุมชน อย่างไม่สามารถแยกออกจากกันได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...