วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

มนุษย์คืออะไร นัฐวุฒิ สิงห์กุล



มนุษย์คืออะไร?
ในการศึกษาของนักมานุษวิทยา และนักโบราณคดี ก็มีความความคิดตรงกันประการหนึ่งว่า  ไม่ว่าจะเป็นสมัยใหม่ หรือก่อนประวัติศาสตร์ ก็มักจะเชื่อว่า สิ่งที่อยู่รอบตัวเขา ก็มีชีวิตเช่นเดียวกับที่เขามี ตัวอย่างเช่น เมื่อเขาได้รับความเจ็บปวดจากก้อนหินหรือกิ่งไม้ที่ที่ตกหล่นลงมา  เขาก็จะเชื่อว่าเป็นเพราะสิ่งที่เหนือธรรมชาติที่เรียกว่า มานา (Mana) หรือวิญญาณร้ายของก้อนหินและต้นไม้ นอกจากความเชื่อในสิ่งที่เหนือธรรมชาติ มนุษย์ชนเผ่าก็จะมองตัวเขาเองสัมพันธ์กับสังคม ชุมชนหรือกลุ่มคนที่เขาอยู่  รวมทั้งการตระหนักถึงตัวเอง  มนุษย์เริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่า เราคือใคร  มนุษย์เกิดขึ้นมาได้อย่างไร  จนมาถึง ความร้ายแรงของความตาย ทำไมมนุษย์ต้องตาย และปัญหาชีวิตหลังความตาย ตายแล้วไปไหน คำถามเหล่านี้มนุษย์ก็พยายามหาคำตอบมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และดำรงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน  ดังที่ปรากฏในเทพนิยาย ในหลายพื้นที่ เกี่ยวกับการกำเนิดโลกทั้งอียิปต์ บาบิโลเนียน ซูมาเรียน และฮิบรูว์ เช่นในพระคัมภีร์ เกี่ยวกับเรือโนอาห์ น้ำท่วมโลก เป็นต้น
ในเทพนิยายทั้งหมดมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันหลายประการ โดยเฉพาะความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างมนุษย์โดยพระเจ้า เพื่อรับใช้พระเจ้า เช่นการสร้างมนุษย์จากดินเหนียวของเทพคนัม เทพเจ้าแห่งหม้อดิน(Khnum) ในอียิปต์ ที่จะพบการวาดภาพคนบนเครื่องปั้นดินเผา หรือชาวบาบิโลเนียน  มีนิยายปรัมปราเกี่ยวกับการสร้างมนุษย์ที่ทำจากก้อนดินผสมกับเลือดของพระเจ้าที่ถูกฆ่า ในนิยายเทพของฮิบรูว์ (จากเรื่องเจเนซิสแห่งพระคัมภีร์ดั้งเดิม) กล่าวถึงพระเจ้าเวห์ ที่สร้างมนุษย์จากดินเผา และประทานชีวิตให้ด้วยเพื่อว่ามนุษย์เป็นวิญญาณที่มีชีวิต
หรือในเทพนิยายของชนเผ่าซูมาเรียน เรื่อง กิลกาเมซ (Gilgamesh) เมื่อกิลกาเมชพระเอกของเรื่องเผชิญหน้ากับความตายของเอนคิดู เพื่อนของเขาซึ่งเป้นประสบการณ์ที่อธิบายได้อย่างงน่ากลัวและเป็นสิ่งใหม่ กิลกาเมชกลัวว่าเขาจะเหมือน เอนคิดู ที่ปราศจากลมหายใจหรือการเคลื่อนไหว  เขาอธิบายอย่างชัดเจนว่ามนุษย์รู้สึกอย่างไร เมื่อเผชิญหน้ากับความจริงของความตาย  กิลกาเมซได้กระทำพิธีกรรมบางอย่าง โดยได้รับอนุญาตจากเทพเจ้าแห่งความตาย  เพื่อให้วิญญาณเอนคิดูมาบอกเขาเกี่ยวกับภาวะของความตาย เอนคิดูบอกว่า
เขา(เทพเจ้าแห่งความตาย) ได้นำตัวพวกเราไปสู่อาณาจักรแห่งความมืดมน บนถนนไม่มีทางกลับ และผู้ที่ย่างก้าวเข้าไป ไม่มีทางออกมาได้ ไปยังดินแดนที่ปราศจากแสงสว่างโดยมีหนทางที่เต็มไปด้วยฝุ่นและมีดินเป็นอาหาร พวกเขาใส่เสื้อเหมือนปีกนก ไม่อาจเห็นแสงสว่าง อยู่แต่ในความมืด
ดังนั้นมนุษย์ยุคโบราณก็มีความเชื่อในเรื่องของวิญญาณ  การรักษาเอกลักษณ์ของเขาหลังจากที่ตายไปแล้ว แม้ว่ารูปแบบอาจจะแตกต่างกัน เช่นมีปีก ดังเช่นภาพวาดของชาวอียิปต์ บนหลุมศพ ก็จะพบสิ่งที่คล้ายคลึงกันในการแสดงสัญลักษณ์รูปคา (Ka) หรือวิญญาณของผู้ตายบินอยู่เหนือซากศพของตนแบบนกเล็กๆที่มีใบหน้ามนุษย์ แม้ในตราประทับของพวกครีตันยุคแรก ที่เรียกว่า วงแหวนแห่งเนสเตอร์ ได้แสดงให้เห็นวิญณาณของคนตายในรูปของผีเสื้อที่เกิดจากตัวด้วง หรือในยุคหิน มนุษย์ถ้ำก็มีการฝั่งศพ ไปพร้อมกับเครื่องมือ อาวุธ อาหารไปพร้อมกับผู้ตาย เพื่อชีวิตหลังความตาย
ความเชื่อในเรื่องชีวิตหลังความตาย ก็สัมพันธ์กับความคิดที่ว่าวิญญาณของผู้ตายมีความสัมพันธ์กับความดีความชั่วด้วย ขณะที่มีชีวิตอยู่ ในตำราของชาวบาบิโลเนียน ได้กล่าวถึงวิญญาณของอีติมมู(Etimmu) หรือวิญญาณแห่งความตาย โดยเฉพาะคนที่ตายอย่างกะทันหัน หรือผู้ที่ไม่ไดรับการฝังโดยพิธีกรรมการทำศพอย่างถูกต้อง ที่ได้สร้างความกลัวให้กับชนเผ่า ในแอฟริกาและบาบิโลเนียนในปัจจุบัน แสดงให้เห็นความกลัวตายที่มีอยู่แบบดั้งเดิมที่เป็นสากล ชาวเผ่าเชื่อว่าวิญญาณของผู้ตายพยายามที่จะกลับโลก และอาจจะเข้าไปสู่ร่างของสิ่งมีชี่วิตได้ นอกจากจะมีการป้องกันไว้  บางเผ่าของมาลานีเซียน แขวนเบ็ดตกบาไว้รอบๆกระท่อม เพื่อขจัดวิญญาณไม่ให้เข้ามา  หรือประเพณีการไว้ทุกข์ ตัดผม ฉีกเสื้อผ้า  ทำบาดแผลที่ใบหน้า  ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงแสดงความโสกเสร้า แต่ยังป้องกันการจำได้จากวิญญาณของผู้ตาย
นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อว่า วิญญาณผู้ตายมีความรู้เกี่ยวกับอนาคตที่สามารถจะถูกเรียกมาจากเบื้องล่างได้โดยทำพิธีกรรมบางอย่าง เพื่อสอบถามหรือตักเตือนผู้มีชีวิตอยู่ ซึ่งความเชื่อนี้ยังปรากฏอยู่ในสังคมสมัยใหม่ ทั้งการพยายามควบคุมวิญญาณองคนตาย  ความกลัววิญญาณ หรือการทำพิธีกรรมเกี่ยวกับคนตาและวิญญาณ ที่สะท้อนให้เห็นรากฐานทางด้านแนวคิดปรัชญาและศาสนายุคปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...