วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

ทำไมต้องศึกษาความตาย



ทำไมต้องศึกษาเกี่ยวกับความตาย  ( why we are study about death ? )
ความตาย ไม่ใช่เรื่องที่ไกลจากตัวมนุษย์ เพราะความตายเป็นเสมือนวงจรชีวิตของมนุษย์ ที่เปลี่ยนผ่านมาเป็นลำดับ ตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บตาย ดังปรากฏในงานข้อเขียนชิ้นสำคัญของป๋วย อึ้งภากรณ์ ในเรื่องจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน ว่า
เมื่อผมอยู่ในครรภ์ของแม่ ผมต้องการให้แม่ได้รับประทานอาหารที่เป็นคุณประโยชน์ และได้รับความเอาใจใส่ และบริการอันดีในเรื่องสวัสดิภาพของแม่และเด็ก ผมไม่ต้องการมีพี่น้องมากอย่างที่พ่อแม่ผมมีอยู่ และแม่จะต้องไม่มีลูกถี่นัก.....เมื่อจะตาย ก็ขออย่าให้ตายอย่างโง่ๆ อย่างบ้าๆ คือตายในสงครามที่คนอื่นก่อให้เกิดขึ้น ตายในสงครามกลางเมือง ตายเพราะอุบัติเหตุรถยนต์ ตายเพราะน้ำหรืออากาศเป็นพิษ หรือตายเพราะการเมืองเป็นพิษ
          เมื่อตายแล้ว ยังมีทรัพย์สมบัติเหลืออยู่ เก็บไว้ให้เมียผมพอใจในชีวิตของเธอ ถ้าลูกยังเล็กอยู่ก็เก็บไว้ เลี้ยงให้โต แต่ลูกที่โตแล้วไม่ให้ นอกนั้นรัฐบาลควรเก็บไปหมด จะได้ใช้เป็นประโยชน์ในการบำรุงชีวิตของคนอื่นๆ บ้าง   ตายแล้ว เผาผมเถิด อย่างฝัง คนอื่นจะได้มีที่ดินอาศัยและทำกิน และอย่าทำพิธีรีตอง ในงานศพให้วุ่นวายไป นี่แหละคือความหมายของชีวิต นี่แหละคือการพัฒนาที่จะควรให้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของทุกคน…”[1]
ดังนั้นความตายจึงสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงสร้าง หรือสถาบันทางสังคมต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย ร่างกายของมนุษย์ได้ถูกจัดวางหรือจัดระเบียบ ผ่านวงจรชีวิตของมนุษย์ ทั้งทางด้านการเกิด การแก่ การเจ็บ และการตาย สถาบันต่างๆทางสังคม ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล ที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจ โรงเรียน  วัด ได้เข้ามาจัดการต่อเรื่องดังกล่าว ภายใต้ระบบกฎหมาย จารีตประเพณีทางสังคม ที่สร้างอำนาจและบทบาทหน้าที่ให้กับสถาบันดังกล่าวข้างต้น เช่น การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การทำใบส่งตัวคนไข้ การใช้บัตรทองสามสิบบาท การเข้าโรงเรียน และอื่นๆ  เป็นต้น
         


[1] อ้างจากอนุสนธิ จากครรภ์มารดา ถึงเชิงตะกอน ของ อ.ป๋วย อึ้งภากรณ์คุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน หรือรู้จักกันในชื่อ จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน เป็นข้อเขียนเกี่ยวกับความต้องการพื้นฐานในชีวิตของผู้เขียน เขียนโดย อ. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้รับการตีความว่าเป็นข้อเรียกร้อง รัฐสวัสดิการ มีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับหลักประกันสังคมและคุณภาพชีวิตพื้นฐานที่คนคนหนึ่งพึงมี เป็นหนึ่งในบทความที่มีการคัดลอกและถ่ายทอดมากที่สุดในสังคมไทย
ข้อเขียนนี้เดิมเป็นภาษาอังกฤษ ถูกนำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาเอเชียตะวันออกไกล (Southeast Asian Development Advisory Group - SEADAG) เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 ก่อนจะตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ในชื่อ The Quality of Life of a South East Asian : A Chronical of Hope from Womb to Tomb (ต่อมารู้จักกันในชื่อ From Womb to Tomb) และภายหลังถูกแปลเป็นภาษาไทยในชื่อ คุณภาพแห่งชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน หรือที่รู้จักกันดีในเวลาต่อมาในชื่อ จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...