วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

ตารางเปรียบเทียบ ระหว่าง positivism Interpretive and critical (นัฐวุฒิ สิงห์กุล)




Positivism
Interpretive
Critical
1.เหตุผลในการวิจัย
หากฏเกณฑ์ทั่วไปเพื่อให้คนสามารถทำนายและควบคุมสถานการณ์ได้
เข้าใจและอธิบาย Social Action
ทำลายความเชื่อเดิมและเสริมอำนาจให้ผู้คน เพื่อเปลี่ยนสังคมอย่างถอนรากถอนโคน
2.ธรรมชาติของความเป็นจริงทางสังคม
ความเป็นจริงคงที่และอยู่กันอย่างมีระบบ สามารถไปค้นหาได้
ความเป็นจริง เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้เพราะเกิดขึ้นจากการที่คนมีปฏิสัมพันธ์กัน
ในความเป็นจริงสังคมมีความขัดแย้งที่เกิดจากโครงสร้าง
3.ธรรมชาติของมนุษย์
ปัจจัยภายนอกทำให้คนมีความเป็นเหตุเป็นผล
มนุษย์สร้างความหมายและทำความเข้าใจโลก
มนุษย์ที่สร้างสรรค์ ปรับตัวได้ถูกมายาคติที่เกิดจากการขี่บดบังไม่ให้เห็นความสามารถของตน
4.บทบาทของสามัญสำนึก
สามัญสำนึกต่างกับวิทยาศาสตร์และมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าวิทยาศาสตร์
สามัญสำนึกคือทฤษฎีที่มีพลังซึ่งสร้างขึ้นโดยสามัญชน
สามัญสำนึกคือ ความเชื่อผิดๆที่ทำให้คนมองไม่เห็นถึงอำนาจและเงื่อนไขทางสังคมที่สร้างสำนึกนี้ขึ้นมา
5.โครงสร้างของทฤษฎี
ประกอบด้วยตรรกะ เชื่อมโยงสิ่งต่างๆโดยอาศัยทฤษฎี (ใช้ระบบDeductive)
อธิบายว่า ระบบการให้ความหมายต่อสิ่งต่างๆของคนกลุ่มต่างๆ เผยแพร่ไปยังคนอื่นได้อย่างไร และได้รับการยอมรับได้อย่างไร
บทวิพากษ์ที่เปิดเผยให้เห็นการกดขี่ และเห็นถึงวิถีทางไปสู่สังคมสมัยใหม่ที่ดีกว่า
6.การแสดงว่าสิ่งที่ค้นพบเป็นจริง
สร้างกฏทั่วไปเพื่ออธิบายความเป็นจริง
อธิบายว่ารู้สึกว่าผู้ให้ข้อมูลเป็นคนที่รู้เรื่องนั้นๆดี
อธิบายว่าเป็นการให้อาวุธ แก่ผู้ที่จะเอาไปเปลี่ยนแปลงโลก
7. การหาหลักฐานอ้างอิงที่ดี
ต้องสังเกตอย่างละเอียด เพื่อว่าผลที่ได้จะสามารถเอาไปอธิบายที่อื่นๆได้
หลักฐานจะอยู่ในบริบททางสังคมของการปฏิสัมพันธ์
ใช้ทฤษฎีที่เผยมายาคติ
8 ค่านิยมของผู้ศึกษากับการวิจัย
ไม่มีค่านิยม ของผู้วิจัย เข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากการเลือกเรื่องวิจัย
ค่านิยมเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตางสังคม ไม่มีค่านิยมใดถูก-ผิด เพียงแต่มันต่างกันเท่านั้น
ศาสตร์ทั้งหลายเริ่มจากค่านิยม บางค่านิยมก็ผิด บางค่านิยมก็ถูก

ตารางเปรียบเทียบ แนวคิดหลักที่มีอิทธิพลต่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...