วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

การพัฒนาระบบศีลธรรม โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล



การพัฒนาระบบศีลธรรม
การพัฒนาระบบคุณธรรมในตะวันตก เริ่มจากชนเผ่าฮิบรูว์ ที่เรารู้จักกันดีในชื่อ ยิว ในพระคัมภีร์ดั้งเดิม ( The Old Testament) ที่ได้กำหนดบทบาท ภาระหน้าที่ของการพัฒนาสังคมที่คุณธรรมอันเป็นงานสอนของพวกนักศาสนาทำหน้าที่เป็นตัวแทนหรือคนกลางในการติดต่อกับพระเจ้าได้ ซึ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของมนุษย์กับพระเจ้า
คุณธรรมของชนเผ่าถูกควบคุม ด้วยปัจจัยหลายอย่าง ทั้งทางด้านเงื่อนไขทางกายภาพ ชีวภาพเช่น อาหารมีจำกัด เมื่อหาอาหารได้ต้องแบ่งปันกัน เพื่อความอยู่รอด หรือการมีผู้นำกลุ่มซึ่งเป็นผู้อาวุโส หรือผู้ที่มีหน้าที่ทางพิธีกรรม ในการควบคุมสมาชิกของสังคม หรือแก้ไขข้อพิพาทระหว่างกลุ่ม โดยมีการสร้างจารีตหรือข้อปฏิบัติระหว่างกลุ่มหรือสมาชิกในกลุ่ม ที่เรียกว่า Taboo ถ้าเป็นข้อห้ามในเรื่องของความสัมพันธ์ทางเพศก็เรียก “Incest Taboo” รวมถึงการสร้างระบบสัญลักษณ์ที่ใช้พืชและสัตว์แทนกลุ่ม ตระกูล ที่เรียกว่า “Totem” เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับกลุ่ม และการกระทำที่เป็นอันตรายต่อเผ่าพันธุ์ก็จะถูกประณาม และลงโทษด้วยวิธีต่างๆ
ดังนั้นอันตรายต่างๆที่เกิดขึ้นกับชีวิตของพวกเขา ถูกอธิบายด้วยพลังลึกลับเหนือธรรมชาติ เทพเจ้าหรือพระเจ้า ที่สังคมชนเผ่าจำเป็นต้องมีการบวงสรวง หรือสร้างพิธีกรรมบางอย่างขึ้นมา เพื่อช่วยในการล่าสัตว์หรือดำรงชีวิตอย่างเป็นปกติ  เช่น ประเพณีขอฝนของชาวเผ่าอินเดียนโฮปี ในอเมริกาเหนือ ที่ทำการเพาะปลูก  ชนเผ่าที่ทำการประมง อย่างกลุ่มคนในหมู่เกาะโทรเบรียนด์ก็จะมีพิธีกรรมการทำเรือแคนู เพื่อให้จับปลาได้มาก เป็นต้น
ข้อบกพร่องอันเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามพิธีกรรมดังกล่าว อาจนำมาซึ่งความโกรธของพระเจ้า ที่ควบคุมพลังแห่งความเมตตา และการบันดาลความสำเร็จ เช่นให้น้ำฝน ให้พืชผลที่ดี เป็นต้น  การไม่ปฏิบัติตามพิธีกรรมอันอาจนำมาซึ่งความโชคร้ายต่อชีวิตหรือความล่มสลายของสังคมได้  พฤติกรรมดังกล่าวนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสำนึกทางศีลธรรม ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี แต่สิ่งต่างเหล่านี้ก็มีไว้เพื่อรักษาสมดุลของสังคม เช่น การห้ามขโมยของจากเผ่าเดียวกัน  หรือการแต่งงงานกันเองระหว่างพี่น้อง หรือต่างเผ่า ก็ล้วนมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความสามัคคีและสร้างความเป็นมิตรระหว่างกันเพื่อประกันความปลอดภัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...