วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

จากจิตวิญญาณสู่ความคิดเรื่องความตาย



2.จากจิตวิญญาณสู่ความคิดเรื่องความตาย
2.1 แนวคิดเรื่องความตายของนักปรัชญา
            โสเครตีส (470-399 B.C) กล่าวว่า ไม่มีปัจเจกบุคคลที่ดำรงชีวิตอยู่คนใดสามารถที่จะรู้เกี่ยวกับความตาย (No  living  Individual  could know death) เขาได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับความตายที่สามารถจะเป็นไปได้ คือ ความตาย เป็นทั้ง การนอนหลับที่ไร้ความฝัน (Dreamless Sleep) หรือการเดินทางของจิตวิญญาณไปยังโลกอื่น (Dale V. Hardt , 1946 : 3-4 ) เขาอ้างถึงว่า ความตาย เช่นเดียวกับ การแช่แข็ง (Freezing) และการแยกของจิตวิญญาณออกจากร่างกาย ความตายคือกระบวนการปลดปล่อยจิตวิญญาณที่เสรี จากความรู้สึกเหล่านี้และนำไปสู่ความสามารถที่จะค้นพบความจริง  เช่นเดียวกับนักปรัชญาอย่าง เพลโต เชื่อว่า ความตายเป็นวิธีการที่ง่ายที่จะปลดปล่อยจิตวิญญาณ (Soul) ออกจากร่างกาย จิตวิญญาณไม่มีวันที่จะถูกทำลาย แต่มันเป็นสิ่งที่เป็นอมตะ (Immortality) ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ร่างกายมีการตาย ในขณะที่จิตวิญญาณของพระเจ้า (Divine Soul) เป็นสิ่งที่นิรันดร์ ในความปรารถนาของมัน ที่จะเป็นอิสระ จากความกลัว (Fear) ความรู้สึกเจ็บปวด (Passion) และความชั่วร้ายที่ดำรงอยู่ของมนุษย์  โดยดำเนินการไปยังการดำรงอยู่พร้อมกับพระเจ้า สิ่งที่เพลโตพูดถึงเกี่ยวกับการพิจารณาเกี่ยวกับความตาย และชีวิตหลังความตาย เป็นสิ่งที่ถูกกล่าวซ้ำ โดยพระเยซูคริสต์ ในช่วง 400 ปีต่อมา
สำหรับอริสโตเติล (384-322 B.C) ในอีกด้านหนึ่ง ทัศนะของความตายเกี่ยวกับมนุษย์ เช่นเดียวกับการสิ้นสุดของทุกๆสิ่งยกเว้นเหตุผลของเขา  เหตุผลอาจจะเป็นสิ่งที่ถูกนิยามหรือให้คำจำกัดความ เช่นเดียวกับบางสิ่งที่ถูกเรียนรู้ โดยมนุษย์ทุกคน และเป็นสิ่งที่มีอยู่ในพวกเขาเสมอ และ ไม่มีวันตาย
ในสังคมของเพลโตและอริสโตเติล มีความแตกต่างจากสังคมอื่นๆปัจจุบัน ในสังคมของเพลโตทัศนะเกี่ยวกับความตาย เขามองว่า สังคมของเขาปฏิเสธเกี่ยวกับการระลึกหรือเข้าใจความตาย ว่าเป็นเช่นเดียวกับกระบวนการ ปฏิเสธความเชื่อว่าคนทุกคนหรือสัตว์โลกจะต้องตาย ปฏิเสธกับการยอมรับความตายเป็นสิ่งสุดท้าย  และพวกเขากลัวความตายเช่นเดียวกับสิ่งชั่วร้าย
ซึ่งนักปรัชญายุคต่อๆมา ก็แผ่ขยายแนวความคิดของอริสโตเติล เพลโตและโสเครตีส จนกระทั่ง มาร์ติน ไฮเด็กเกอร์ ซึ่งเป็นนักปรัชญาแนว Existentialist ชาวเยอรมัน ได้พิจารณาความตายในทางปรัชญาซึ่งแตกต่างจาก เพลโตและอริสโตเติล โดยเขาเชื่อว่าการตายไม่ได้แยกจิตวิญญาณออกจากร่างกาย แต่ค่อนข้างจะ Bind  พวกเขาเข้าด้วยกัน และเป็นการสร้างความสมบูรณ์ของการดำรงอยู่ทั้งมวลของมนุษย์
มาร์ติน ไฮเด็กเกอร์ (Martin Heidegger) มองว่า  ความตายไม่ใช่เหตุการณ์ที่ซึ่งเป็นความสิ้นสุดของชีวิต (Ends Life) แต่มันคือส่วนหนึ่งของชีวิต (Part of Life)  รวมทั้งความตายไม่ใช่สิ่งที่วางอยู่ในอนาคต (Future) แต่มันอยู่กับเราที่นี่และตอนนี้  ดังนั้นปรัชญาของมาร์ติน ไฮเดกเกอร์ ในเรื่อง Being and Times ก็คือ
     1.ให้ความสำคัญกับความหมายของความเป็นอยู่หรือการดำรงอยู่ของมนุษย์ ในแง่ที่มันคือความมีชีวิตชีวามากที่สุด เพราะเป็นเรื่องของการใช้ชีวิต
     2.การตระหนักถึงตัวเองของมนุษย์ ที่ขึ้นอยู่กับเรื่องความรู้สึกและเรื่องเวลา ว่าวันหนึ่งเราต้องตาย ซึ่งเป็นธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ การที่มนุษย์รู้ว่าสักวันหนึ่งตัวเองจะต้องตาย จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้มนุษย์มองตัวเองและจัดการกับตัวเอง เผื่อว่าวันพรุ่งนี้สำหรับตัวเองอาจจะไม่มีก็ได้
     3.การกังวลต่อความตายและความกลัวต่อความตาย ส่วนนี้เป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกและเป็นสัญชาตญาณพื้นฐานของมนุษย์ ที่สัมพันธ์จากประสบการณ์เกี่ยวกับความตายที่ได้รับ จากคนรอบข้าง จากสื่อสารมวลชนแขนงต่างๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เพลง และวรรณกรรมต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...