วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

แนวคิดความตายทางจิตวิทยา



2.2 แนวคิดเกี่ยวกับความตายของนักจิตวิทยา
ในความคิดเห็นของซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Frued) ตรรกะหรือเหตุผลพื้นฐานของเขาก็คือ สิ่งหนึ่งเราไม่สามารถจะจินตนาการได้ว่ามันคืออะไร เมื่อเราไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งนั้น  ฟรอยด์เชื่อว่า ในจิตใต้สำนึกของเรา พวกเราเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับ ความเป็นอมตะของตัวเราเอง  ดังนั้นมันยากมากที่เราจะเข้าใจและรับรู้เกี่ยวกับการตาย
แต่สิ่งที่น่าสนใจในทฤษฎีของฟรอยด์ ก็คือสิ่งที่เขาพูดถึงพฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์ทุกๆคน เป็นสิ่งที่ถูกควบคุถมและจัดการโดยชุดของความขัดแย้งทางสัญชาตญาณ ในท่ามกลางพวกเขาประกอบด้วย สิ่งที่เรียกว่า สัญชาตญาณความตายที่เป็นสากล หรือ Thanatos และหลักการของชีวิตหรือสัญชาตญาณ ที่เรียกว่า Eros
สัญชาตญาณทั้งสองแบบนี้ ถูกฝังอยู่ในตัวตนที่หยาบที่ฟรอยด์เรียกว่า Id ที่เป็นส่วนหนึ่งของจิตหรือวิญญาณ (Psyche)หรือสิ่งที่ละเอียดกว่าร่างกาย
2.3 แนวคิดเกี่ยวกับการแยกกาย (Body)กับจิต (Soul)ออกจากกัน
แนวความคิดนี้ได้รับอิทธิพลมาจาก นักปรัชญาทวินิยมหรือDualism อย่าง เคอเน่ เดการ์ต (Rene Decart) ความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและวิญญาณ ในแง่ที่เป็นเรื่องของเจตจำนง ความตั้งใจและความคิด ในปฎิกริยาหรือความสัมพันธ์ต่อกัน ระหว่างร่างกายและวิญญาณ ในแง่ของประสาทสัมผัส อารมณ์และตัณหา  วิญญาณก็มีผลกระทบต่อร่างกาย ในระดับของการเคลื่อนไหว จิตที่คิดได้ มีความเป็นอิสระ  มั่นคงและมีอำนาจ ดังคำกล่าวที่ว่า เมื่อฉันคิดจึงมีตัวฉัน I Think Therefore I am ซึ่งเท่ากับเป็นการประกาศว่าจิตที่สมบูรณ์ของพระเจ้าไม่ได้มีอยู่จริง แต่พระเจ้าได้ตายแล้ว ดังเช่นที่นักปรัชญอย่าง เฟรดิก นิชเช่ ได้กล่าวเอาไว้
คุณูปการในการแยกระหว่างร่างกายกับจิตใจ ก็คือ การตื่นตัวที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับจิต และความเจริญก้าวหน้าทางด้านการแพทย์ ที่ส่งผลให้เกิดการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์จึงเปรียบเสมือนกับเป็นเครื่องจักรกลสมัยใหม่ ที่สามารถถอดชิ้นส่วนหรือชำแหละหาสาเหตุอาการของการเจ็บป่วย รวมถึงการซ่อนแซมฟื้นฟูให้กลับสู่สภาวะปกติได้ ดังปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เกี่ยวกับการรักษาด้วยวิธีการเปลี่ยนถ่าย หรือปลูกอวัยวะ เหมือนกับชิ้นส่วนของรถยนต์ที่มีความเสียหายก็ต้องนำอะไหล่ชิ้นใหม่เข้ามาเปลี่ยนแทนเป็นต้น

           


soul
body
God
body
soul
idea
will
stimuli
action

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...