ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ความเจ็บป่วยกับสังคม โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ร่างกาย : ความเจ็บป่วยทางร่างกายและความเจ็บป่วยทางสังคม

บทความเรื่องบนความเจ็บป่วยและความรุนแรงเชิงโครงสร้าง มุมมองจากข้างล่าง( On Suffering and Structural Violence : A View from Below) เขียนโดยนายแพทย์และนักมานุษยวิทยา อย่าง Pual Farmer ซึ่งปรากฏในหนังสือชื่อ The anthropology of politics. A Reader in Ethnography,Theory and Critique (2002) ที่มี Joan Vincent เป็นบรรณาธิการ บทความชิ้นนี้เป็นงานของ Paul Farmer แพทย์และนัก มานุษวิทยาที่สนใจมองลงไปที่ความเจ็บป่วยที่ไม่ได้มีสาเหตุหรือเกิดจากตัวเชื้อโรค อย่างที่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ในเชิงกายภาพและชีววิทยา พยายามอธิบายเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของร่างกายและอวัยวะต่างๆ ที่เรียกภาวะความผิดปกติ โดยมีเชื้อโรค ทั้งจากไวรัสและแบคทีเรีย เป็นตัวแปร สําคัญที่ทําให้เกิดภาวะการเจ็บป่วยของมนุษย์แต่เพียงอย่างเดียว....
แต่ Paul Farmer กลับมองว่า สาเหตุของโรคภัยเจ็บที่มนุษย์กําลังเผชิญอยู่ มีนัยทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ด้วย และเป็นสาเหตุ สําคัญที่ทําให้คนตกอยู่ในสภาวะผิดปกติ มีเชื้อโรคและเกิดภาวะที่เรียกว่าความ “เจ็บป่วย” ซึ่งถือเป็นการอธิบายความเจ็บป่วยที่มีมิติทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ที่ไม่ใช่วิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว ........
Pual Farmer กล่าวว่า คนทุกคนบนโลกรู้ว่าความทุกข์ทรมานมีอยู่จริงในชีวิตประจําวันของเรา ตัวอย่างเช่น เวลาเราปวดท้องหรือปวดหัว จนแทบทําอะไรไม่ได้ อาการเหล่านี้ปรากฏให้เห็นทางร่างกาย ไม่ว่าการยืนทรงตัวไม่อยู่น้ำตาไหลพราก นอนบิดตัวไปมา ด้วยความรู้สึกปวดที่อยู่ข้างใน นอกจากนี้ยังมีทุกข์ทางจิตใจที่ส่งผลต่อร่างกาย เช่นการพลัดพรากจากคนที่เรารัก จนกินไม่ได้นอนไม่หลับ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้คือความ ทุกข์ทรมานที่มนุษย์ทุกคนล้วนต้องเผชิญ แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือแม้ว่าเราจะรู้ว่าความทุกข์ ทรมานมีอยู่และดํารงอยู่ในชีวิตของมนุษย์ แต่คําถามที่ยากจะตอบก็คือ เราจะนิยามมันอย่างไร ว่าความทุกข์ทรมานที่แท้จริงนั้นคืออะไรกันแน่ ในเมื่อแต่ละคนก็มีความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมานที่แตกต่างกัน รวมทั้งมีสาเหตุเบื้องหลังของความทุกข์ทรมานที่แตกต่างกันด้วย ....
ดังนั้น ระดับของความจริงสําหรับคนแต่ละคนในเรื่องดังกล่าวก็ย่อมไม่เหมือนกัน มันจึงยากที่จะหาวิธีการที่แน่นอนมาอธิบายสิ่งที่เรียกว่าความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน แต่ในอีกด้านหนึ่งเราก็สามารถทําความเข้าใจกับปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ นักมานุษยวิทยาสนใจศึกษาประสบการณ์ของปัจเจกบุคคลและความเชื่อมโยงกับมิติต่างๆทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมือง ที่สะท้อนให้เห็นพลังอํานาจหรืออิทธิพลของสังคมที่ประกอบสร้างประสบการณ์ความโศกเศร้า ทุกข์ทรมาน และการรับรู้ต่อโรคหรือความเจ็บป่วยของตัวปัจเจกบุคคล....
ดังตัวอย่างเช่น ความเจ็บป่วย ความยากจนกับประเด็นทางเชื้อชาติ การเหยียดสีผิว กลายเป็นสิ่งที่ถูกทําให้ปรากฏในประสบการณ์ของปัจเจกบุคคล ข้อความดังกล่าวในบทความชี้นนี้ของ Paul Farmar ถือเป็นข้อ ถกเถียง (Argument) ที่สําคัญ เพราะเขาไม่ได้มองเรื่องของโรคและความเจ็บป่วยในแนวคิดแบบการแพทย์ที่มองผ่านเรื่องของเชื้อโรค ร่างกายที่เป็นพาหะ การติดต่อของโรค แต่สิ่งที่เขาทําคือการเชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้เข้ากับโครงสร้างในระดับมหภาค โดยการตั้งสมมติฐานว่า ทําไมผู้คนทุกข์ยากจึงเจ็บป่วยและทุกข์ทรมาน โดยเขาได้ใช้กรณีงานศึกษาวิจัยเรื่องเอดส์ เอชไอวีในประเทศเฮติ (Haiti) เป็นปรากฏการณของการอธิบายข้อถกเถียงของเขา ซึ่งสะท้อนให้เห็น ความสัมพันธ์ของพลังอํานาจและอิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจ ที่เป็นโครงสร้างของความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคเอดส์และวัณโรค รวมทั้งโรคติดเชื้ออื่นๆ ดังนั้นโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเมือง เกี่ยวข้องกับรูปแบบของความทุกข์ทรมาน (Suffering) อย่างมากที่สุด ที่เกิดจากปัญหาความหิว ความทุกข์ทรมานและความรุนแรงจากการถูกข่มขืน ที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำให้คนเหล่านี้กลายเป็นผู้ป่วยโรคเอดส์และเอชไอวีในประเทศเฮติ .....
สิ่งที่ Farmer กล่าวไว้น่าสนใจว่า ความรุนแรง ทางโครงสร้างมีความสัมพันธ์กับประสบการณ์ความทุกข์ทรมานของมนุษย์ เพราะประสบการณ์หรือเรื่องราว ในชีวิตของพวกเขา โดยเฉพาะความเจ็บปวดและทุกข์ทรมานสะท้อนให้เห็นโครงสร้างและความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่กระทํากับร่างกายและจิตใจของพวกเขา การจะมองเห็นหรือเข้าใจความทุกข์ทรมานดังกล่าว ควรต้องย้อนไปสู่การตั้งคําถามเกี่ยวกับความหมายและความจริงในประวัติศาสตร์ของมานุษยชาติ ดังที่Farmer ชี้ให้เห็นผ่านเรื่องราวชีวิต กรณีตัวอย่างความตายของผู้ชายผู้หญิงชาวเฮติที่ชื่อ Acephie (ผู้หญิงเสียชีวิตเพราะการเป็นเอดส์ในสังคมชายเป็นใหญ่) และ Chou Chou (ผู้ชายที่เสียชีวิตจากประเด็นการเมือง) ที่ทำให้เห็นความรุนแรงเชิงโครงสร้างและทางวัฒนธรรม ความไม่เท่าเทียมทางสังคมที่มีต่อความเจ็บป่วยและความตาย.... ...
Paul Farmer พิจารณาถึงสิ่งที่เรียกว่าแกน (axis) ของการวิเคราะห์ที่หลากหลาย โดยไม่เลือกพิจารณาแค่แกนใดแกนหนึ่งเพียงแกนเดียว แต่มองแบบเชื่อมโยงให้เห็นแกนต่างๆที่ เชื่อมโยงกับความรุนแรงเชิงโครงสร้างนั้นๆ เช่น เรื่องเพศสภาพ เพศสภาวะ (Gender) เรื่องความเป็นชาติพันธ์(Ethnicity)หรือเชื้อชาติ(Race) ที่ได้สร้างการแบ่งแยกลักษณะทางสังคม ทางชีวิวิทยา ชนชั้น บทบาททางเพศที่นําไปสู่ความไม่เท่าเทียม การเลือกปฏิบัติและการครอบงําทางอํานาจที่เป็นสาเหตุของความทุกข์ทรมาน รวมถึงความเจ็บป่วยของผู้คนในสังคม......
***สังคมเราก็เป็นแบบนี้ คนจนถูกใช้อำนาจ คนรวยเป็นผู้ใช้อำนาจ คนจนมักจะติดคุกเร็วกว่าคนรวย หากมีกรณีการกระทำความผิด ความรุนแรงของการกระทำความผิดก็ต่างกัน คนจนเท่านั้นที่ผิดแต่คนรวยบางคนรอดคุกหรือถูกชี้ว่าไม่ผิด ....เช่นเดียวกับความทุกข์ทรมานและความเจ็บป่วยของคนจน คนไร้อำนาจ ที่ถูกกระทำจากความรุนแรงเชิงโครงสร้างและวัฒนธรรม และตอกย้ำโครงสร้างของความไม่เท่าเทียมแบบปกติ ที่ทำให้ผู้คนในสังคมมองเรื่องเหล่านี้อย่างเป็นปกติ ไร้ความรู้สึก ไร้คำถาม ไร้การต่อสู้ต่อรองต่อเรื่องของอำนาจและความไม่เท่าเทียมในสังคม...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...