ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ความเสี่ยงและแมรี่ ดักลาส โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ความเสี่ยง เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับมิติของโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมที่สร้างการรับรู้และตระหนักเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่าความเสี่ยง

โดยที่ความรู้สึกหรือไม่รู้สึกต่อความเสี่ยง อาจสัมพันธ์กับเงื่อนไขบางอย่าง เช่นการรู้และการไม่รู้ต่อสถานการณ์ความเสี่ยง เช่น ไม่รู้ว่าความเจ็บป่วยบางอย่างมันติดต่อกันได้ หรือสภาวะบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทำให้ประเมินภาวะความเสี่ยงผิดพลาด เช่นขับรถเร็ว ในขณะฝนตกถนนลื่น รถขาดการเช็คสภาพแต่ต้องขับในระยะทางไกลเกิดยางแตกและเกิดอุบัติเหตุ หรือการรับรู้ต่อความเสี่ยง แต่เนื่องจากความเสี่ยงมีความซับซ้อน มีลำดับชั้นและระดับของความเสี่ยงมากน้อยแตกต่างกัน จึงเลือกที่จะกระทำสิ่งที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า เช่น คิดว่าโอกาสในติดโรคน้อยถ้าหากป้องกัน การวิ่งรถรับจ้างในช่วงโควิดมีความเสี่ยงน้อยกว่าที่จะไม่ทำงานและอดตายทั้งครอบครัว เป็นต้น
โครงสร้าง ความยากจน ความไม่เท่าเทียม ชนชั้นทางสังคมก็สร้างการตระหนักรู้ต่อความเสี่ยงที่แตกต่างกัน เช่นคนรวยที่มีประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพจำนวนมากอาจรู้สึกต่อความเสี่ยงน้อยกว่าคนจนที่มีเพียงบัตร30บาท ที่รู้ว่าหากเจ็บป่วยย่อมมีความเสี่ยงต่อตัวเองและครอบครัวมากกว่า..
ความเสี่ยงอาจถูกสร้างหรือถูกกระตุ้นการรับรู้ต่อความเสี่ยงจากผู้มีอำนาจ รัฐหรือสถาบันทางสังคม โดยเฉพาะสถาบันทางการแพทย์และสุขภาพ เช่น การที่น้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้นสัมพันธ์กับภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือด เบาหวาน ความดัน ที่เชื่อมโยงกับความเจ็บป่วย เป็นต้น หรือสร้างการรับรู้เกี่ยวกับภาวะความเป็นกลุ่มเสี่ยงให้กับผู้คนทางสังคม กลุ่มเสี่ยงจึงมักเป็นกลุ่มเปราะบาง เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงทางสังคม บ่อยครั้งรัฐหรือผู้มีอำนาจก็เพิกเฉยต่อภาวะความเสี่ยงของพวกเขา
ในความคิดของแมรี่ ดักลาส นักมานุษยวิทยา มองว่าความเสี่ยงสัมพันธ์กับ การอยู่ผิดที่ผิดทาง(displacement) ความเป็นชายขอบ(marginal) ภาวะความกำกวม คลุมเครือ (ambiguous )ก็ล้วนสะท้อนภาวะความเสี่ยงทั้งสิ้น ก้อนเนื้อที่ขึ้นในอวัยวะสำคัญหรืออวัยวะปกติก็สะท้อนภาวะความเสี่ยงจากการอยู่ผิดที่ผิดทาง กลายเป็นความเสี่ยงและสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย ที่อาจจะเป็นเครื่องบ่งชี้เนื้องอกหรือมะเร็ง หรือในคนที่สรีระเป็นชายแต่มีจิตใจเป็นหญิง หรือเปลี่ยนแปลงเพศสรีระธรรมชาติเดิมของตัวเอง ก็ถูกมองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง ดังที่ครั้งหนึ่งเอดส์และเอชไอวี กลายเป็นสิ่งที่ถูกตีตรากับกลุ่มคนรักร่วมเพศว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง ภายใต้ภาวะของความคลุมเครือทางเพศภาวะและเพศวิถี หรือกรณีผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้เร่ร่อน แรงงานต่างด้าว ก็กลายเป็นกลุ่มเสี่ยงภายใต้ความเป็นชายของความรู้และอำนาจ การเข้าถึงทรัพยากรและสวัสดิการบางอย่างทางสังคม
ความสกปรก(Dirt) เชื้อโรค ประจำเดือน หนอง การตกขาว เลือดหรือ น้ำลาย เป็นสิ่งที่สร้างความรู้สึกขยะแขยงต่อของเหลวและสร้างการตระหนักต่อภาวะความเสี่ยงของผู้คนและตัวเอง มลทินที่ส่งผลกระทบกับพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในทางร่างกาย วัตถุและสถานที่ ในบางสังคมผู้หญิงที่อยู่ในสภาะของประจำเดือนจะถูกแยกขาดจากชุมชนและไม่ให้เข้าร่วมพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน รวมถึงตัวผู้หญิงเองก็ปฎิเสธจะเข้าร่วมในพิธีกรรมดังกล่าวด้วย ดังนั้นปรากฏการณ์ดังกล่าวเราจะเห็นความสัมพันธ์ของความเสี่ยง(risk) การคุกคาม (threat) มลภาวะ(pollute)และอันตราย (Dangerous)
ผู้สนใจสามารถอ่านประเด็นความเสี่ยงของ Ulrich beck และ Mary Douglas
ดีใจที่ประเด็นที่เขียนในบล็อกและเวบเป็นแรงบันดาลใจสำหรับทำหัวข้อรายงาน ทีสิสของนักศึกษา ต้องผลิตต่อไป...


Sujira Singkul, จินตนา แกล้วกล้า และคนอื่นๆ อีก 11 คน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...